นักศึกษาสาขาบรอดคาสติงฯ มบส.เตรียมจัดละครเวทีเดี่ยว ถ่ายทอดความรู้และบำบัดผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า"

ศุกร์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ๐๘:๑๘
ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(มบส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบปัญหาทางด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าซึ่งกำลังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่กรมสุขภาพจิตได้เปิดข้อมูลสถิติของศูนย์โรคซึมเศร้า ระบุว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ซึ่งในจำนวนผู้ป่วย 100 คน สามารถเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น และยังทำให้คนไทยกว่า 70% เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาบรอดคาสติงและสื่อสตรีมมิง คณะวิทยาการจัดการ มบส. ที่เรียนสาขานี้และต้องทำผลงานโครงการพิเศษ (Special project )เสนอ ก่อนจบการศึกษา ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจะนำเรื่องนี้มาจัดแสดงเป็นละครเวที เพื่อสื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้ผู้ชมได้เข้าใจและบำบัดรักษาต่อไป
นักศึกษาสาขาบรอดคาสติงฯ มบส.เตรียมจัดละครเวทีเดี่ยว ถ่ายทอดความรู้และบำบัดผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

ด้านอาจารย์มนัสวี พัวตระกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรอดคาสติงและสื่อสตรีมมิง คณะวิทยาการจัดการ มบส. ในฐานะที่ปรึกษาและผู้ประพันธ์บทละครเรื่อง The different shades of blue กล่าวว่า นักศึกษาจะนำผลงานโครงการพิเศษมาจัดแสดงในรูปแบบละครเวทีเดี่ยว( solo performance )เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกจากประสบการณ์ของนักศึกษาและยังได้เชิญศ. คลินิก ดร. พญ. สุนันทา ฉันทกาญจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชมาให้ความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า รวมถึงการเพิ่มกำลังใจในการใช้ชีวิตให้แก่ผู้ป่วยด้วย ทั้งนี้โครงการพิเศษยังเป็นการฝึกนักศึกษาให้ประยุกต์ทักษะการผลิตสื่อที่ได้รับจากการเรียนวิชาเรียนตลอด 3 ปี มาใช้ในการผลิตการแสดง อีกทั้งเป็นช่องทางหนึ่งในการนำละครมาช่วยในการสื่อสารและการบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าให้ผู้เข้าชมได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อผู้ชมจะได้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญจะได้รับประโยชน์จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์โดยตรงด้วย

"ละครเวทีเดี่ยวในครั้งนี้มีชื่อเรื่องว่า The different shades of blue นำแสดงและกำกับการแสดงโดยนางสาวเพชรรัตน์ เตชรัตนเสถียร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาบรอดคาสติงและสื่อสตรีมมิง คณะวิทยาการจัดการ มบส. ส่วนเนื้อหาการแสดงจะเป็นเรื่องเล่าของชีวิตผู้ป่วยซึมเศร้าผ่านผู้แสดง เริ่มตั้งแต่มีอาการแต่ผู้ป่วยไม่รู้ว่าป่วยจนไปสู่การยอมรับตัวเองจากโรคซึมเศร้า จนเข้าสู่กระบวนการในการรักษา และกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งจะเปรียบเหมือนเหรียญที่มีสองด้าน ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน ไม่ได้มีวันที่เลวร้ายและดีเสมอไป อย่างไรก็ตามในวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมาข้อเสนอโครงการนี้และการออกแบบวางแผนในการทำงานได้ผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว จากนี้จะเป็นช่วงเตรียมการก่อนที่จะมีการจัดแสดงช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567" อาจารย์มนัสวี กล่าว

ที่มา: เอยู คอมมิวนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version