ทั้งนี้ กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth (TMBGQG) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว (Master Fund) คือกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund ในหน่วยลงทุนชนิดUSD Class S Accumulating Unhedged ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ดำเนินงานตามระเบียบของ UCITS กองทุนรวมต่างประเทศดังกล่าวบริหารจัดการโดย Wellington Management Company และลงทุนในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่เน้นลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก มีแนวทางการลงทุนโดยเน้นการสร้างพอร์ตการลงทุนให้มีความสมดุล โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทที่จะเข้าลงทุนจากทั้งมิติของการเติบโต (Growth) มูลค่าที่เหมาะสม (Valuation) คุณภาพของธุรกิจ (Quality) และการจ่ายอัตราผลตอบแทนให้ผู้ถือหน่วย (Capital Return)
ด้านนาย Jeremy H. Butterworth, Vice President and Investment Strategist จากสถาบันการเงินการลงทุนชั้นนำระดับโลกอย่าง Wellington Management กล่าวถึงมุมมองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกว่า จะมีโอกาสเกิด soft landing หรือ no landing ได้ในปีนี้จากสัญญาณเชิงบวก คือ 1.ดัชนีชี้วัดที่เป็น leading indicator เริ่มไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น อัตราการใช้กำลังการผลิต, อัตราการว่างงาน, ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และแนวโน้มนโยบายอัตราดอกเบี้ย 2.ตัวเลขเงินเฟ้อลดลงจากปัจจัยค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัยและค่าแรง แต่อาจมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้ 3.การคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่อาจจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สภาวะการแข่งขัน และนโยบายต่าง ๆ ที่ออกจากทางการ
"กลยุทธ์การลงทุนในปีนี้จึงอาจเน้นความสำคัญในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่คุณภาพดี มีความสามารถในการแข่งขันสูง รวมถึงมีความคล่องตัวในการปรับพอร์ตลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ เพราะจะช่วยสร้างโอกาสในการลงทุนที่ดีท่ามกลางความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต" นาย Jeremy H. Butterworth กล่าว
ในปัจจุบันกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ TMBGQG ให้ความสนใจลงทุน (Overweight) ในกลุ่มประเทศสหรัฐฯ และยุโรปเป็นหลักเพราะเป็นบริษัทที่มีคุณภาพดีและมีรายได้ทั่วโลก นอกจากนี้ยัง Overweight ใน sector กลุ่มการเงินคือกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทางเลือก เช่น ARES Management and KKR เพราะสามารถสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ รวมถึงปัจจุบันกระแสการลงทุนใน Private Asset ที่มากขึ้นจากกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ และกลุ่มประกันเพราะสามารถปรับเพิ่มเบี้ยประกันได้จากต้นทุนที่สูงขึ้น และ Overweight กลุ่ม healthcare เช่น Eli Lilly และ Novartis จากความคาดหวังการเติบโตจากการคิดค้นยารักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วน และกลุ่ม Industrial เช่น DSV ซึ่งได้รับประโยชน์จากการขนส่งทั่วโลกที่จะมีมากขึ้น
สำหรับสัดส่วนการลงทุน 10 บริษัทแรกเรียงตามน้ำหนักการลงทุนนั้น ประกอบด้วยหุ้น "Magnificent 7" ทั้งหมด 5 ตัวได้แก่ 1. Microsoft (4.4%) 2. Amazon (3.9%), 3. Meta (3.3%) 4. Alphabet (3.2%) 5.Nvidia (2.8%) และหุ้นอื่นๆ 6.TSMC (2.3%) 7. Mastercard (2.0%) 8. Visa Inc (2.0%) 9. Salesforce Inc. (1.8%) 10. UnitedHealth Gr (1.8%) (ทีมา: Wellington Management ณ เดือนก.พ. 2567)
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eastspring.co.thหรือโทร 1725 ในวันและเวลาทำการ หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัทฯ หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง และผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน กองทุนนี้ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต และความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงทางด้านตลาด ความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงทางด้านเครดิตและคู่สัญญา และความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง เป็นต้น
ที่มา: พีอาร์ดีดี