พัทยาแอร์เวย์ ต้อนรับเครื่องบิน ATR 72-500 Freighter ลำแรก เข้าฝูงบิน พร้อมให้บริการขนส่งสินค้าในภูมิภาคอาเซียนตามแผนการดำเนินงาน

อังคาร ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗ ๑๒:๐๘
พัทยาแอร์เวย์ โดย นายทศพร อสุนีย์ ประธานกลุ่มบริษัทพัทยา และ นายณัฏฐน์ บุณยวิชญ์กานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทพัทยา นำทีมผู้บริหารและพนักงาน ต้อนรับเครื่องบินขนส่งสินค้า ATR 72-500 Freighter ลำแรก ภายใต้ชื่อไทย "ทัณฑิมา" ทะเบียนเครื่องบิน HS-PAW เป็นไปตามแผนการดำเนินงานการเปิดให้บริการการบินของพัทยาแอร์เวย์ พร้อมสำหรับการบุกเบิกตลาดขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และ E-Commerce ในภูมิภาคอาเซียน โดยจะมีฐานปฏิบัติการการบินที่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา
พัทยาแอร์เวย์ ต้อนรับเครื่องบิน ATR 72-500 Freighter ลำแรก เข้าฝูงบิน พร้อมให้บริการขนส่งสินค้าในภูมิภาคอาเซียนตามแผนการดำเนินงาน

นายทศพร อสุนีย์ ประธานกลุ่มบริษัทพัทยา (PATTAYA GROUP) เปิดเผยว่า ในขณะนี้พัทยาแอร์เวย์ ได้ต้อนรับเครื่องบินลำแรก ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานของการเปิดให้บริการการบินของพัทยาแอร์เวย์ โดยสายการบินฯ วางแผนที่จะใช้เครื่องบิน ATR 72-500 Freighter ทั้งหมด 2 ลำ ในปีแรก และพร้อมสำหรับการบุกเบิกตลาดขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และ E-Commerce ในภูมิภาคอาเซียน เครื่องบิน ATR 72-500 Freighter ขึ้นชื่อในเรื่องความสามารถในการบรรทุกสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหลากหลายประเภท รวมถึงสินค้าเกษตร อาหาร ยา และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องบินลำนี้สามารถบรรทุกสินค้าได้สูงสุด 8 ตัน และบินได้ไกลถึง 900 ไมล์ทะเล หรือ 1,666.8 กิโลเมตร หรือประมาณ 3 ชั่วโมงบิน

"พัทยาแอร์เวย์ มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดในอาเซียน ด้วยการขยายฝูงบิน ATR 72-500 Freighter สายการบินฯ จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายและขยายเครือข่ายการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้ และตามแผนการดำเนินของสายการบิน เครื่องบิน ATR 72-500 Freighter ลำที่สอง จะมีกำหนดเข้าประจำการภายในเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งจะทำให้พัทยาแอร์เวย์มีเครื่องบินครบ 2 ลำ ภายในปีนี้ 2567 และสายการบินจะดำเนินการตามแผนที่จะเพิ่มฝูงบินเป็น 5 ลำ ภายในปี 2571"

นายณัฏฐน์ บุณยวิชญ์กานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทพัทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สายการบินได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายการเดินอากาศ (Air Operating License หรือ AOL) จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการยื่นขอ ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate หรือ AOC) คาดว่าจะได้รับใบอนุญาต และเริ่มให้บริการตามกรอบเวลาที่วางแผนไว้ โดยสายการบินฯ คาดว่าจะเริ่มทำการบินในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 นี้

"สายการบินจะให้บริการในลักษณะการจับมือกับคู่ค้าพันธมิตร B2B ที่ได้ลงนามทำการค้าร่วมกัน เพื่อตอบรับการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น NEW NORMAL เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์หรือ E-commerce มากยิ่งขึ้น การให้บริการการขนส่งสินค้าทางอากาศจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะอำนวยความสะดวกและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งประหยัดเวลาในการขนส่งอีกด้วย"

ความได้เปรียบจากธุรกิจต่อเนื่องของบริษัทในเครือพัทยากรุปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการภาคพื้น การตลาดในด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีปริมาณน้ำหนักในการขนส่ง เป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย รวมถึงการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในสายการบินและการให้บริการในสนามบินที่ได้มาตรฐานระดับโลก  จึงมั่นใจได้ว่าสายการบินฯ มีความสามารถในปฏิบัติการด้านการบินในทุกด้านอย่างยั่งยืน นายทศพร กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: ธีอ๊อกซีนี่ พีอาร์

พัทยาแอร์เวย์ ต้อนรับเครื่องบิน ATR 72-500 Freighter ลำแรก เข้าฝูงบิน พร้อมให้บริการขนส่งสินค้าในภูมิภาคอาเซียนตามแผนการดำเนินงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ