นิโคลัส กอร์ดอน บรรณาธิการเอเชียของนิตยสารฟอร์จูน กล่าวว่า "เอเชียเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่ซับซ้อน รวมถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และวิกฤตการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่อาจทำให้ภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามธุรกิจในเอเชียกำลังวางรากฐานสำหรับการขยายตัวอย่างยั่งยืน จีนแสดงตัวอีกครั้งว่าเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจเอเชีย เนื่องจากการลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียวและรถยนต์ไฟฟ้าให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า อย่างไรก็ตามบริษัทที่อยู่นอกประเทศจีน รวมถึงบริษัทจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดีย ที่แสดงสัญญาณแห่งความสำเร็จในอนาคตก็น่าสนใจไม่แพ้กัน"
นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของเดลต้า ประเทศไทย กล่าวในการเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลที่งาน Fortune Innovation Forum ว่า "เดลต้าให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นอันดับต้น ๆ และในฐานะกลุ่มบริษัทระดับโลก เราลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเกือบ 8% ของรายได้ต่อปี การได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน Fortune Asia Future 30 ครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการเติบโตตลอด 35 ปีของเดลต้า ประเทศไทย ซึ่งเราได้ผลิตพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าให้กับลูกค้าทั่วโลกมานานกว่าทศวรรษ ปัจจุบันเรากำลังลงทุนจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนาและการผลิตในท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว เรายังใช้การวิจัยและพัฒนาระดับชั้นนำในด้านพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานเซิร์ฟเวอร์ AI โซลูชันระบายความร้อน ศูนย์ข้อมูล พลังงานสำหรับโทรคมนาคม และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะอีกด้วย"
บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ใน Fortune Asia Future 30 ซึ่งเป็นการจัดอันดับครั้งใหม่นี้มีการเติบโตอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะด้านรายได้เมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา โดยใช้ศักยภาพการเติบโต (Vitality) ของบริษัทมาประเมิน ซึ่งจะวัดศักยภาพในการเติบโตในระยะยาวของบริษัทต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่บริษัทเอเชียที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง รวมถึงบริษัทที่โดดเด่นที่สุด 20 อันดับแรกจากประเทศจีน และ 10 อันดับแรกจากประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ทั้งนี้ นอกเหนือจากประเทศจีน ยังมีอีกหลายประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตมากเช่นเดียวกัน อาทิ เกาหลีใต้ อินเดีย และญี่ปุ่น โดยเดลต้า ประเทศไทย เป็นบริษัทเดียวที่มีสำนักงานใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในการคัดเลือก Asia Future 30 สถาบันบีซีจี เฮนเดอร์สัน (BCG Henderson) ได้พิจารณาบริษัทประมาณ 700 แห่งที่มีการซื้อขายหุ้นสาธารณะทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยบริษัทเหล่านี้จะต้องมีมูลค่าตลาดอย่างน้อย 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสิ้นสุดปี 2565 หรือมีรายได้ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนถึงปี 2565 รวมถึงถูกประเมินศักยภาพทางการตลาดโดยพิจารณาจากศักยภาพในการเติบโตในอนาคตตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ อีกหนึ่งประการที่บริษัทจะถูกพิจารณาคือความสามารถของแต่ละบริษัทในการบรรลุการเติบโตตามศักยภาพโดยอิงจากปัจจัย 19 อย่าง ซึ่งจะถูกประเมินด้วยอัลกอริธึมการเรียนรู้ของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อคาดการณ์ว่าบริษัทจะเติบโตได้มากเพียงใดในอีกห้าปีข้างหน้า โดยปัจจัยเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็นสี่ประเภทหลัก ได้แก่ กลยุทธ์ เทคโนโลยีและการลงทุน บุคลากร และโครงสร้าง
ฟอร์จูนเป็นองค์กรสื่อระดับโลกที่สนับสนุนงานเขียนที่ได้รับรางวัลและการรายงานที่เชื่อถือได้สำหรับผู้บริหารที่ต้องการพัฒนาธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น โดยฟอร์จูนวัดผลการดำเนินงานขององค์กรผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่เคร่งครัด และกำหนดให้บริษัทต่าง ๆ มีความรับผิดชอบ นอกจากนี้ฟอร์จูนยังมีรายการ กิจกรรม และการประชุมที่ทรงพลังและมีชื่อเสียงอีกมากมาย เช่น งานฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune 500) โครงการริเริ่มประธานกรรมการบริหาร (CEO Initiative) และงานสตรีผู้ทรงอิทธิพล (Most Powerful Women) โดยการที่เดลต้า ประเทศไทย ติดอัดดับใน Fortune Asia Future 30 อันทรงเกียรตินี้ ถือเป็นข้อพิสูจน์ถึงผลงานที่โดดเด่นและนวัตกรรมของบริษัทในการตอบรับเทรนด์ของอนาคต ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาดโลก
ที่มา: วีโร่ พับลิค รีเลชั่นส์