ผศ.ดร.คณกร กล่าวต่อไปว่า จากการรายงานพบว่ามีหลายโครงการที่มีความก้าวหน้าไปมากและถือว่าเป็นที่น่าพอใจ อย่างเช่น โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งบูรณาการองค์ความรู้วิทยาการจัดการยกระดับสินค้าชุมชน ณ จังหวัดสมุทรสาคร ของคณะวิทยาการจัดการที่ได้รายงานว่าคณะทำงานได้มีการลงพื้นที่ไปแล้วหลายครั้งที่วิสาหกิจชุมชน" บ้านมาลัยจิรามงคล "ของนางสาวเจนจิรา จันทร์ทับทิม เจ้าของกิจการมาลัยประดิษฐ์ เพื่อไปเก็บข้อมูลในประเด็นหลัก เช่น บริบททั่วไป สภาพการณ์ของผลิตภัณฑ์ฯ และการติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งพบว่าจุดเด่นของผลิตภัณฑ์พวงมาลัยดอกไม้ประดิษฐ์ที่สวยงามเสมือนจริง สามารถเก็บได้นานถึง 3 ปี และที่สำคัญวัตถุดิบที่นำมาใช้ไม่เป็นภัยต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
" คณะทำงานได้มีข้อเสนอแนะการพัฒนาเพื่อเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ปี 2567เพื่อยกระดับตัวสินค้าดังนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มาลัยประดิษฐ์ โดยการนำรูปทรงและลักษณะเด่นของดอกกระทุ่ม ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีชื่อพ้องกับอำเภอหนึ่งของจังหวัด มาใช้เป็นต้นแบบของการออกแบบลวดลายให้ปรากฎอยู่บนพวงมาลัย เพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาคร การออกแบบป้ายแทค หรือป้ายสินค้า (read more) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ บ้านมาลัยจิรามงคล สำหรับแขวนติดไว้กับตัวสินค้า เพื่อบอกข้อมูลและรายละเอียดที่ต้องการจะสื่อสารกับลูกค้า ให้มีความสวยงาม ส่งเสริมให้พวงมาลัยมีความโดดเด่น และหรูหราไม่เหมือนใคร และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย ด้วยวิธีบูรณาการกล่องและถุงหิ้วใส่สินค้าทั้งสองอย่าง ให้เป็นวัสดุชิ้นเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการขนย้ายและลดต้นทุนการผลิต ทำให้เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และรายได้ให้ชุมชนด้วย อย่างไรก็ตามการลงพื้นที่ของคณะทำงานชุดนี้ถือว่าทำงานได้เยี่ยมมาก ขณะที่คณะทำงานในโครงการอื่นๆก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน"ผศ.ดร.คณกร กล่าว
ที่มา: เอยู คอมมิวนิเคชั่น