เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อถึงกัน (interconnected technology) คือเครือข่ายที่กำลังเติบโตของดีไวซ์ ระบบ และแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและเชื่อมต่อระหว่างกัน เทคโนโลยีนี้เปลี่ยนโฉมองค์กร ทำให้องค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลได้มากขึ้นและมีกระบวนการทำงานอัตโนมัติ แต่เทคโนโลยีนี้ก็มีความเสี่ยงและสร้างความท้าทายใหม่ๆ แก่การรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินทางธุรกิจและการปกป้องลูกค้า
แคสเปอร์สกี้ได้ทำการศึกษาเรื่อง 'Connecting the future of business' การเชื่อมต่ออนาคตของธุรกิจ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ ก้าวนำหน้าการเปลี่ยนแปลงที่เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อถึงกัน นำมาซึ่งคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีการปรับตัวด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อจุดประสงค์นี้ บริษัทได้สำรวจผู้นำอาวุโสด้านความปลอดภัยไอที 560 คนจากอเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา รัสเซีย และเอเชียแปซิฟิก ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 100 คนมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ในแบบสำรวจนี้ แคสเปอร์สกี้ถามผู้ตอบแบบสอบถามว่า คิดอย่างไรกับเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อถึงกันดังต่อไปนี้
- ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI)
- อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things - IoT)
- ความเป็นจริงเสริม (Augmented reality - AR) ความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality - VR) และแบบโมเดลจำลองเสมือนจากวัตถุทางกายภาพ (Digital Twin)
- 6G (การสื่อสารไร้สายเจเนอเรชันถัดไปที่มีความเร็วสูงสุดและมีความสามารถใหม่ในการเชื่อมต่อ)
- Web 3.0 ซึ่งเปิดใช้งานแอปพลิเคชันแบบกระจาย บล็อกเชนอัจฉริยะ และข้อมูลที่จัดการโดยผู้ใช้
- พื้นที่ข้อมูล (Data Space) ที่ช่วยให้สามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างราบรื่นในการตั้งค่าการทำงานร่วมกัน
ผลการวิจัยพบว่า บริษัทใช้งาน AI และ IoT แล้วจำนวน 61% และ 64% ตามลำดับ บริษัทวางแผนที่จะปรับใช้ AI และ IoT ภายในสองปี คือ 28% และ 26% ตามลำดับ มีจำนวนบริษัทที่ใช้พื้นที่ข้อมูล 27% โดยบริษัทมากกว่าครึ่งหนึ่ง (54%) ตั้งใจที่จะปรับใช้ในอนาคตอันใกล้นี้
เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อถึงกันอื่นๆ (Digital Twins, AR, VR, Web 3.0, 6G) ถูกใช้ในบริษัทจำนวน 8-20% แต่มีบริษัทมากกว่า 70% ที่กำลังพิจารณาที่จะรวมเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับกระบวนการทางธุรกิจในเร็วๆ นี้
เนื่องจาก AI และ IoT แพร่หลายมาก จึงเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ จากการวิจัยพบว่าองค์กรในภูมิภาคจำนวน 13-14% คิดว่า AI และ IoT นั้นปกป้อง 'ยากมาก' ถึง 'ยากที่สุด' ในขณะที่มีเพียงองค์กร 6% ที่ใช้ AI และเจ้าของ IoT 10% ที่เชื่อว่าบริษัทของตนได้รับการป้องกันอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ดังที่เราเห็นแล้วว่า ยิ่งการนำเทคโนโลยีไปใช้แพร่หลายน้อยลง บริษัทต่างๆ ปกป้องเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ยากขึ้น ตัวอย่างเช่น AR/VR และ 6G ที่นำมาใช้น้อยที่สุด ถือเป็นเทคโนโลยีที่ท้าทายที่สุดในการปกป้องทางไซเบอร์ โดยบริษัทในเอเชีย 40-51% ระบุว่าเป็นเรื่องยากที่จะรักษาความปลอดภัยให้เทคโนโลยีดังกล่าว
นายเอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ๆ มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องโหว่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ต้องได้รับการแก้ไข การศึกษาล่าสุดของเราแสดงให้เห็นว่าบริษัทจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งใช้ AI และ IoT ในองค์กรของตน แต่บริษัท 21% คิดว่า AI และ IoT ค่อนข้างจะปกป้องได้ยาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีช่องว่างด้านทักษะและความรู้ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน"
นายอิวาน วาซซูนอฟ รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์องค์กร แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อถึงกันนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจมากมาย แต่ยังเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความเปราะบางต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ร้ายแรง เนื่องจากมีการรวบรวมและส่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้น มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงต้องมีความเข้มแข็งมากขึ้น องค์กรต่างๆ จะต้องปกป้องทรัพย์สินที่สำคัญ สร้างความมั่นใจของลูกค้าท่ามกลางภูมิทัศน์ที่เชื่อมโยงถึงกันที่กำลังขยายตัว และให้แน่ใจว่ามีการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้สามารถใช้โซลูชันใหม่เพื่อต่อสู้กับความท้าทายที่เข้ามาของเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อถึงกัน ธุรกิจที่รวม AI และ IoT เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องปกป้องด้วย Container Security and Extended Detection and Response เพื่อตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ในระยะเริ่มต้นและให้การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ"
รายงานฉบับเต็มพร้อมข้อค้นพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อถึงกันhttps://go.kaspersky.com/connected-technologies-enterprise-report.html
ที่มา: Piton Communications