ส่วนที่ 1 ภาพรวมแผนแม่บทฯ ส่วนที่ 2 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์การพัฒนาในช่วงแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 3 ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนากิจการโทรคมนาคม ซึ่งแบ่งเป็น 5 ยุทธศาสตร์ และส่วนที่ 4 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลและแผนแม่บทฯ
ผศ. ดร. สุทิศากล่าวว่า ในฐานะ กตป.เป็นกลไกที่มีอำนาจหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของ สำนักงาน กสทช. กสทช. มีประเด็นที่ขอตั้งข้อสังเกตุ ดังนี้
- ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น และการเข้าสู่ตลาดโทรคมนาคมของผู้ประกอบการรายใหม่ ในร่างประกาศ แผนแม่บทฯกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ไว้ว่า ตลาดโทรคมนาคมมีระดับการแข่งขันมากขึ้น มีการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีการแข่งขันที่เป็นธรรม มีมาตรการหรือกลไกป้องกันมิให้มีการผูกขาด เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ กตป.ด้านกิจการโทรคมนาคมได้เสนอแนะมาตลอดว่า การควบรวมของบริษัทมือถือ เหลือแค่เพียง 2 บริษัทอาจทำให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบค่าบริการ ดังนั้น การปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ต้องทำให้สำเร็จ
- การลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล และส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการโทรคมนาคมที่หลากหลาย โดยมุ่งผลักดันการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม ให้การบริการครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้มีรายได้น้อย คนพิการ เด็ก คนชรา และผู้ด้อยโอกาสในสังคม เรื่องนี้ ขอให้ กสทช.มีแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จโดยเร็ว โดยไม่ต้องรอให้ครบ 5 ปีตามกรอบเวลาของแผนแม่บทฯ
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การอนุญาตและกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและวิทยุคมนาคมให้เหมาะสมกับนิเวศอุตสาหกรรมดิจิทัล ในร่างประกาศ แผนแม่บทฯ กำหนดเป้าหมายไว้ว่า จะอนุญาตและกำกับดูแลสอดคล้องกับการหลอมรวมทางเทคโนโลยี ข้อสังเกตุ ก็คือ จะมีความชัดเจนเมื่อใดในเรื่องใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ภาคพื้นดินที่จะครบสัญญาในปี 2572 จะให้ประมูลอีกหรือไม่ รวมทั้งจะต้องเร่งเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายองค์การจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพราะผู้ประกอบการสื่อต้องการรับรู้แต่เนิ่นๆเพื่อจะได้วางแผนธุรกิจล่วงหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับการคุ้มครองและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล มีข้อสังเกตุว่า ขบวนการมิจฉาชีพแก๊ง คอล เซนเตอร์ที่เป็นภัยคุกคามประชาชนในรูปแบบต่างๆผ่านบริการโทรคมนาคมนั้น จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในมาตรการการป้องกันและปราบปรามซึ่งต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ อาทิ ตำรวจไซเบอร์ ค่ายโทรศัพท์มือถือ ธนาคารชาติ ฯลฯ ทั้งนี้ จะต้องร่วมมืออย่างจริงจังกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นแหล่งปฏิบัติการของแก๊ง คอล เซนเตอร์ สำนักงาน กสทช.ต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่า ภาครัฐจะสามารถทลายขบวนการอาชญากรรมไซเบอร์ได้สำเร็จ
ผศ. ดร.สุทิศากล่าวทิ้งท้ายว่า กตป.ด้านกิจการโทรคมนาคม ขอเสนอให้สำนักงาน กสทช.ประมวลข้อเสนอแนะของผู้ที่มาแสดงความคิดเห็นแล้วสรุปนำมาปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้แผนแม่บทโดยไม่ชักช้า เพราะระยะเวลาของแผน 5 ปีเริ่มปี 2567 - 2571 ซึ่งบัดนี้ผ่านไตรมาศที่ 1 ของปี 2567 มาแล้ว เมื่อประกาศแผนแม่บทด้านกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 3 ก็จะถือเป็นแผนภูมิหรือเข็มทิศให้ กสทช.นำไปปฏิบัติ
ที่มา: CHOM PR