กทม. ตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องสูบน้ำชนิดลากจูงใช้งานได้ตามปกติ 197 เครื่อง พร้อมดูแลบำรุงรักษาต่อเนื่อง

พุธ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ๑๔:๑๔
นายอนุชิต พิพิธกุล รองผู้อำนวยการสำนักการคลัง (สนค.) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการคลัง กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบการใช้งานเครื่องสูบน้ำชนิดลากจูงของ กทม. ว่า สนค. ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2558 ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม. เป็นเงิน 188,000,000 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดเครื่องยนต์ดีเซล แบบเทรลเลอร์ลากจูงฯ จำนวน 200 เครื่องให้กับสำนักงานเขตที่แจ้งความประสงค์ เพื่อนำไปใช้งานในพื้นที่รวม 41 สำนักงานเขต โดย สนค. ได้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานสำรวจการใช้งานและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องสูบน้ำฯ จากผลการตรวจสอบรายงานของหน่วยงานผู้ใช้ปรากฏว่า หน่วยงานใช้งานได้ตามปกติตั้งแต่รับมอบเมื่อเดือน ธ.ค. 58 จนถึงปัจจุบัน 197 เครื่อง และอยู่ระหว่างการซ่อมแซม 3 เครื่อง ส่วนการบำรุงรักษา สนค. ได้แจ้งให้หน่วยงานตรวจสอบและแจ้ง สนค. ทราบ หากมีการชำรุดบกพร่องของเครื่องสูบน้ำฯ ในระหว่างรับประกันความชำรุดบกพร่อง 1 ปี เมื่อพ้นระยะรับประกันหน่วยงานผู้ใช้จะแจ้งการบำรุงรักษาไปยังสำนักการระบายน้ำ กทม. เพื่อดูแลและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้ตามปกติต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ