นายสุวัฒน์ ปุณณชัยยะ (ลำดับที่ 6 จากทางซ้ายมือ) กรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ITEL ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศไทย ร่วมลงนามในโครงการ AseanConnect.One กับพันธมิตรบริษัทโทรคมนาคมและผู้ให้บริการศูนย์สำรองข้อมูลชั้นนำจาก 7 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อยกระดับโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศในอาเซียน พร้อมรับมือการขยายตัวทางธุรกิจ เสริมความแข็งแกร่งในตลาดและเพิ่มความได้เปรียบให้กับลูกค้า ในก้าวย่างทางยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายเพื่อให้บริการสื่อสารความเร็วสูงแบบครบวงจรที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นเอกภาพในกลุ่มความร่วมมือและบริการที่ไร้รอยต่อ ช่วยให้ลดระยะเวลาในการติดตั้งให้บริการได้อย่างรวดเร็วกว่าที่เคยมีมา และการซ่อมบำรุงระบบแบบองค์รวม รองรับให้ลูกค้าทั้งบริษัทโทรคมนาคมและผู้ให้บริการ OTTs ในอาเซียนสามารถเข้าใช้บริการ AseanConnect.One ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
บริษัทที่อยู่ในความร่วมมือครั้งสำคัญนี้ ได้แก่
- บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) (ไทย)
- บริษัท เอพีที แซทเทิลไลท์ จำกัด (ฮ่องกง)
- บริษัท เอฟพีที อินเตอร์เนชั่นแนล เทเลคอม จำกัด (เวียดนาม)
- บริษัท นีโอคอม ไอเอสพี จำกัด (กัมพูชา)
- บริษัท เอ็นทีซี เอเชีย จำกัด (ฮ่องกง)
- บริษัท ซีแอ็ค โกลบอล พีทีอี จำกัด (มาเลเซียและสิงคโปร์)
- บริษัท เทเลคอมมูนิคาซิ อินโดนิเซีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (อินโดนีเซีย)
โดยบริษัทชั้นนำข้างต้น เป็นบริษัทโทรคมนาคมและผู้ให้บริการศูนย์สำรองข้อมูลที่จดทะเบียนในประเทศของตนเอง มีใบอนุญาตให้บริการการสื่อสารข้อมูลซึ่งครอบคลุมบริการการสื่อสารผ่านสายเคเบิลในประเทศ บริการการสื่อสารผ่านสายเคเบิลระหว่างประเทศ และบริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม รวมถึงบริการศูนย์สำรองข้อมูลภายในภูมิภาคของบริษัท บริษัทชั้นนำทั้ง 7 นี้ตกลงทำงานร่วมกัน เพื่อเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม และศูนย์สำรองข้อมูลในภูมิภาคอาเซียนโดยการรวมตัวกันภายใต้โครงการ AseanConnect.One ความร่วมมือนี้จะผนึกบริการสื่อสารโทรคมนาคมและบริการศูนย์สำรองข้อมูลทั้ง 7 ประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว ทำให้มั่นใจได้ว่าบริการมีความเสถียรเชื่อถือได้ ส่งมอบให้บริการได้อย่างรวดเร็วกว่าที่เคยมีมา และบริการมีความยืดหยุ่นพร้อมประสิทธิภาพสูงสุด
ด้วยข้อได้เปรียบข้างต้นนี้ ผู้ให้บริการคอนเทนต์ผ่านอินเทอร์เน็ต (OTTs) สามารถส่งมอบคอนเทนต์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แน่ใจในการสตรีมคอนเทนต์อย่างราบรื่นสำหรับผู้ใช้งานในภูมิภาค ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์นี้ไม่เพียงเพิ่มการเข้าถึงบริการและเพิ่มคุณภาพของบริการ OTT แต่ยังเป็นการบุกเบิกโซลูชั่นการมอบคอนเทนต์ใหม่ๆ ขับเคลื่อนการมีปฏิสัมพันธ์ของลูกค้าต่อคอนเทนต์และการเติบโตในภูมิทัศน์ธุรกิจดิจิทัลที่สดใสในอาเซียน
"โครงการ AseanConnect.One แสดงถึงช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาบริการการสื่อสารโทรคมนาคมและศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคของเรา" ตัวแทนจาก AseanConnect.One กล่าว "ด้วยการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่สมาชิกในกลุ่มความร่วมมือมีร่วมกัน เรามั่นใจว่าจะสร้างมูลค่าและสิ่งใหม่ๆที่ไม่มีใครเทียบให้กับลูกค้า ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในด้านดิจิทัลและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการให้บริการแบบวันสต็อปเซอร์วิส พร้อมข้อเสนอมาตรฐานการให้บริการ (SLA) ที่ดีเยี่ยมด้วยระบบการสื่อสารไร้พรมแดนที่รองรับโดยเครือข่ายสายเคเบิลบนพื้นดิน ใต้น้ำและดาวเทียมจำนวนมาก สร้างการประสานกันอย่างราบรื่น ส่งมอบบริการได้อย่างรวดเร็ว" ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเริ่มยุคใหม่ของโซลูชันด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และศูนย์สำรองข้อมูล และผู้ให้บริการ OTT ในภูมิภาคอาเซียน
ที่มา: แอลทีเอ็มเอช