พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

ศุกร์ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๗ ๑๐:๑๔
กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรดินอย่างยั่งยืนในพื้นที่ปลูกพืช GI เพื่อส่งเสริมเกษตรกรเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรพื้นถิ่น และผลักดันการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น
พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดิน ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญและเดินหน้าผลักดันโครงการ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง โดยส่งเสริมให้เกษตรกรนำอัตลักษณ์พื้นถิ่นของไทยมาเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยเฉพาะพืชท้องถิ่นที่สำคัญ และมีเอกลักษณ์เฉพาะ หรือพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา นำไปสู่การขยายพื้นที่ปลูก ทำให้สินค้าเกษตรพื้นถิ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งตั้งเป้าให้ทุกจังหวัดมีสินค้า GI เป็นของตนเอง กรมพัฒนาที่ดิน โดยกองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ ลักษณะ และสมบัติของชุดดิน เก็บตัวอย่างดิน วิเคราะห์ดิน เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลทรัพยากรดินและแนวทางการจัดการดินในพื้นที่ ปลูกพืช GI รายชนิดพืช ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบสถานภาพทรัพยากรดินและศักยภาพของดินในพื้นที่ อีกทั้งบ่งชี้สถานะของดินที่มีการปลูกพืชให้มีคุณภาพดี

อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวต่อว่า ฐานข้อมูลสารสนเทศและสถานการณ์ของทรัพยากรดินในพื้นที่เพาะปลูกพืช GI ดังกล่าวข้างต้น กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน จะนำมาวิเคราะห์และประเมินคุณภาพที่ดิน ทั้งระดับความต้องการปัจจัยของพืช GI และสภาพภูมิอากาศ เพื่อจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกพืช GI ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อจัดทำเขตการใช้ที่ดินสำหรับการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืช GI พร้อมทั้งจัดทำเขตเหมาะสมมากสำหรับปลูกและขยายพื้นที่ปลูกพืช GI ต่อไป โดยได้ดำเนินการแล้วกว่า 40 ชนิดพืช อาทิ ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น และในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ดำเนินการอีก 11 ชนิดพืช ประกอบด้วย กล้วยไข่กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา จังหวัดพะเยา มะยงชิดนครนายก จังหวัดนครนายก ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท จังหวัดชัยนาท สับปะรดนางแล และสับปะรดภูแลเชียงราย จังหวัดเชียงราย สับปะรดทองระยอง จังหวัดระยอง สับปะรดตราดสีทอง จังหวัดตราด สับปะรดศรีราชา จังหวัดชลบุรี มะม่วงน้ำดอกไม้บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และมะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ทั้งนี้ กรมฯ จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนด เพื่อให้การผลิตพืช GI มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ได้รับความคุ้มครองพื้นที่เกษตรให้สามารถปลูกพืชตรงตามศักยภาพ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกร สามารถสร้างรายได้และช่วยกันคุ้มครองพื้นที่เกษตรให้สามารถผลิตพืชได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน

พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี