ไขข้อข้องใจสำหรับผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์...รู้หรือไม่ระบบแปลงไฟฟ้ามีกี่แบบ โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)

พฤหัส ๑๑ เมษายน ๒๕๖๗ ๑๗:๒๙
การติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะระบบโซลาร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ร่วมกับพลังงานไฟฟ้าหลักจากการไฟฟ้า ช่วยประหยัดค่าไฟโดยเฉพาะในยุค Work From Home ที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมากขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้าต่อเดือนลดลงได้ประมาณ 40-60%  รวมไปถึงสำนักงาน ร้านอาหาร สถานประกอบการทั่วไป ที่มีค่าไฟสูงต่อเดือน ทางเลือกการติดตั้งโซลาร์เซลล์นี้จึงนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า 
ไขข้อข้องใจสำหรับผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์.รู้หรือไม่ระบบแปลงไฟฟ้ามีกี่แบบ โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)

คราวนี้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แต่ไฟฟ้าที่ใช้ภายในครัวเรือนจะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ดังนั้น เราจึงต้องมีการแปลงไฟ ซึ่งระบบแปลงไฟสำหรับโซลาร์เซลล์แบ่งได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ

1. String Inverter or Central Inverter : เป็นระบบที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดยแผงโซลาร์เซลล์จะต่อสายเข้าด้วยกันแบบอนุกรมเป็น "สตริง" เมื่อผลิตพลังงานได้ พลังงานทั้งหมดจะถูกส่งไปยังอินเวอร์เตอร์เพียงเครื่องเดียวที่จะแปลงไฟที่รวมมาเข้าครัวเรือน โดยตัวอินเวอร์เตอร์มักจะติดอยู่ด้านล่างภายในพื้นที่บ้านที่สะดวก

ข้อดี : (1) การติดตั้งและการทำงานของระบบไม่ซับซ้อน (2) บำรุงรักษาง่าย (3) ราคาถูก

ข้อเสีย : (1) แผงโซลาร์เซลล์เชื่อมต่อกันแบบอนุกรม เมื่อแผงใดแผงหนึ่งทำงานไม่เต็มที่ จะทำให้ประสิทธิภาพของระบบการผลิตไฟฟ้าลดลง (2) ไม่รองรับการหยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) หากไม่ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม ซึ่งก็จะทำให้เงินลงทุนสูงขึ้น (3) หากต้องการตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าของแผงและเพิ่มการหยุดทำงานฉุกเฉิน ต้องติดตั้ง Optimizer เพิ่มตามจำนวนแผง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูง (4) เสี่ยงอันตรายจากอุบัติเหตุเนื่องจากไฟที่รับมาเป็นกระแสไฟฟ้าแรงดันค่อนข้างสูง (5)การเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าทำได้ยาก

2. Micro Inverter : ระบบที่ใช้อินเวอร์เตอร์ขนาดเล็ก ติดไว้กับแผงโซลาร์เซลล์เพื่อแปลงไฟโดยตรงแบบแผงต่อแผง โดยอินเวอร์เตอร์ 1 ตัว จะเชื่อมต่อกับแผงโซลาร์เซลล์ 1 - 4 แผง และทำงานแยกอิสระต่อกัน

ข้อดี : (1) สามารถตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผงได้ เมื่อมีแผงใดทำงานไม่เต็มที่ แผงอื่นก็ยังสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ (2) อันตรายน้อยกว่า เนื่องจากไฟฟ้าที่แปลงจะเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low DC Voltage) (3) สามารถฉีดน้ำดับไฟเมื่อไฟไหม้ได้เลย (4) รองรับมาตรฐานการหยุดทำงานในกรณีฉุกเฉิน หรือ Rapid Shutdown (5) การเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าทำได้ง่ายกว่า

ข้อเสีย : (1) แพงกว่าสตริงอินเวอร์เตอร์ แต่บางยี่ห้อก็ราคาใกล้เคียงกัน (2) ใช้จำนวนอินเวอร์เตอร์มากขึ้นตามจำนวนแผง การซ่อมแซมหรือตรวจสอบต้องทำบนหลังคา

ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ ถือว่าเป็นระบบน้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และในอนาคตอาจจะมาแทนที่ระบบเก่าอย่างสตริงอินเวอร์เตอร์ เนื่องจากมีข้อดีในการใช้งานที่ดีกว่าและความปลอดภัยสูงกว่า 

โซลลาร์เซลล์ ถือเป็นพลังงานสะอาด และเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ แผงโซลาร์เซลล์มีหลายรูปแบบ ลองเลือกแบบที่เหมาะกับการใช้งาน รวมถึงพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตและการรับประกันเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการการันตีคุณภาพแผงโซล่าเซลล์ที่จะมีอายุการใช้งานได้นานราว 25 - 30 ปี

ที่มา: เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)

ไขข้อข้องใจสำหรับผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์.รู้หรือไม่ระบบแปลงไฟฟ้ามีกี่แบบ โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ