"ผมได้อนุมัติและหลักการการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบควิกชาร์จ ซึ่งชาร์จได้เร็วเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น โดยจะดำเนินการบริการในบริเวณของ มทร.ล้านนา ห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่ ถือเป็นจุดสำคัญเนื่องจากติดกับถนนใหญ่ สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ อีกทั้งการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะมีประโยชน์ต่อนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การบริหารจัดการสถานี ระบบการชาร์จ การดูแล และโปรโมชั่นทางการตลาดเป็นอย่างไร อันนำไปสู่การเรียนรู้จากการปฎิบัติจริง จากโปรเจคจริงๆ"ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัย ได้มีการจัดทำผลิตภัณฑ์จากโปรเจคต่างๆ ร่วมกับชุมชนจะได้นำมาขายในร้านค้า หรือร้านกาแฟ Coffee GoGreen ที่อยู่ในสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชน รวมถึงเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย โดยขณะนี้มีภาคเอกชนให้ความสนใจที่จะมาติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบควิกชาร์จ ประมาณ 5 สถานีภายในห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่ ซึ่งการชาร์จหนึ่งครั้งนั่งรอเพียง 15-20 นาที จะทำให้ชาร์จได้ 80% ก็สามารถเดินทางไปยังเส้นทางต่างๆ ในเมืองเชียงใหม่ได้
ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าวต่อว่า หลังจากนี้จะมีการขยายการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบควิกชาร์จ ไปยังพื้นที่เขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางเชียงราย น่าน พิษณุโลก ต่อไป อย่างไรก็ตาม การที่มหาวิทยาลัยเปิดให้มีการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่หน้ามหาวิทยาลัย หรือพื้นที่ที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของวิทยาเขต และสถาบันแต่ละแห่ง ซึ่ง มทร.ล้านนา สถานที่ตั้งส่วนใหญ่จะติดกับถนนใหญ่ จึงอาจจะทำให้เหมาะแก่การลงทุน ดังนั้น มทร.ล้านนา หรือกลุ่ม มทร.ทั้งหมด พร้อมที่จะเป็นสถานีติดตั้งรถยนต์ไฟฟ้า เพียงแต่รัฐบาลอาจต้องให้การสนับสนุน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด และช่วยลดโลกร้อน
ที่มา: แมวกวัก