ในปัจจุบัน ผู้หญิงหลายล้านคนทั่วโลกขาดบริการด้านสุขภาพที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดูแลอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพของผู้หญิงตั้งครรภ์ อันเป็นผลมาจากความยากจนและความไม่เท่าเทียมในสังคม จากการประชุมคณะทำงานด้านสุขภาพ APEC Health Week ในปีที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงความท้าทายต่าง ๆ อาทิ อัตราการเกิดที่ลดลง และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อในทางเศรษฐกิจต่อทั้ง 17 ประเทศจาก 21 ประเทศในภูมิภาค APEC ทำให้เกิดความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และในปัจจุบันความมุ่งมั่นในการร่วมมือแก้ไขปัญหายังดำเนินต่อไป โดยความร่วมมือในปีนี้มีเป้าหมายคือการรับมือกับปัญหาด้านสุขภาพของผู้หญิงที่ความสำคัญในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทย ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจและแรงงานทางสังคมในประเทศไทยอีกด้วย โดยการเอาชนะความท้าทายเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างทางสังคมที่สนับสนุนและส่งเสริมการวางแผนครอบครัวให้มีคุณภาพ รวมถึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
Robert F. Godec จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้กล่าวถึงแนวทางการทำงานร่วมกัน โดยยกตัวอย่างกลยุทธ์ที่พันธมิตรใช้เพื่อพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศอย่างยั่งยืน รวมถึงแนวทางของประเทศอเมริกาในการสนับสนุนผู้หญิงในประเทศไทยร่วมกับองค์กรท้องถิ่น อีกทั้งยังกล่าวว่า "โครงการเหล่านี้ตอกย้ำว่าความแตกต่างหลากหลายที่ทำให้สังคมมีสีสันและผูกพันกันอย่างแน่นเฟ้นมากขึ้น การทำงานร่วมกันแบบนี้ทำให้เรามีโอกาสอีกมากเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมสำหรับผู้หญิงในสังคม"
ในงานได้มีการพูดคุยถึงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้หญิงและการคลอดบุตรที่มีคุณภาพ ดร. ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความท้าทายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และการกำกับดูแลข้อมูลในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปรับใช้นโยบายเพื่อการเข้าถึง บทบาทสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขและครู และความจำเป็นในการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน โดยมีภาครัฐทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริม "เราต้องเป็นคนที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันหรือความสามารถในการเข้าถึงสาธารณะ คำว่าสาธารณะไม่ได้หมายถึงองค์กรสาธารณะเท่านั้น ชุมชนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะเช่นกัน ดังนั้นเราจะต้องร่วมส่งเสริมให้กฎหมายและกฎเกณฑ์มีความยืดหยุ่นและสมดุล" ดร. ทวิดากล่าว
ทางด้านดร.นายแพทย์บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการเรียกร้องให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม แม้นพ.บุญญฤทธิ์จะเน้นย้ำว่ามาตรการทางกฎหมายและกลไกทางการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ แต่ก็ยังตระหนักถึงข้อจำกัดของเครื่องมือเหล่านี้ในการส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ โดยชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงของบทบาททางเพศภายในครอบครัวกับอัตราการเจริญพันธุ์โดยรวมในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย อันนำมาซึ่งความจำเป็นในการร่วมมือกันเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ "หนึ่งแนวทางในการรับมือกับอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำมากในประเทศไทย คือการแบ่งปันความรับผิดชอบในครอบครัวระหว่างชายและหญิง ซึ่งการจะปรับเปลี่ยนบทบาททางเพศในสังคมจำเป็นจะต้องได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน" ดร.นายแพทย์บุญฤทธิ์ กล่าว
Noha Salem หัวหน้าฝ่ายนโยบายสุขภาพสตรีสากลของออร์กานอน เน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมม โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการทำงานระหว่างภาคส่วน และให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา รวมถึงให้ผู้ชายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนความเท่าเทียม รวมถึงคุณ Noha ยังเน้นย้ำถึงบทบาทของภาคเอกชนในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยระบุว่า "ข้อมูลชี้ว่าผู้หญิงให้ความสำคัญกับความต้องการของตนเป็นอันดับสุดท้าย เพราะพวกเธอจะให้ความสำคัญกับครอบครัวและลูกเป็นอันดับแรก ดังนั้นในวันสตรีสากล เราจึงควรมอบวันหยุดนี้ให้กับพนักงานกว่า 10,000 คนทั่วโลกเพื่อที่จะได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเองและสุขภาพของผู้หญิงในชีวิตของพวกเขา"
ในส่วนของภาคเอกชนเอง ออร์กานอนก็ได้มีบทบาทในความท้าทายนี้ โดยยังมุ่งมั่นส่งเสริมสุขภาพของผู้หญิงและครอบครัวคุณภาพผ่านโครงการระดับโลกที่ชื่อว่า "Her Plan is Her Power" ซึ่งช่วยให้ชุมชนขับเคลื่อนการลดการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ และพัฒนาศักยภาพผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเพื่อให้สามารถวางแผนอนาคตของตนเองได้ โดยตั้งเป้าลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 120 ล้านครั้งทั่วโลกภายในปี 2573 ซึ่งออร์กานอนได้เข้าใกล้เป้าหมายมากว่าครึ่งทางแล้ว ด้วยการลงทุนระยะเวลา 3 ปีที่นับเป็นมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการกับอุปสรรคและความไม่เท่าเทียมที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ในระดับโลก
ทั้งนี้ ภายใต้กรอบของ "Her Plan is Her Power" ออร์กานอนได้มอบทุนให้กับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เพื่อดำเนินโครงการ "Smart Family Life Planning in Action" ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้หญิงกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย โดยเน้นกลุ่มแรงงานหญิงในโรงงานและแรงงานข้ามชาติในจังระยองและจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยยกระดับความรู้และทักษะเพื่อการวางแผนครอบครัวอย่างมีคุณภาพ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงนโยบายระดับชาติเพื่อส่งเสริมการสร้างครอบครัวอย่างมีคุณภาพอีกด้วย
ในวันสตรีสากลปีนี้ออร์กานอน พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายมุ่งมั่นในการพัฒนาสุขภาพของผู้หญิงและส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงในประเทศไทยและทั่วโลก อีกทั้งในการเฉลิมฉลองความสำเร็จและการมีส่วนร่วมของผู้หญิงทั่วโลกในวันสตรีสากลนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงมีต่อสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นการส่งเสริมกลยุทธ์ความเท่าเทียมทางเพศ การพัฒนาสุขภาพและศักยภาพของผู้หญิง รวมถึงการวางแผนครอบครัวอย่างมีคุณภาพ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ให้ผู้หญิงมีสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น สถาบันครอบครัวมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสังคมโดยรวมพัฒนามากยิ่งขึ้น
ที่มา: EchoPR