โครงการมีกิจกรรมฟื้นฟูภูมิปัญญาข่วงศาสตราพระญางำเมือง เป็นกิจกรรมการสาธิตงานหัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสตราวุธล้านนา ได้แก่ การตีดาบ การทำฝักและด้ามดาบ การถักเชือกดาบ การถักปลอกหวาย และการสานกุบละแอ จากช่างภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดลำปาง นอกจากนั้นมีการแสดงงานหัตกรรมภูมิปัญญาสร้างสรรค์จากจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดพะเยา
กิจกรรมการประกวดดนตรีพื้นเมืองล้านนา วงสะล้อ ซึง ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มนักดนตรีวงสะล้อ ซึงจากหลายพื้นที่ในจังหวัดพะเยาเข้าร่วมการประกวด โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมเอื้องคำล้านนา จากอำเภอเชียงคำ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมจำปาทอง จากโรงเรียนบ้านต๊ำพระแล อำเภอเมืองพะเยา และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม ฒ. ผู้เฒ่าน่ามอง จากอำเภอเมืองพะเยา ในส่วนของคณะกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีพื้นเมืองล้านนา ช่างภูมิปัญญาท้องถิ่นจากจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มนักดนตรีวงสะล้อซึงจากหลายพื้นที่ในจังหวัดพะเยา และ ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้เกียรติเข้าร่วมโครงการและมอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมประกวดดนตรีพื้นเมืองล้านนา และปิดท้ายด้วยกิจกรรมการลงข่วงเจิงศาสตรา น้อมไหว้สาพ่อพระญางำเมือง การจัดโครงการครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สืบทอดและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน โดยมีการเปิดพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่นิสิตและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมสืบสานและต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นการปลูกฝังค่านิยม สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย ความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่มา: มหาวิทยาลัยพะเยา