เสวนาประเด็นจริยธรรม AI สร้างความตระหนักรู้ความสำคัญ จริยธรรม และการกำกับดูแล เพื่อมนุษย์อยู่ร่วมกับ AI

พุธ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ๑๕:๑๓
ศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูล และอัลกอริธึ่มประเทศไทย 2567 AI : Ethics Exhibition Thailand 2024 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2567 ณ TK Park ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ นำเสนอมุมมองทางจริยศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์อย่างรอบด้าน เพื่อการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างกลมกลืนกับบริบทในชีวิตยุคปัจจุบัน ในงานมีการเสวนาโดยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหลากสาขาวิชาชีพ การอภิปราย workshop และงานแสดงศิลปะแบบมีส่วนร่วม
เสวนาประเด็นจริยธรรม AI สร้างความตระหนักรู้ความสำคัญ จริยธรรม และการกำกับดูแล เพื่อมนุษย์อยู่ร่วมกับ AI

ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ประธานเปิดงานเสวนาครั้งนี้ กล่าวว่า แนวคิดปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มีมานานแล้ว โดยอลัน ทัวริ่ง (Alan Turing) นักคอมพิวเตอร์เสนอเกณฑ์ในการตรวจสอบว่า AI ไหนเป็น AI ขั้นสูงจริง จะต้องให้คนมาคุย ถ้าคุยแล้วคนไม่รู้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ แต่ทุกวันนี้ยังไม่มี AI ชนิดใดทำได้ ปัจจุบันการพัฒนา AI ไม่ได้มีการปิดกั้นการพัฒนา เงื่อนไขสำคัญของการมีตัวตนและมีความคิดคือการมีจิตรู้สำนึก (Consciousness) ซึ่งเป็นสิ่งซับซ้อนและยากที่คอมพิวเตอร์จะสามารถเลียนแบบมนุษย์ การที่จะให้ AI มีจิตสำนึกแบบมนุษย์ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะเป็นได้ ต้องมีพัฒนาการ ต้องอยู่ในชุมชนมนุษย์ ต้องผ่านวิวัฒนาการทางภาษาและประสบการณ์ ในขณะที่มนุษย์ย่อมกลัวการที่ตัวเองจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งไม่มีชีวิต กลัวการไม่มีที่อยู่ กลัวการสูญพันธุ์ การที่มนุษย์กลัว AI ก็เพราะความไม่รู้ว่า AI จะเป็นอย่างไร กลัวหุ่นยนต์ครองโลกเหมือนในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดหลายๆ เรื่อง ประเด็นทางจริยธรรมของ AI จึงเป็นเรื่องสำคัญ เรามิอาจคาดเดาได้ว่าการเทรน AI ขึ้นมาจะได้ AI ที่ดีหรือไม่

ศ.ดร.โสรัจจ์ ย้ำว่าการมีกลไกทางจริยธรรมเป็นข้อกำหนดแนวทางให้นักพัฒนาและผู้ใช้ AI ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา AI เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นความท้าทายของยุคสมัย เพื่อให้การอยู่ร่วมกันระหว่าง AI กับมนุษย์มีความเป็นปกติ มี "จิตรู้สำนึก" ที่สามารถทำให้มนุษย์และ AI อยู่ร่วมกันได้ในบริบทของโลกที่กำลังพัฒนาไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง งานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนไม่เฉพาะคนในวงการเทคโนโลยี แต่ทุกคนในสังคมที่จะต้องอยู่ร่วมกับ AI จะได้เกิดความเข้าใจและสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี สามารถใช้ AI เป็นเครื่องมือในการศึกษา การทำงาน การพัฒนาเศรษฐกิจและดำรงอยู่ในสังคมได้

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://linktr.ee/eoada101?utm_source=qr_code

หรือสแกน QR Code ที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

ที่มา: ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสวนาประเด็นจริยธรรม AI สร้างความตระหนักรู้ความสำคัญ จริยธรรม และการกำกับดูแล เพื่อมนุษย์อยู่ร่วมกับ AI

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๖ ก.ย. บริษัท เอดด้า บูนาเดอร์ จำกัด ร่วมกับ โรงพยาบาลลานนา ตรวจสุขภาพพนักงาน สิทธิประกันสังคม ประจำปี 2567
๐๖ ก.ย. ดั๊บเบิ้ล เอ รับข่าวดีทริสเรตติ้งปรับเพิ่มแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น บวก พร้อมเผยผลกำไร Q2'67 พุ่ง 23%
๐๖ ก.ย. เจมาร์ท โมบาย จับมือ Viu (วิว) เอาใจลูกค้ามอบสิทธิ์ดูซีรีส์ ฟรี! แบบจุใจ ผ่านแพ็กเกจ Viu Premium
๐๖ ก.ย. CPW ฉลองเปิดร้าน dotlife เซ็นทรัลพิษณุโลกโฉมใหม่ พร้อมให้ช้อปแล้ววันนี้
๐๖ ก.ย. CHAYO ร่วมสนับสนุนช่วยเหลือคนพิการยากไร้ และสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงห้องเยี่ยมญาติเรือนจำธัญบุรี
๐๖ ก.ย. NPS ร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกิจกรรมรักษ์ป่าเขาหินซ้อนตามแนวพระราชดำริ
๐๖ ก.ย. ค่านิยมองค์กรสู่เอกลักษณ์ที่โดดเด่น มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ
๐๖ ก.ย. BC ลั่น Q2/67 พลิกกลับมาเทิร์นอะราวด์ทำกำไร EBITDA โตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติด ลุ้นขายโครงการใหม่หนุนปีนี้พลิกทำกำไร เปิดตัวโครงการใหม่ ลุยแผน ICO ยื่นไฟลิ่งเร็วๆ
๐๖ ก.ย. ซัมซุง นำเสนอโซลูชั่น SmartThings Pro และ AirCare Solution มุ่งยกระดับการบริหารจัดการอาคารและที่พักอาศัยด้วยเทคโนโลยี IoT
๐๖ ก.ย. FTI ปันน้ำใจบรรเทาภัยน้ำท่วม บริจาคถุงยังชีพ ผู้ประสบภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา