สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 2,008 ชุมชน สนอ.ร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน ป.ป.ส.) และ บช.น.รวมถึงเครือข่ายในชุมชนขับเคลื่อนโครงการในชุมชนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน เฝ้าระวัง ตั้งด่าน เดินเวรยาม เวทีประชาคม X-Ray ตรวจปัสสาวะ ประกอบด้วย 2 โครงการคือ โครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน ในตำบลแพร่ระบาดยาเสพติดสูงสุด 100 ตำบล ตามนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล (75 ชุมชน 11 แขวง 10 เขต) โดย บช.น.ดำเนินการระหว่างเดือน ธ.ค.66 - มี.ค.67 และโครงการชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในพื้นที่กรุงเทพฯ (88 ชุมชน 48 เขต) โดย กทม.ดำเนินการระหว่างเดือน ก.พ. - ก.ค.67 กลุ่มที่ 2 CBTx กองทุนแม่ของแผ่นดิน (271 ชุมชน 45 เขต) ชุมชนได้รับงบประมาณจากสำนักงาน ป.ป.ส.เฝ้าระวัง ตั้งด่าน เดินเวรยาม เวทีประชาคม สุ่มตรวจปัสสาวะ ดำเนินการระหว่างเดือน เม.ย. - ส.ค.67 และกลุ่มที่ 3 ชุมชนทั่วไป (1,582 ชุมชน 50 เขต) ดำเนินการตามสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ในแต่ละชุมชนระหว่างเดือน ก.พ. - ส.ค.67
นอกจากนี้ สนอ.ยังได้ค้นหาผู้ใช้/ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เพื่อบำบัดรักษา ฟื้นฟู และดูแลอย่างครบวงจรผ่านกลไกต่าง ๆ อาทิ การดูแลผู้ติดยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBTx) การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในสถานพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและการฟื้นฟูสภาพทางสังคม โดยดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการตามนโยบายการลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดของนายกรัฐมนตรี ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่ง กทม.กำหนดตัวชี้วัด (OKR) และโครงการ/กิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้บรรลุเป้าหมาย
ในส่วนของการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในกรุงเทพฯ จะได้รับการคัดกรองเพื่อจำแนกผู้ป่วยเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้ใช้ ผู้เสพ และผู้ติดยาเสพติด โดยจะให้การบำบัดตามสภาพการเสพติด แบ่งเป็น ผู้ใช้ ให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพ (Health Education and Promotion) ให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice : BA) และหรือการบำบัดแบบสั้น (Brief Intervention :BI) 1-2 ครั้ง (2) ผู้เสพ/ผู้ติด (ระยะเวลา 1 - 4 เดือน) กลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamine-type Stimulants : ATS) ยาอี ยาเคตามีน กัญชา สารระเหย กระท่อม แบบผู้ป่วยนอก ให้การบำบัดด้านจิตสังคม เป็นการบำบัดรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เน้นการให้คำปรึกษาแนะนำแบบรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ทำกิจกรรมกลุ่มตามโปรแกรม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แบบผู้ป่วยใน ให้การบำบัดแบบโปรแกรม The Winner House (ระยะ 2 - 4 เดือน) กลุ่มฝิ่น/อนุพันธ์ของฝิ่น แบบผู้ป่วยนอก ให้การบำบัดด้วยยาเมทาโดน โปรแกรมถอนพิษยา (Detox) และโปรแกรมเมทาโดนระยะยาว (Methadone Maintenance Therapy) ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย โดยการให้ยาเมทาโดนทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง มีการแบบประเมินทางสังคม/ทางจิต ให้การปรึกษารายบุคคล (ทางสังคม/ทางจิต) อย่างน้อย ๑ ครั้งต/ดือน ทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดอย่างน้อย ๑ ครั้ง/เดือน และตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดทุก ๒ สัปดาห์
ขณะเดียวกัน กทม.ยังมีศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมตั้งอยู่ที่สำนักงานเขต ๕๐ แห่ง โดยมีหน้าที่และอำนาจในการสนับสนุนช่วยเหลือและสงเคราะห์ ดังนี้ (1) ด้านครอบครัวและชุมชน ส่งเสริมความสัมพันธ์ ในครอบครัว ให้คำปรึกษาแนะนำแนะนำครอบครัวและคนใกล้ชิด ดูแลผู้ใช้ยา หรือผู้ผ่านการบำบัดรักษา ( 2) ด้านสวัสดิการสังคม และสังคมสงเคราะห์ ทุนประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย ให้คำแนะนำในการฝึกอาชีพ/การให้ทุนประกอบอาชีพ/ที่อยู่อาศัย/การให้ความช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ (3) ด้านการศึกษา ส่งต่อเข้ารับการศึกษา ในสถานศึกษาต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และ (4) ด้านสาธารณสุขและสุขภาพให้ความรู้ เข้าถึงสิทธิ และรักษาพยาบาลต่อเนื่อง รวมทั้งส่งต่อเข้ารับการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ที่มา: กรุงเทพมหานคร