กทม.รุกมาตรการเฝ้าระวัง-ป้องกันการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าทำหมัน-ฉีดวัคซีน 200,000 ตัวในปี 67

พฤหัส ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ ๑๔:๐๒
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยพบการระบาดว่า กทม.มีมาตรการเชิงรุกเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า โดยสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข 46 กันตารัติอุทิศ เขตลาดกระบัง ศูนย์บริการสาธารณสุข 44 ลำผักชี เขตหนองจอก สำนักงานเขตหนองจอกและสำนักงานเขตลาดกระบัง ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อปริมณฑลที่พบโรคพิษสุนัขบ้า ในปี 2566 ได้ร่วมประชุมวางแผนและกำหนดแนวทางดำเนินการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ทั้งในคนและสัตว์ ในพื้นที่รัศมี 5 ตารางกิโลเมตร โดยมีศูนย์ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า กทม.และปริมณฑล บูรณาการข้อมูลเมื่อมีรายงานการพบโรคพิษสุนัขบ้า โดยจัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมง และดำเนินการ ดังนี้ 1) บูรณาการข้อมูลการพบโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดปริมณฑลอย่างรวดเร็ว เมื่อมีรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า โดย กทม.จะประสานกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างทันท่วงที 2) สอบสวน เฝ้าระวังโรคในคน ค้นหาติดตาม ผู้สัมผัสโรคและกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการรักษาและฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ครบชุดทุกราย 3) ร่วมกันสอบสวน ค้นหาติดตามสัตว์สัมผัสโรค ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ฉีดวัคซีนให้สัตว์ในรัศมีรอบพื้นที่พบโรคในพื้นที่ของตน หากการพบโรคมีรัศมีข้ามรอยต่อจังหวัด รวมทั้งลงพื้นที่เชิงรุกรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเดือน มี.ค.และเดือน ก.ย.ของทุกปีให้กับสัตว์เลี้ยงในกรุงเทพฯ
กทม.รุกมาตรการเฝ้าระวัง-ป้องกันการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าทำหมัน-ฉีดวัคซีน 200,000 ตัวในปี 67

ขณะเดียวกัน สนอ.ได้ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง อาสาสมัครสาธารณสุข และสำนักงานเขต 50 เขต สำรวจจำนวนสุนัขและแมวทั้งมีเจ้าของและจรจัดในพื้นที่กรุงเทพฯ ในปี 2566 พบว่า มีสุนัขและแมวทั้งหมด 204,536 ตัว แบ่งเป็น สุนัข 70,985 ตัว แมว 133,551 ตัว และในปี 2567 อยู่ระหว่างสำรวจประชากรสุนัขและแมวเพื่อวางแผนการดำเนินงานทำหมันควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมว และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ อีกทั้งยังได้ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (soi dog foundation) มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิรักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวจร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพื่อจัดบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ตามพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ โดยให้บริการทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัขและแมว รวมทั้งลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (soi dog foundation) สร้างความร่วมมือในการออกหน่วยผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมว โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในปี 2564-2566 ไปแล้ว 131,048 ตัว และดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักงานเขต และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายปี 2567 ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมว 200,000 ตัว โดยเป็นการฉีดวัคซีนฯ 165,000 ตัว

นอกจากนี้ สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานเขต และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า การเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ การดูแลสุขภาพสุนัขและแมวอย่างถูกวิธี กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงและดูแลสัตว์ รวมถึงประชาสัมพันธ์แผนการออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ ให้บริการทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก : กลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 ศูนย์ สำนักอนามัย และสำนักงานเขต 50 เขต รวมทั้งปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบในการเลี้ยงสัตว์และการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยสนับสนุนหนังสือ "ZERO Rabies ภารกิจพิชิตพิษสุนัขบ้า" ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1,320 เล่ม ให้แก่สำนักการศึกษา กทม.เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. 437 แห่ง

ที่มา: กรุงเทพมหานคร

กทม.รุกมาตรการเฝ้าระวัง-ป้องกันการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าทำหมัน-ฉีดวัคซีน 200,000 ตัวในปี 67

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย