EMC ผนึกยักษ์ใหญ่วงการก่อสร้าง 1 ใน 4 ของจีน เสริมแกร่งชิงเค้กงานเมกะโปรเจ็ค กว่า 5 หมื่นล้านบาท

ศุกร์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ๑๐:๑๗
บมจ.อีเอ็มซี (EMC) ลงนามความร่วมมือบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ ในเครือรัฐวิสาหกิจจีน "ไชน่า โรด แอนด์ บริดจ์ คอร์ปอเรชั่น" เสริมทัพรับงานเมกะโปรเจ็คทั้งภาครัฐและเอกชน เล็งชิงเค้กงานสนามบินและโรงพยาบาลกว่า 5 หมื่นล้านบาท ตามแผนตั้ง EMCX เป็น Holding พร้อมเดินหน้าสู่ธุรกิจ New S-Curve
EMC ผนึกยักษ์ใหญ่วงการก่อสร้าง 1 ใน 4 ของจีน เสริมแกร่งชิงเค้กงานเมกะโปรเจ็ค กว่า 5 หมื่นล้านบาท

ดร.ชาลี จังวิจิตรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) หรือ EMC เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ โกลเด้น บริดจ์ คอนสตรัคชั่น (Golden Bridge Construction) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ  China Road and Bridge Corporation (CRBC)  รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 1 ใน 4 แห่งแรกที่ก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งรูปแบบการก่อสร้าง การลงทุน และการร่วมทุนกับรัฐบาล โดยมีสาขากว่า 60 แห่งทั่วโลก ทั้งในเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกา ซึ่งจะเข้ามาเสริมศักยภาพความแข็งแกร่งและความพร้อมให้กับธุรกิจการก่อสร้างของ EMC  ได้เป็นอย่างดี

จากความชำนาญทางด้านงานระบบเครื่องกล ไฟฟ้าและประปา (Mechanical, Electrical, and Plumbing) ของ EMC มาอย่างยาวนาน เมื่อมาผนวกกับความแข็งแกร่งและประสบการณ์ของ CRBC ที่มีความชำนาญด้านงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ อาทิ โครงการสะพาน ท่าเรือ ทางรถไฟ สนามบิน อุโมงค์ ซึ่งเมื่อทั้งสองบริษัทได้มีความร่วมมือกัน จะยกระดับศักยภาพธุรกิจให้มีความพร้อมในการรับงานระดับประเทศได้

"การร่วมมือกันในครั้งนี้ ทำให้ EMC มีโอกาสในการรับงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐที่จะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน, โครงการรถไฟฟ้า, รถไฟทางคู่มอเตอร์เวย์, โครงข่ายคมนาคมขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ รวมถึงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาคเอกชน เช่น กลุ่มอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง" ดร.ชาลี กล่าว

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของทางภาครัฐที่จะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 3 มูลค่า 36,000 ล้านบาท โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออกของอาคารผู้โดยสาร (East Expansion) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่า 9,000 ล้านบาท ของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) จากงบลงทุน 2.6 แสนล้านบาทเพื่อพัฒนา 6 ท่าอากาศยานในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมถึงงานโครงการขนาดใหญ่ของเอกชน เช่น งานก่อสร้างโรงพยาบาลต่างๆ  ของกลุ่มโรงพยาบาลบางปะกอก, กลุ่มโรงพยาบาลสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกลุ่มโรงพยาบาล วิภาราม-สินแพทย์ มูลค่างานรวมกว่า 8,700 ล้านบาท

ดร.ชาลี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจของ EMC ที่จะมีการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง (EMCX) ในครั้งนี้ จะสามารถสร้างธุรกิจ New S-Curve ได้ อาทิ ธุรกิจเทคโนโลยีและไอที, ธุรกิจยูทิลิตี้ และธุรกิจ Oil & Gas เพื่อสร้างโอกาสและการเติบโตให้กับ EMC ในอนาคต   บริษัทจะเตรียมความพร้อมทางด้านการเงิน โดยมีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering : RO) ในอัตรา 1 หุ้นสามัญ ต่อ 1 สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยผู้ถือหุ้นที่เพิ่มทุนจะได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) โดยไม่คิดมูลค่าในอัตรา 2 ต่อ 1  ทั้งนี้บริษัทได้เปิดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม จนถึง 7 มิถุนายน 2567

ที่มา: อีเอ็มซี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ