คนที่เป็นธาลัสซีเมียจะมีระดับฮีโมโกลบินในเลือดลดลงเนื่องจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ก่อให้เกิดความกังวลสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว โดยคนไทยกว่า 30% นับจากทั้งประเทศเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งควรรีบให้ความรู้แก่สังคมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคนี้
ธาลัสซีเมียเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง แม้ว่าบางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ (ธาลัสซีเมียแฝงหรือธาลัสซีเมียไมเนอร์ (Thalassemia Minor)) แต่บางคนก็ต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ความเหนื่อยล้า ภาวะโลหิตจาง การเจริญเติบโตล่าช้า และผิวซีด (Thalassemia Major)
การใช้ชีวิตที่เป็นธาลัสซีเมียสามารถเกิดความกังวลได้มากมาย เช่น การจัดการกับอาการต่าง ๆ การรับมือกับการถ่ายเลือดบ่อย และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะธาตุเหล็กเกิน และความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น โดยโรคนี้ ต้องให้ความสำคัญแก่การรักษาและการได้รับการสนับสนุนที่ดี ทั้งทางร่างกาย ทางอารมณ์ และทางการเงิน
การป้องกันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการกับโรคธาลัสซีเมีย โดยการทดสอบทางพันธุกรรมและการให้คำปรึกษานับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความเสี่ยงของโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง การรักษาบุคคลที่มีอาการอยู่แล้วมักต้องครอบคลุมวิธีการในหลายแง่มุม เช่น การถ่ายเลือด การบำบัดผ่านการขับธาตุเหล็ก การปรับเปลี่ยนอาหาร และการทานยาบำรุงเพื่อบรรเทาอาการ
เนื่องจากธรรมชาติของโรคธาลัสซีเมียคือโรคเกี่ยวกับเลือด โรคนี้จึงตกอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เรียกว่านักโลหิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ทุ่มเทเพื่อทำความเข้าใจและรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดทั้งหมด โดยทั่วไปโลหิตวิทยาจะต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ซึ่งเป็นขั้นตอนขั้นสูงของการฝึกอบรมทางการแพทย์หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์ และการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต
วันที่ 8 พฤษภาคมหรือวันธาลัสซีเมียโลก เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าว และสนับสนุนให้ทุกคนสามารถรับการรักษาได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยหัวข้อหลักของปีนี้คือ "Empowering Lives, Embracing Progress: Equitable and Accessible Thalassemia Treatment for All" ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญว่าทุกคนเป็นโรคนี้ ควรได้รับการดูแลรักษาแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหนก็ตาม เพื่อให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี
มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จไม่เพียงแต่สนับสนุนให้บุคคลและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยเรียนรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียเท่านั้น แต่ยังให้การช่วยเหลือแก่บุคคลและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ โดยทางมหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นว่าในอนาคตไม่อยากให้โรคธาลัสซีเมียเป็นภาระทางสุขภาพของคนไทยและผู้คนทั่วโลก
ที่มา: Midas PR