นายวิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย กล่าวว่า "เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับบีโอไอและกนอ. เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานในระดับท้องถิ่นที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของเรา ขณะนี้ประมาณ 50% ของห่วงโซ่อุปทานของเราเป็นซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น และเราตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนดังกล่าวให้ได้ถึง 80% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเดลต้ากำลังขยายการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาและการผลิตในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว และเราพร้อมต้อนรับซัพพลายเออร์ในประเทศไทยเสมอ นอกจากนี้เรายังสนับสนุนซัพพลายเออร์จากต่างประเทศเติบโตไปพร้อมกับเราในประเทศไทยอีกด้วย"
ภายในงาน นางสาวพัชรดา นวกะวงษ์การ ผู้อำนวยการกองพัฒนาผู้ประกอบการไทย บีโอไอ ได้กล่าวขอบคุณเดลต้าในการจัดกิจกรรมดังกล่าว และตอกย้ำกลยุทธ์ของบีโอไอในการสนับสนุนซัพพลายเออร์ในประเทศไทยผ่านความร่วมมือและองค์ความรู้จากบริษัทระดับโลก หลังจากนั้นผู้จัดการฝ่ายบริหารห่วงโซ่อุปทานและฝ่ายจัดซื้อของเดลต้าได้นำเสนอกลยุทธ์ของบริษัท ข้อกำหนด และการพัฒนาในระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้จัดการฝ่ายการวิจัยและพัฒนาของเดลต้ายังได้แบ่งปันแผนงานด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท สำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในประเทศไทยอีกด้วย
หลังจากการนำเสนอ ซัพพลายเออร์ที่เข้าร่วมงานจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมพูดคุยซักถามกับกลุ่มผู้จัดการของเดลต้า และเยี่ยมชมโชว์รูมของบริษัท โดยคุณเกษมสันต์ เครือธร ผู้จัดการอาวุโสประจำภูมิภาคฝ่ายระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติของเดลต้า ได้นำเสนอโซลูชันการผลิตอัจฉริยะ Industrial Internet of Things (IIoT) อันเป็นเอกลักษณ์ของเดลต้า ที่ใช้แพลตฟอร์ม DIACloud สำหรับการสื่อสาร ควบคุม และใช้อุปกรณ์ภาคสนามเพื่อจัดการกระบวนการในโรงงานและอาคาร
ภายหลังการอธิบายแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตของเดลต้าแล้ว เดลต้ายังได้เชิญซัพพลายเออร์สำรวจบูธของ กนอ. และเดลต้าที่ล็อบบี้ของบริษัท โดยแต่ละบูธได้จัดแสดงรายละเอียดข้อมูลจำเพาะ ความต้องการเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมในแต่ละผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนที่ผลิตในท้องถิ่นของเดลต้าที่มีการเปิดรับการสนับสนุนจากพันธมิตรในพื้นที่
สุดท้ายนี้ ฝ่ายจัดซื้อและฝ่ายบริหารการผลิตของเดลต้า ประเทศไทย ได้เชิญซัพพลายเออร์ด้านยานยนต์ และด้านอื่น ๆ (Non-Automotive Suppliers) ร่วมหารือเป็นการส่วนตัว โดยการประชุมจับคู่เจรจาธุรกิจดังกล่าวประกอบไปด้วยซัพพลายเออร์ในประเทศไทยและทีมงานจากเดลต้า ซึ่งแบ่งเป็นสี่ภาคส่วน ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า (EE) เครื่องกลไฟฟ้า (EM) อโลหะ (NM) และวิศวกรรมเครื่องกล (ME)
ในฐานะผู้ผลิตและผู้ให้บริการโซลูชันอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของประเทศไทย เดลต้าทำงานร่วมกับบีโอไอและซัพพลายเออร์ของไทย เพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่นและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยเดลต้ายินดีต้อนรับพันธมิตรในระดับท้องถิ่นเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของเดลต้า เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะยุคใหม่
ที่มา: Vero