โดยคาดว่ากำไรจะเติบโตก้าวกระโดดต่อเนื่องใน 3 ปี จากการเติบโตของการจารจรทางอากาศในกัมพูชา ทำให้กำไรของ SAV เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกไตรมาสนับตั้งแต่ 1Q23 พร้อมทั้งคาดว่ากำไรของ SAV จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ 1Q24 ตามการเติบโตของจำนวนเที่ยวบิน แรงหนุนของการเปิดบริการเที่ยวบินของแอร์เอชียกัมพูชา ในเดือน พ.ค. 2024 รวมทั้งการเปิดดำเนินการของสนามบินอีก 3 แห่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2024-2026 จากฐานกำไรที่ต่ำในปี 2023 ประเมินกำไร SAV จะเติบโตสูงถึง 104% เป็น 556 ล้านบาทในปี 2024 และเพิ่มอีก 23% เป็น 684 ล้านบาทในปี 2025
บล.ฟินันเซีย ไซรัส แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 25 บาท/หุ้น คาดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3 เท่า ทำสถิติสูงสุดใหม่หลังวิกฤตที่ 93 ล้านบาท ในไตรมาส 1/2567 (เทียบกับ 31 ล้านบาทในไตรมาส 1/2566) คาดว่าปริมาณเที่ยวบินรวมใน 1Q24 จะเพิ่มขึ้น 10% y-y ปริมาณการลงจอดและบินขึ้นระหว่างประเทศควรเติบโต 15-20% y-y (50-55% ของก่อนโควิด) เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้น ปริมาณเที่ยวบินข้ามควรเพิ่มขึ้น 5-10% y-y (90-95% ของก่อนโควิด) นำโดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในเวียดนาม รายได้น่าจะเพิ่มขึ้น 15-20% y-y เนื่องจากปริมาณเที่ยวบินที่สูงขึ้นและการแปลงค่าเงินที่เป็นบวก (หลังจากเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ) โดยรวมแล้วคาดว่ากำไรหลักไม่รวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย (WHT) จะเพิ่มขึ้น 36% y-y เป็น 108 ล้านบาท SAV น่าจะบันทึก WHT ที่ 14-16 ล้านบาทใน 1Q24 (เทียบกับ 47 ล้านบาทใน 1Q23) ส่งผลให้กำไรเติบโต 204% เป็น 93 ล้านบาท
ขณะที่คาดการณ์กำไรหลักปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 56% เป็น 436 ล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น 20% เป็น 1.11 แสนเที่ยวบิน (83% ของเที่ยวบินก่อนโควิดอยู่ที่ 1.34 แสนเที่ยวบิน) นอกจากนี้ดอกเบี้ยจ่ายน่าจะลดลงอย่างมากจาก 69 ล้านบาทในปี 2566 เหลือเพียง 2-4 ล้านบาทหลังจากที่ SAV จ่ายคืนเงินกู้ระยะยาวด้วยเงินที่ได้รับจาก IPO คาดปริมาณเที่ยวบินแตะระดับก่อนโควิดปี 2568 คาดกำไรหลักพุ่งเป็น 568 ลบ. แซงกำไรก่อนโควิด 499 ลบ.
บล.กสิกรไทย คงคำแนะนำ "ซื้อ" SAV ด้วยราคาเป้าหมายไม่เปลี่ยนแปลงที่ 24.17 บาท โดยคาดว่ากำไรไตรมาส 1/2567 ที่แข็งแกร่งจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้น คาดกำไรปกติไตรมาส 1/2567 อยู่ที่ 107 ลบ. เพิ่มขึ้น 76% QoQ และ 229% YoY และทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 414 ลบ. ลดลง 23% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 21% YoY รายได้ที่ลดลง QoQ เนื่องมาจากรายได้จากงานภายใต้สัญญาสัมปทานจำนวน 143 ลบ. ซึ่งบันทึกไว้ในไตรมาส 4/2566 รายได้จากการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 (TFRIC12) ซึ่งบันทึกเท่ากับต้นทุนอุปกรณ์และระบบที่ลงทุนในท่าอากาศยานนานาชาติเสียมเรียบแห่งใหม่ซึ่งเปิดดำเนินการในเดือนต.ค. 2566 ขณะเดียวกันรายได้ที่เพิ่มขึ้น YoY น่าจะเป็นผลจากจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการที่เพิ่มขึ้น
ที่มา: Brand Wealth