ภายในงาน Talk to PEACH เรื่องเพศพูดได้ "ว่าด้วยเรื่องของ…ผู้หญิง" เปิดเวทีเสวนาเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพเพศหญิงในมิติต่าง ๆ อาทิ บทบาทของนักเพศวิทยา เพศศึกษา เชื้อไวรัส HPV รวมถึงประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศ ที่จัดขึ้นด้วยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในวงการแพทย์และสุขภาพ อย่าง สูตินรีแพทย์และนักเพศวิทยา รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์ในวงการบันเทิง ที่เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเพศ รวมถึงการรับสิทธิ์ตรวจหาเชื้อ HPV โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีกด้วย
เหวิน ชวิศา เฉิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Talk to PEACH กล่าวในหัวข้อ (S)EXpert: เปิดอกทุกเรื่องเพศกับนักเพศวิทยา ว่า
"ผู้คนให้ความสนใจในเรื่องเพศและสุขภาพเพศอยู่เสมอ แต่การเข้าถึงข้อมูลหรือการรับคำปรึกษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจเป็นเรื่องที่หลายคนในสังคมยังขาดโอกาสในการเข้าถึงอยู่
โดยการแก้ไขปัญหาสุขภาพเพศ ที่มักเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยรวมกัน ทั้งร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ การเลี้ยงดูจากครอบครัว ความรุนแรง หรือศาสนาและวัฒนธรรม จำเป็นต้องให้ นักเพศวิทยา (Sexologist) ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเพศวิทยา เข้ามามีบทบาทในการให้คำปรึกษาและใช้รักษาแบบองค์รวม (Holistic Approach) เพื่อให้ครอบคลุมทั้งในด้านสุขภาพกาย ใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ
ดังนั้น แอปพลิเคชัน Talk to PEACH จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยในการคัดกรองและให้คำปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพเพศแบบไม่เปิดเพศตัวตน โดยหนึ่งปีที่ผ่านมา Talk to PEACH ดำเนินการช่วยคัดกรองและแก้ไขปัญหาทางเพศไปแล้วกว่า 3,000 เคส"
ในตอนท้าย เหวิน ชวิศา เฉิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Talk to PEACH แสดงทัศนคติไว้ว่า "เรื่องเพศไม่ควรถูกพูดถึง เพียงเพราะเวลาที่มีปัญหาเท่านั้น แต่ในฐานะผู้หญิงคนหนึ่ง ที่เติบโตมาด้วยความคาดหวังให้อยู่ในกรอบของสังคมแบบเดิม ๆ มองว่าทุกคนควรมีพื้นที่ในการพูดคุยเรื่องเพศ ที่เปิดกว้าง และทำให้รู้สึกปลอดภัย ซึ่ง Talk to PEACH จะเดินหน้าสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเรื่องเพศต่อไป"
รศ. ดร. นพ.อติวุทธ กมุทมาศ นายกสมาคมเพศวิทยาคลินิกและเวชศาสตร์ทางเพศ (ประเทศไทย) กล่าวในหัวข้อ Sex Education & Beyond: เพศศึกษาที่ไม่กล้าพูด ในประเด็นที่น่าสนใจไว้ว่า
"ความรู้เรื่องเพศศึกษา เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถเสริมสร้างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองได้ หากถูกปลูกฝังความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาตั้งแต่เด็ก จะทำให้เกิด Sexual Empowerment หรือ พลังแห่งความกล้า ความมั่นใจ และไม่กลัวที่จะพูดถึงเรื่องทางเพศ ทั้งยังพร้อมกับการรับมือและแก้ไขปัญหาทางเพศได้ เช่น การคุกคาม ความรุนแรง รวมถึงมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศได้เป็นอย่างดี
การไม่กล้าพูดถึงเรื่องเพศเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเพศตามมา ดังนั้น เรื่องเพศจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพูด และควรทำให้การพูดคุยหรือสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ"
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพศและให้ความรู้ จาก เพจ เพศสุภาพ สนับสนุนโดย บริษัท วินเนอร์ยี่ เมดิคอล จำกัด (มหาชน) มีเนื้อหากิจกรรมที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพเพศหญิง บรรยายโดย พญ.ธนวรรณ ศิริสุข สูตินรีแพทย์
ต่อมาในหัวข้อ "HPV ภัยร้ายใกล้ตัว แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด" โดย นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ หนึ่งในแพทย์ที่ให้คำปรึกษาบนแอปพลิเคชัน Talk to PEACH บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัส HPV เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกไว้ว่า
"จากสถิติ ทุก ๆ สองชั่วโมง หญิงไทย 1 คนเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก โดยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัส HPV มะเร็งปากมดลูกถือเป็นหนึ่งในโรคที่เป็นภัยเงียบ กว่าจะรู้ตัวอาจสายไป เนื่องจากทุกกระบวนการของการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเกิดการสอดใส่หรือไม่ สามารถรับเชื้อไวรัส HPV ได้ทั้งหมด และเมื่อเป็นแล้วอาจไม่มีอาการเตือนในระยะแรก รวมถึงเชื้อสามารถซ่อนตัวในร่างกายได้นานกว่าสิบปี และเชื้ออาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว ซึ่งการมีคู่ครองเพียงคนเดียว หรือ แม้แต่คนไม่เคยมีเพศสัมพันธ์สามารถมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน
ดังนั้น แนะนำให้เข้ารับการรักษาทันทีหากเกิดความผิดปกติ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกไว้ก่อนสายไป"
สำหรับช่วงท้ายของงานยังมีเวทีเสวนาในหัวข้อ ผู้หญิงพูดเรื่องเพศได้มั้ย? นำโดย เหวิน ชวิศา เฉิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Talk to PEACH ขิง ชุติกาญจน์ สุวรรณโคตร Miss Fabulous International 2022 พ.ต.ท. พญ.ลักขณา จักกะพาก เลขาธิการและรองประธานอนุฯ ฝ่ายวิชาการ TACS และ เม ธิดารัฐ พิเชษฐพันธ์ นักเพศวิทยาคลินิก เจ้าของเพจ the pillow talks โดยมีการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในทางเพศ เช่น พื้นที่ปลอดภัยในการพูดเรื่องเพศของคนทุกคน การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ รวมถึงประเด็นการคุกคามทางเพศ
สำหรับการจัดงาน Talk to PEACH เรื่องเพศพูดได้ "ว่าด้วยเรื่องของ…ผู้หญิง" ที่ผ่านมา Talk to PEACH มุ่งหวังในการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขภาพเพศ พร้อมเดินหน้าในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเรื่องเพศผ่านการช่วยคัดกรองและแก้ไขปัญหาทางเพศต่อไป
ติดตามข่าวสารและข้อมูลด้านสุขภาพเพศแบบเข้าใจง่าย จาก Talk to PEACH ได้ง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ที่ https://oci.ltd/x6s0Yph
ที่มา: CHOM PR