ฮีทสโตรก ภัยร้ายหน้าร้อนใกล้ตัวคุณ

พุธ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๗ ๑๓:๒๓
ในช่วงหน้าร้อน ที่มีอุณหภูมิร้อนจัดและความชื้นในอากาศสูง ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดได้ง่าย ซึ่งโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินร้ายแรง ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิต
ฮีทสโตรก ภัยร้ายหน้าร้อนใกล้ตัวคุณ

นายแพทย์จิรภัทร โล่ห์ประธาน อายุรแพทย์เวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า  "ฮีทสโตรก" ( Heatstroke ) หรือ โรคลมแดด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน โดยเกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ทัน จนส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง

อาการจะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อย ๆ สูงขึ้น จนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกผิดปกติ ได้แก่ ไม่มีเหงื่อออก แม้จะอากาศร้อน  รู้สึกกระหายน้ำมาก หน้ามืด ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ซึม สับสน ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง ถ้าหากมีอาการเหล่านี้จะต้องหยุดพักทันที ดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อทดแทนภาวะขาดน้ำ แต่ถ้าพบผู้มีอาการโรคฮีทสโตรกสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายโดย นำผู้มีอาการเข้ามาในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ให้นอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง คลายเสื้อผ้าให้หลวม ถอดเสื้อผ้าออกเท่าที่จำเป็น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว ซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด หลังจากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที ห้ามฝืนตัวเองเด็ดขาด เพราะจะทำให้นำไปสู่การเกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ชัก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และถึงแก่ชีวิตได้

กลุ่มที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคฮีทสโตรก ได้แก่ ผู้สูงอายุ  เด็ก ผู้ที่อดนอน ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด  ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น นักกีฬา ผู้ที่มีโรคประจำตัว   เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอ้วน ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

นายแพทย์จิรภัทร กล่าวถึงแนวทางการป้องกันโรคฮีทสโตรกว่า ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ หากสามารถเลี่ยงได้ ควรเลือกเวลาที่ต้องการทำกิจกรรม เช่น ช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน, หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้เสียน้ำทางปัสสาวะในปริมาณสูง, เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่อากาศร้อนและไม่ควรอยู่ตามลำพัง, ดื่มน้ำให้มากขึ้นและเพียงพอในแต่ละวัน กรณีออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงควรดื่มน้ำ 2-4 แก้วทุกชั่วโมง และสวมเสื้อผ้าที่เนื้อผ้าเบาบาง ระบายอากาศได้ดี และไม่รัด หากรู้ตัวว่าจะต้องไปอยู่ในที่อากาศร้อนควรป้องกันตัวเองจากแสงแดดโดยสวมใส่แว่นกันแดดหรือหมวก ส่วนใหญ่แล้วโรคลมแดดเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคลมแดดที่ถูกต้อง

นายแพทย์จิรภัทร โล่ห์ประธานอายุรแพทย์เวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลเวชธานี

ที่มา: ชม พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ