ครบรอบ ๑๖ ปี การแพทย์ฉุกเฉินประเทศไทย มุ่งสู่ระบบดิจิตอลแบบไร้รอยต่อ

จันทร์ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๗ ๑๑:๑๗
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสถาปนา ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ ครบรอบ ๑๖ ปี เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ที่ สัตตบงกช ซึ่งถือเอาวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๑ ที่ประเทศไทย มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๕๑ อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการเปิดตัว ระบบ Digital Platform หรือ iDEMS ที่เป็นการร่วมมือของภาคีเครือข่ายด้านดิจิทัลทั้งภาครัฐและเอกชนได้แก่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท แอ็บโซลูท โซลูชั่น จำกัด บริษัท กรุงศรี นิมเบิล จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
ครบรอบ ๑๖ ปี การแพทย์ฉุกเฉินประเทศไทย มุ่งสู่ระบบดิจิตอลแบบไร้รอยต่อ

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยเรามีกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินครั้งแรก เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๑ หรือ เมื่อ ๑๖ ปี มาแล้ว และในปีนี้เป็นปีที่มีการยกระดับการปฏิบัติการและให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สู่ระบบ Digital Platform (iDEMS) ที่เป็นการร่วมมือของภาคีเครือข่ายด้านดิจิทัล โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การลดอัตราการบาดเจ็บ เสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน และผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้สูงขึ้น เพิ่มอัตราการได้รับการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติภายใน ๘ นาทีให้สูงขึ้น การยกระดับการดำเนินงานในปีที่ ๑๖ เป็นหนึ่งในสิ่งที่รัฐบาล มุ่งหวังให้เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ลดการตาย พิการ จากการเจ็บป่วยฉุกเฉินโดยไม่จำเป็น เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับ ปรับระบบการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ของประชาชนตามนโยบาย ๓๐ บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวปลอดภัยของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง

ด้าน ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สพฉ. เป็นองค์กรมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีผลบังคับเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๑ ให้เป็นองค์กรกลางในการจัดให้มีระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างทั่งถึงและเท่าเทียม เพื่อลดและป้องกันความสูญเสียชีวิตและพิการทั้งในภาวะปกติ และภาวะสาธารณภัย โดยประสานการปฏิบัติการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน ตลอดระยะเวลา ๑๖ ปี ที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนา และขับเคลื่อนระบบการแพทย์ฉุกเฉินของชาติร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมงผ่านสายด่วนฉุกเฉิน หมายเลข ๑๖๖๙ อย่างมุ่งมั่นตั้งใจ ในปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการกว่า ๘ ล้านครั้ง และในโอกาสครบรอบ ๑๖ ปีนี้ ได้มีการยกระดับการปฏิบัติการฉุกเฉินสู่การเป็น Digital Platform เพื่อรองรับการแจ้งเหตุฉุกเฉิน เชื่อมต่อหมายเลขฉุกเฉินอื่นๆ เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล สื่อสารเพื่อการปฏิบัติงานหรือให้คำปรึกษาในรูปแบบการแพทย์ทางไกล ระบบ Tracking ยานพาหนะ ที่สำคัญคือระบบการตรวจสอบข้อมูล เพื่อการเบิกจ่ายค่าชดเชยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่ถูกต้อง รวดเร็ว ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิ์ประชาชนในระบบ UCEP ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค สู่ ๓๐ บาท รักษาทุกที่ของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง ในการดำเนินการดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน

"วันคล้ายวันสถาปนา การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่มาบรรจบครบรอบ ๑๖ ปี ในวันนี้ การจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงการก่อตั้งระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อเปิดตัวระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัลอัจฉริยะ (Intelligence Digital Emergency Medical System : iDEMS) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบุคลากรในระบบด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่เสียชีวิตไปแล้ว ตลอดจนเพื่อความเป็นสิริมงคล และเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระบบ" เลขาธิการ สพฉ. กล่าว

คุณมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า " INET เราเข้ามาช่วยเสริมในสิ่งที่เรามีความเชี่ยวชาญด้านมากที่สุดคือด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Cloud Infrastructure ที่มีเสถียรภาพและความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานระดับสากล เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง และบริหารจัดการฐานข้อมูลหลักของแพลตฟอร์ม iDEMS การเชื่อมต่อข้อมูลและพิสูจน์ตัวตนดิจิทัลด้วย Provider IID การขึ้นทะเบียนหน่วยปฏิบัติงานแพทย์ฉุกเฉิน เช่น ระบบรับรอง หน่วยปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติการ ยานพาหนะ องค์กรฝึกอบรม และวิทยุสื่อสาร พัฒนาระบบจัดทำข้อมูลการเบิกจ่ายโดยใช้ RPA เพื่อลดความซับซ้อนการทำงาน พัฒนาระบบ UCEP Portal ความคุ้มครองสิทธิ์ของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในแพลตฟอร์ม รวมถึงจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้สพฉ. ได้มีแพลตฟอร์มในการปฎิบัติภารกิจรับแจ้งเหตุและสั่งการด้านการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินและประชาชน "

ระบบ iDEMS Platform เริ่มพัฒนา Drive EMS Operation and Services by intelligence Digital EMS Platform และจะเปิดใช้งานระบบในเดือน กันยายน - ธันวาคม 2567 เพื่อมุ่งสู่การยกระดับการปฏิบัติงาน และการบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา: เวิลล์ ไอเดีย

ครบรอบ ๑๖ ปี การแพทย์ฉุกเฉินประเทศไทย มุ่งสู่ระบบดิจิตอลแบบไร้รอยต่อ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย