สถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ดเผยเทรนด์การท่องเที่ยวปี 2024 หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลับมาครอง 10 อันดับจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มาแรงของโลก

ศุกร์ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ๑๐:๒๐
ญี่ปุ่นขึ้นแท่นจุดหมายปลายทางยอดนิยม ทำลายสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดกว่า 3 ล้านคน ในเดือนมีนาคมจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาที่ 80% ของปี 2019 ขณะเดียวกันพบว่าจำนวนของนักท่องเที่ยวชาวอินเดียก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ใช้เวลาในการพักผ่อนนานขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากกว่าการใช้จ่ายซื้อสินค้าภาคการท่องเที่ยวทั่วโลกกำลังฟื้นตัวต่ออย่างเนื่องในปี 2567 เห็นได้จากการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ยังคงแข็งแกร่งและการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเมื่อไม่นานมานี้ มาสเตอร์การ์ดได้เผยแพร่รายงานประจำปี ฉบับที่ 5 หัวข้อ "Travel Trends 2024: Breaking Boundaries" ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด จากสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ด (Mastercard Economics Institute: MEI) ที่เผยให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึกที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน 74 ประเทศทั่วโลก รวมถึง 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
สถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ดเผยเทรนด์การท่องเที่ยวปี 2024 หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลับมาครอง 10 อันดับจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มาแรงของโลก

แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจะมีความผันผวนและระดับความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีความแตกต่างกัน กลับพบว่าการท่องเที่ยวทั่วโลกกำลังค่อย ๆ เติบโตขึ้น โดยรายงาน MEI ระบุว่า จากข้อมูลการใช้จ่ายถึงไตรมาสแรกของปี 2567 อุตสาหกรรมเรือสำราญและสายการบินครองสถิติยอดการใช้จ่ายสูงสุดถึง 9 วันเมื่อเทียบจากจำนวนวันที่มียอดใช้จ่ายสูงสุด 10 วันล่าสุด ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวที่จะยังคงเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่มีความหมายและมีการจัดสรรงบประมาณที่มากขึ้นสำหรับการเดินทาง

รายงาน MEI มีการอ้างอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกรรมของมาสเตอร์การ์ดที่ถูกรวบรวมโดยไม่ระบุชื่อ รวมถึงการรวบรวมจาก Mastercard SpendingPulse(TM) และแหล่งข้อมูลบุคคลที่สาม โดยรายงานฉบับนี้ ได้เจาะลึกไปถึงแนวโน้มการท่องเที่ยวที่สำคัญในปี 2567 และแนวโน้มในอนาคต โดยมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่โดดเด่น ดังนี้:

จุดหมายปลายทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากครึ่งหนึ่งของจุดหมายปลายทางยอดนิยม 10 อันดับแรกอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตอกย้ำให้เห็นถึงความนิยมในหมู่นักเดินทาง การวัดผลและจัดอันดับดังกล่าวอ้างอิงจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งธุรกรรมการท่องเที่ยวในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2567

  • ญี่ปุ่นขึ้นแท่นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวอันดับ 1 ของโลก (อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 0.9% เทียบกับ ไอร์แลนด์ที่ 0.4%) ประเทศญี่ปุ่นได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ถึง 3,081,600 คนในเดือนมีนาคม 2567 นับเป็นสถิติสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา แม้กระทั่งในช่วงก่อนไฮซีซั่นจะเริ่มต้นขึ้นก็ตาม ด้วยแรงหนุนจากค่าเงินเยนที่อ่อนตัว (ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2533) โดยคาดว่าอัตราการแลกเปลี่ยนที่ดีของญี่ปุ่นนี้ จะช่วยให้ญี่ปุ่นยังคงเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวตลอดปี 2567 ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจของญี่ปุ่นที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในท้องถิ่นโดยรวม
  • การเดินทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะการเดินทางภายในภูมิภาคไปยังประเทศใกล้เคียง ตัวอย่างเช่น จุดหมายปลายทางยอดนิยมในช่วงฤดูร้อนนี้สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ และเพิร์ธ
  • การท่องเที่ยวของไทยจะฟื้นตัวเต็มที่ในปี 2567 จากข้อมูลของสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ด (MEI) พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนทั้งหมดขณะนี้ต่ำกว่าปี 2562 เพียง 7% ซึ่งเป็นระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-193 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณเที่ยวบินขาเข้าจากเอเชียใต้และภูมิภาคอาเซียนนั้นสูงกว่าช่วงปี 2562 เกือบ 20%

นายเดวิด แมนน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า "ลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความต้องการและเต็มใจที่จะออกเดินทางท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าเขาจะได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่าและดีที่สุดจากการเดินทาง สำหรับหน่วยงานการท่องเที่ยว ร้านค้า รวมถึงภาคบริการ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งที่สำคัญคือต้นทุน ในเศรษฐกิจปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอำนาจการใช้จ่ายมีบทบาทสำคัญในการประกอบการตัดใจของนักเดินทางในการวางแผนการเดินทาง ซึ่งหมายความว่าธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติจำเป็นที่จะต้องประเมินกลยุทธ์ของตนใหม่และปรับกลยุทธ์เพื่อดึงดูดนักเดินทาง

สถานที่ยอดฮิตสำหรับซัมเมอร์ (มิถุนายน-สิงหาคม 25674)

ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะครองตำแหน่งประเทศจุดหมายปลายทางยอดนิยมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา5 แต่คาดว่ามิวนิกจะขึ้นแท่นอันดับ 1 สำหรับการเป็นจุดหมายปลายทางประจำภาคฤดูร้อน (อ้างอิงจากการจองเที่ยวบิน) เนื่องจากมิวนิกได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปประจำปี 2567 ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน โดยโตเกียวก็ตีคู่กันมาติด ๆ ในขณะที่บาลี (อันดับที่ 6) และกรุงเทพฯ (อันดับที่ 7) ก็ติดอันดับหนึ่งใน 10 เมืองยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางไปเที่ยวเพิ่มขึ้นในอีกสามเดือนข้างหน้า

การท่องเที่ยวภายในประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่ฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่การเดินทางขาออกยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

กระแสการท่องเที่ยวของประเทศจีนเปลี่ยนไปเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมากต่างให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวภายในประเทศมากกว่าการท่องเที่ยวต่างประเทศ

  • สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่เป็นไปในทางบวก เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารทางอากาศได้กลับสู่ระดับปกติอย่างสมบูรณ์ และสูงกว่าปี 2562 ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจในท้องถิ่น
  • ในขณะเดียวกัน จำนวนการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เดินทางออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ก็กำลังฟื้นตัว และปัจจุบันปริมาณนักท่องเที่ยวขาออกอยู่ที่ 80.3% ของปี 2562
  • และคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นในปี 2567 เนื่องจากการสนับสนุนจากการยกเว้นวีซ่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อจุดหมายปลายทางต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย

จำนวนนักท่องเที่ยวชาวอินเดียพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

จากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลาง เส้นทางการบินที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวที่สูงขึ้น ปี 2567 ถือเป็นปีที่นักท่องเที่ยวชาวอินเดียเดินทางไปต่างประเทศมากกว่าปีใด ๆ ในประวัติศาสตร์

  • ใน 3 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้โดยสารทั้งหมด 97 ล้านคน เดินทางผ่านสนามบินในอินเดีย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ เมื่อ 10 ปีก่อน ต้องใช้ช่วงเวลาถึงหนึ่งปีเต็มถึงจะแตะตัวเลขเดียวกับจำนวนผู้โดยสารในปัจจุบัน
  • การเดินทางของผู้โดยสารภายในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 21% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 ในขณะที่การเดินทางข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้น 4% ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567
  • เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2562 และปี 2567 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวอินเดียที่เดินทางไปยังประเทศยอดนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำนวนผู้เดินทางไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 53% ไปเวียดนามเพิ่มขึ้น 248% และไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 59% (สังเกตได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่มายังสหรัฐอเมริกายังคงต่ำกว่าปี 2562 ถึง 7% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า)

ระยะเวลาท่องเที่ยวที่นานยิ่งขึ้น

  • ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ปี 2567 นักท่องเที่ยวขยายระยะเวลาท่องเที่ยวของพวกเขาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอีก 1.2 วัน โดยระยะเวลาท่องเที่ยวทั้งหมดเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4 วันต่อการเดินทาง โดยมีแรงกระตุ้นมาจากค่าใช้จ่ายในประเทศจุดหมายปลายทางนั้นเอื้ออำนวยมากขึ้น อากาศที่อบอุ่น รวมไปถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าพึงพอใจ สถิติดังกล่าวเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในปี 2562 ที่มีระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 6.1 วันต่อการเดินทาง
  • ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นักท่องเที่ยวต่างชาติพักอาศัยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.4 วัน เพิ่มขึ้น 0.6 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562
  • ประเทศปลายทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่นักท่องเที่ยวนิยมขยายระยะเวลาพักอาศัยมากที่สุดระหว่างปี 2562 - 2567 คือ อินเดีย (+2 วัน) เวียดนาม (+2 วัน) อินโดนีเซีย (+1.9 วัน) และญี่ปุ่น (+1.4 วัน) โดยสาเหตุหลักมาจากตัวเลขการเติบโตของราคาที่พักในประเทศดังกล่าวสูงขึ้นน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ
  • การพักอาศัยที่ยาวขึ้นส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยต่อทริปเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้น ๆ

ผู้ที่ชื่นชอบความตื่นเต้นยังคงต้องการประสบการณ์ที่หลากหลายและความบันเทิงในยามค่ำคืน

ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากกว่าสินค้า ซึ่งเทรนด์นี้ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในภาคการท่องเที่ยว โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้อประสบการณ์และความบันเทิงในยามค่ำคืนคิดเป็น 12% ของยอดขายการท่องเที่ยว ถือเป็นจุดสูงสุดในรอบอย่างน้อยห้าปี ในขณะเดียวกันการค้าปลีกมีอัตราการฟื้นตัวที่ช้าลง

  • นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียเป็นนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายด้านประสบการณ์และความบันเทิงยามค่ำคืนมากที่สุดในโลก
  • ในปี 2567 ชาวออสเตรเลียมีการใช้จ่ายหนึ่งในห้าดอลลาร์ (19%) กับกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (12%) เป็นอย่างมาก
  • นักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ต่างแสวงหาประสบการณ์มากขึ้นเช่นกัน โดยมีการใช้จ่าย 10% ในหมวดนี้ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 7% ในปี 2566

ความเรียบง่ายสำคัญมากกว่าความหรูหราในเรื่องของแฟชั่นและอาหาร

ถึงแม้นักท่องเที่ยวในปัจจุบันชื่นชอบบรรยากาศสบาย ๆ แต่ก็ยอมที่จะใช้จ่ายไปกับร้านค้าหรูและการรับประทานอาหารแบบ fine dining หากสิ่งที่ได้รับคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

  • ยอดขายแฟชั่นสุดหรูมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2567 ประเทศญี่ปุ่นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (152%) เช่นเดียวกับการเติบโตในฮ่องกง (208%) ถึงแม้ว่าแฟชั่นชุดลำลองจะยังคงเป็นผู้นำในเกือบทุกที่ก็ตาม
  • สาเหตุที่การเติบโตในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปิดประเทศที่ล่าช้าในปี 2566 ในขณะที่การเติบโตของประเทศญี่ปุ่นเกิดจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินเยนและการท่องเที่ยวขาเข้าที่แข็งแกร่ง
  • ปัจจุบันร้านอาหารแบบไฟน์ไดนิ่ง (Fine dining) ในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และไทย เติบโตขึ้นอย่างมาก ทำให้การรับประทานอาหารแบบพรีเมียมได้รับความนิยมมากกว่าการรับประทานอาหารแบบทั่วไป ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่ยังคงเป็นที่นิยมอยู่

นายแมนน์กล่าวเสริมว่า "ท่ามกลางภูมิทัศน์การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปและการเดินทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2567 ทางสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ด (MEI) ยังได้ช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้กำหนดนโยบายในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในระดับประเทศ ประเภท และบริษัท นอกเหนือจากการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นไปได้และผลกระทบที่เจอ"

ที่มา: วีโร่ พับลิค รีเลชั่นส์

สถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ดเผยเทรนด์การท่องเที่ยวปี 2024 หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลับมาครอง 10 อันดับจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มาแรงของโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ