วช. จัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการด้านแผ่นดินไหว เพื่อรับมือแผ่นดินไหว ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

พฤหัส ๐๙ พฤษภาคม ๒๐๒๔ ๐๙:๓๒
วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ และมูลนิธิมดชนะภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการด้านแผ่นดินไหว โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดผ่านระบบ Video Conference และได้มอบหมายให้ ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประเด็นเป้าหมายด้านการพัฒนาสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม วช. ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. เข้าร่วม ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก
วช. จัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการด้านแผ่นดินไหว เพื่อรับมือแผ่นดินไหว ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ดร.ธนิต ใจสอาด กรมโยธาธิการและผังเมือง (ส่วนกลาง) เป็นผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการด้านแผ่นดินไหว ผู้แทนทั้งภาครัฐหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน นักวิจัย สื่อมวลชน และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ โรงแรม The Heritage Chiang Rai

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นสำคัญของประเทศมีพันธกิจในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้ริเริ่มแผนงานการพัฒนาศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talents) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญแบบสหวิทยาการที่มีความหลากหลาย เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติของสถาบันวิจัย และการให้บริการวิชาการที่มีคุณภาพในระดับอาเซียน สามารถนำไปสู่การต่อยอดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยการประชุมวิชาการในวันนี้ นักวิจัยภายใต้ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมจัดการประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยที่ได้ดำเนินการในพื้นที่ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติแผ่นดินไหว รวมทั้งสื่อสารให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ตระหนักรู้ ในการป้องกัน บรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว และแลกเปลี่ยนประสบการณ์รวมถึงถอดบทเรียนจากอดีตถึงปัจจุบันไปสู่การขับเคลื่อนสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการเพื่อเตรียมแผนในการรับมือต่อไปในอนาคต

ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ได้กล่าวถึงประเด็น "การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหวจากอดีตถึงปัจจุบัน" จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประเทศไทย ขนาด 6.3 ริกเตอร์ ที่มีศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ทั้งภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศเมียนมาร์ แผ่นดินไหวในครั้งนั้นสร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินและความเสียหายส่วนใหญ่เกิดกับอาคารสถานที่ ทั้งบ้านเรือนประชาชน สถานที่ราชการ โบราณสถาน และเส้นทางคมนาคม ซึ่งปีนี้ 2567 จะครบรอบ 10 ปี ที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ได้นำข้อมูลทางวิชาการมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหวจากอดีตเพื่อให้ความรู้กับประชาชนและลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

ดร.ธนิต ใจสอาด กรมโยธาธิการและผังเมือง (ส่วนกลาง) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็น "การออกแบบก่อสร้างอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหว" การออกแบบอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหวได้นั้น วิศวกรผู้ออกแบบจะต้องพิจารณารูปแบบของอาคารตามหลักพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และหลักมาตรฐานอ้างอิง ตามที่ข้อกฎหมายกำหนดไว้ในการออกแบบสร้างอาคารที่ถูกต้องตามหลักของรายละเอียดโครงสร้างข้อบังคับของกฎหมายกรมโยธาธิการและผังเมือง ในฐานะหน่วยงานด้านการผังเมือง การพัฒนาเมือง และการอาคาร ให้มีความน่าอยู่และปลอดภัย ร่วมดำเนินกิจกรรม "1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว" เพื่อสนับสนุนการพัฒนาปรับปรุงงานผังเมืองและโยธาธิการ ให้มีมาตรฐานรองรับภัยพิบัติแผ่นดินไหว และมีกรอบการพัฒนาเมืองที่ตอบสนองความต้องการทางสังคม เศรษฐกิจ และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างทั่วถึง

โดย กิจกรรมภายในงานเป็นการเสวนาวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

- ประเด็น "ธรรมชาติแผ่นดินไหว : ความเสี่ยง" โดย ดร.วีระชาติ วิเวกวิน กรมทรัพยากรธรณี และคณะ

- ประเด็น "การเสริมกำลังอาคารที่มีอยู่" โดย ผศ.ดร.ฐิตยา สารฤทธิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ

- ประเด็น "การเตรียมพร้อมเผชิญเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหว" โดย คุณอารุณ ปินตา ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 และคณะ

- ประเด็น "การตรวจติดตามสุขภาพโครงสร้างอาคารสูงในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย" โดย ศ.ดร.นคร ภู่วโรดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ

- ประเด็น "การขับเคลื่อนภาคประชาสังคมกรณีตัวอย่างเขื่อนแม่สรวยและชุมชนชนบท" โดย รศ. ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ มูลนิธิมดชนะภัย

ทั้งนี้ วช. อยู่ระหว่างดำเนินการสร้าง Research Ecosystem Facilities ที่จะช่วยให้สามารถศึกษาวิจัย ในระดับที่ทัดเทียมกับนานาชาติ รวบรวมองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว และเป็นกลไกหลักในการนำเสนอนโยบายและเพื่อการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป็นเวทีในการเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดสำหรับการนำบทเรียนมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย และเตรียมความพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหวในอนาคต

ที่มา: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

วช. จัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการด้านแผ่นดินไหว เพื่อรับมือแผ่นดินไหว ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๐๐ ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๒:๐๐ กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๑:๒๐ แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๑:๐๐ ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๑:๐๗ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๑:๓๐ EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๑:๓๓ ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๑:๐๙ ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๑:๐๗ DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๑:๓๑ โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก