บริษัทกว่าครึ่งหนึ่งในการสำรวจครั้งนี้ระบุว่าความต้องการของผู้บริโภคคือตัวกระตุ้นหลักที่ก่อให้เกิดการนำโซลูชันด้านความยั่งยืนรูปแบบใหม่มาใช้งานในขั้นตอนการผลิตและการแปรรูป ข้อมูลนี้สอดคล้องกับงานวิจัยผู้บริโภคเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์[5] ของเต็ดตรา แพ้ค ซึ่งพบว่าความต้องการซื้อในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามราว 3 ใน 4 (คิดเป็น 74%) จะเพิ่มมากขึ้น หากแบรนด์สินค้ามีการสื่อสารถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม[6] ในขณะที่ 42% มองว่า "บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม" เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะทำให้ราคาสูงขึ้น[7] และยิ่งทำให้อุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นในการนำโมเดลธุรกิจเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบนี้มาปรับใช้
77% ของภาคธุรกิจแสดงความยินดีที่จะยอมแลกระหว่างการเปลี่ยนแปลงต้นทุนกับการนำโซลูชันการผลิตและการแปรรูปที่ยั่งยืนมาใช้[8] แม้ว่าอุตสาหกรรมจะต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจระดับมหภาคอย่างต่อเนื่องก็ตาม ข้อมูลเชิงลึกนี้สอดคล้องกับการประชุม COP28 ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคเอกชนจำนวนมากได้ตั้งปณิธานต่อเป้าหมายและโครงการด้านความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารของเต็ดตรา แพ้ค[9]
การให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจดูเหมือนกำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยน สืบเนื่องจากภาวะความเร่งด่วนในการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในระบบอาหารของโลกซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 10% ในอีก 5 ปีข้างหน้าจาก 49% เป็น 59% เมื่อผู้เข้าร่วมการสำรวจถูกถามว่าซัพพลายเออร์ด้านบรรจุภัณฑ์และการแปรรูปจะสามารถมีส่วนร่วมต่อเรื่องนี้ได้อย่างไร บริษัทกว่า 65% ระบุถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
จิล ทิสเซอแรน รองประธานด้านสภาพอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ของเต็ดตรา แพ้คกล่าวว่า "อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญยิ่ง ในการทบทวนการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อรับมือกับภาวะเร่งด่วนด้านสภาพภูมิอากาศ และการบริหารผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจและโซลูชันต่าง ๆ ของแต่ละบริษัท โดยมองหาซัพพลายเออร์มาช่วยสนับสนุนการเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งเต็ดตรา แพ้ค มุ่งมั่นทำหน้าที่ในส่วนของเราอย่างดีที่สุดผ่านการขับเคลื่อนนวัตกรรมในการพัฒนางานวิจัย สร้างระบบนิเวศเพื่อการทำงานร่วมกัน และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เส้นทางแห่งนวัตกรรมของเราถูกขับเคลื่อนด้วยแนวคิดเรื่องการใช้ทรัพยากรทดแทนได้และการรีไซเคิล เพื่อช่วยลดคาร์บอนและหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากวัสดุต่าง ๆ รวมไปถึงตอบสนองความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืน"
คุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัทเต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "สำหรับประเทศไทย เราภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวด้านความยั่งยืน ร่วมผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ เรามุ่งมั่นทำงานร่วมกับลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการเร่งสร้างนวัตกรรมและนำโซลูชันบรรจุภัณฑ์มาปรับใช้เพื่อช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการให้ความสำคัญกับการลดใช้พลาสติกและเปิดรับนวัตกรรมการใช้วัสดุทดแทนได้ ทำให้เราสามารถสนับสนุนเป้าหมายความยั่งยืนในระดับโลก และตอบสนองความต้องการด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในตลาดเมืองไทยที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม"
[1] สำหรับคำถามที่ว่า "โปรดประเมินความยินยอมพร้อมใจของบริษัทของคุณในการยอมแลกสิ่งต่างๆ เพื่อนำโซลูชันที่ยั่งยืนมาใช้ภายในกระบวนการผลิต/การแปรรูป" โดย 41% ตอบว่าพวกเขายอมแลกสิ่งนี้กับการปรับต้นทุนอย่างแน่นอน 36% อาจยอมแลกสิ่งนี้กับการปรับต้นทุน 10% ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมรับแนวทาง, 11% อาจไม่ยอมรับแนวทาง, 3% ไม่ยอมรับแนวทางอย่างแน่นอน
[2] ข้อมูลองค์การสหประชาชาติ ระบุว่า 36% ของพลาสติกทั้งหมดที่เกิดขึ้น ใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์ แหล่งข้อมูล https://www.unep.org/interactives/beat-plastic-pollution/#:~:text=Approximately%2036%20per%20cent%20of,landfills%20or%20as%20unregulated%20waste
[3] ความมุ่งมั่น 5 อันดับแรกคือ การลดการพึ่งพาพลาสติก การลดความต้องการบรรจุภัณฑ์พลาสติกในการจัดส่งอาหาร การลดขยะอาหารในโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การลดขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกในห่วงโซ่มูลค่าของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และการปรับปรุงด้านลอจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่มูลค่า
[4] งานวิจัยกลุ่มธุรกิจต่อธุรกิจ (Business-to-business) ของเต็ดตรา แพ้ค เกี่ยวกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมโลกและผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เริ่มดำเนินการในปี 2566 โดยอาศัยวิธีการแบบผสมผสาน โดยมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและองค์ประกอบเชิงคุณภาพ (ผ่านการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ) การวิจัยเชิงคุณภาพครอบคลุมถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญภายในของเต็ดตรา แพ้ค จำนวน 20 ครั้ง และอีก 12 ครั้งกับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มทั่วทุกภูมิภาคที่อยู่ในขอบเขตของโครงการวิจัยครั้งนี้ การวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยการสัมภาษณ์ 346 ครั้งในตลาด 19 แห่ง (ได้แก่ อิตาลี โปแลนด์ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ เม็กซิโก อาร์เจนตินา บราซิล จีน เวียดนาม สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สหพันธรัฐอาระเบียใต้ ตุรกี ญี่ปุ่น)
[5] การวิจัยผู้บริโภคด้านบรรจุภัณฑ์แบบยั่งยืนล่าสุดของเต็ดตรา แพ้ค ซึ่งดำเนินการในปี 2566 ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริโภคทั้งหมด 14,500 รายด้วยแบบสอบถามออนไลน์ในตลาด 29 แห่ง ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สเปน สวีเดน ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี แอฟริกาใต้ อียิปต์ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เวียดนาม บราซิล สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก โคลัมเบีย และ อาร์เจนตินา
[6] สำหรับคำถามที่ว่า "หากแบรนด์มีการสื่อสาร/พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ความต้องการซื้อสินค้าของแบรนด์นั้นจะ…" โดย 74% ตอบว่าจะเพิ่มขึ้น Base TOTAL 2023: 14539
[7] สำหรับคำถามที่ว่า "ประโยคใดต่อไปนี้สอดคล้องกับความคิดของคุณเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า" โดย 42% ตอบว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์มาตรฐาน
[8] สำหรับคำถาม "โปรดประเมินความยินยอมของบริษัทของคุณที่จะยอมแลกกับการนำโซลูชันที่ยั่งยืนมาใช้ในกระบวนการการผลิต/การแปรรูป" โดย 41% ตอบว่าพวกเขายอมรับการแลกกับการเปลี่ยนแปลงต้นทุนอย่างแน่นอน 36% อาจยอมแลกกับการเปลี่ยนแปลงต้นทุน 10% ไม่ยอมรับแนวทางหรือจะไม่ยอมทำ 11% อาจไม่ยอมรับ 3% ไม่ยอมรับอย่างแน่นอน
[9] https://www.tetrapak.com/about-tetra-pak/news-and-events/newsarchive/tetra-pak-unveils-action-oriented-approach-towards-food-systems-transformation
ที่มา: Midas PR