กรมวิชาการเกษตร แจ้งเตือน "ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร" หากมีส่วนผสมสารสกัดจากพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส ต้องขอหนังสืออนุญาต

จันทร์ ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๒๔ ๐๙:๓๖
ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุมการค้าพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส ได้รับการแจ้งเตือนจากสหภาพยุโรปว่ามีการส่งออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสจำนวนมากไปยังสหภาพยุโรป (EU) โดยไม่มีหนังสืออนุญาตไซเตส (CITES Permit) ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิเสธไม่ให้เข้าไปยังสหภาพยุโรป ถูกกักยึดทำลาย และยังถูกดำเนินคดีปรับเป็นเงินจำนวนมากในประเทศปลายทางอีกด้วย
กรมวิชาการเกษตร แจ้งเตือน ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากมีส่วนผสมสารสกัดจากพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส ต้องขอหนังสืออนุญาต

ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร จึงขอประชาสัมพันธ์ให้บริษัทผู้ผลิต ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้ทราบว่าสารสกัดจากพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส โดยเฉพาะสารสกัดจากกระบองเพชรทุกชนิด และพืชสมุนไพรอีกหลายชนิดที่อยู่ในการควบคุมของอนุสัญญาไซเตส และเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 การส่งออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสไปนอกราชอาณาจักร จะต้องได้รับหนังสืออนุญาตไซเตสจากกรมวิชาการเกษตร สำหรับผู้ฝ่าผืนไม่ปฏิบัติตามนอกจากจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิเสธการเข้าประเทศปลายทางและถูกกักยึดทำลายแล้ว ยังมีบทลงโทษสำหรับผู้ส่งออกที่ไม่ขอหนังสืออนุญาตไซเตส ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 โดยกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วย

"ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถตรวจสอบพืชหรือสารสกัดจากพืชที่อยู่ในการควบคุมของอนุสัญญาไซเตสได้จากประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง พืชอนุรักษ์ พ.ศ. 2564 หรือที่เว็บไซต์ https://checklist.cites.org/#/en โดยชนิดพืชในบัญชีไซเตสที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ต่าง ๆ เช่น กระบองเพชร ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือกาแฟลดน้ำหนัก กล้วยไม้และว่านหางจระเข้แอฟริกาเป็นส่วนผสมในโลชั่น ครีมบำรุงผิว กฤษณาและโกฐกระดูก เป็นส่วนผสมในยาหอม ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยอนุสัญญาไซเตสด้านพืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2940-5687 อีเมล [email protected] หรือไลน์ไอดี citesflora.th หรือเพจ CITES Flora Thailand" โฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๔ สมาคมศิษย์เก่าจิตรลดาร่วมวางพานพุ่มถวายราชสักการะในวันจักรี
๑๖:๒๓ 4 เหตุผลที่ควรดู Hyper Knife สำรวจด้านมืดของวงการแพทย์ไปกับ 'อาจารย์หมอผู้เก่งกาจ-ลูกศิษย์อัจฉริยะ
๑๖:๒๖ รับส่วนลด 20% เมื่อจองเที่ยวบินทั่วโลก ผ่านบัตร Krungsri Boarding Card ที่ Trip.com
๑๖:๒๙ ลาซาด้าเผยผู้ขายไทย 7 ใน 10 ราย ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมในการใช้ AI ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
๑๕:๐๑ สวารอฟสกี้ สาดประกายรับซัมเมอร์ ด้วยแคมเปญ Spring-Summer 2025 ร่วมกับ อารีอานา กรานเด
๑๕:๕๕ เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง แมกซ์ โซลูชัน ส่ง กรมธรรม์ประกันภัยสุขใจสงกรานต์ (ไมโครอินชัวรันส์) เติมความสุขและความอุ่นใจแก่สมาชิก Max
๑๕:๑๙ I2 สุดปัง! คว้างาน ซีเกมส์-อาเซียนพาราเกมส์ มูลค่า 20 ลบ. ดัน Backlog แตะ 829 ลบ. หนุนผลงานปี 68 โตต่อเนื่อง
๑๕:๒๑ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ชูทำเลศักยภาพโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก เปิดตัวโครงการใหม่ แลนซีโอ เพรสทีจ บางนา-ศรีวารี มูลค่า 1,000
๑๕:๔๖ สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ เร่งจัดทำฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทย ขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาไทยสู่เวที UNESCO
๑๔:๐๐ คปภ. ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมส่งเสริมวันครอบครัว และการดูแลผู้สูงอายุ ร่วมรณรงค์ความปลอดภัยและการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมออก 2