ม.มหิดล - QUT ออสเตรเลีย ร่วมวิจัยพัฒนากระบวนการวางแผนดูแลสุขภาพตัวเองล่วงหน้า (ACP) เชิงนโยบาย

พฤหัส ๐๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ ๑๑:๓๗
เมื่อปี พ.ศ. 2545 องค์การอนามัยโลก (WHO - World Health Organization) ได้ให้คำนิยาม "การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง" (Palliative Care) ว่า เป็นการดูแลรักษาอาการที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณแบบเผชิญหน้า โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วย และครอบครัว ตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย ไปจนกระทั่งเสียชีวิต รวมถึงการดูแลครอบครัวของผู้ป่วยหลังการสูญเสีย
ม.มหิดล - QUT ออสเตรเลีย ร่วมวิจัยพัฒนากระบวนการวางแผนดูแลสุขภาพตัวเองล่วงหน้า (ACP) เชิงนโยบาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์ อาจารย์ประจำโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงการจัดอันดับโลกการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง - ดัชนีการจากไปอย่างมีคุณค่า ปี พ.ศ. 2558 หรือเมื่อเกือบทศวรรษก่อน (The 2015 Quality of Death Index : Ranking palliative care across the world) โดย The Economist Intelligent Unit ซึ่งมีสำนักงาน 4 แห่งทั่วโลก ภายใต้ LIEN Foundation ว่าประเทศไทยมีการตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวเพียงปานกลาง

โดยประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 44 ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของทั้งหมด 80 อันดับทั่วโลก ในขณะที่มีถึง 2 ประเทศในทวีปโอเชียเนีย ซึ่งได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย และราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ ติด 2 ใน 3 อันดับแรก

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านสุขภาวะของไทย ได้มีโครงการวิจัยร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ (QUT - Queensland University of Technology) เครือรัฐออสเตรเลีย ผ่านความร่วมมือจาก โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งได้มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) สอดแทรกในวิชาการพยาบาลสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย และทุกระดับการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์ มองว่าการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพทางด้านการสาธารณสุขของประเทศ

โดยเป้าหมายโครงการวิจัยร่วมดังกล่าวมุ่งศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาสู่ระดับนโยบาย ซึ่งนับเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง เพื่อร่วมออกแบบ และพัฒนากระบวนการวางแผนดูแลสุขภาพตัวเองล่วงหน้า (ACP - Advance Care Planning) กับมหาวิทยาลัยในประเทศที่มีการตื่นตัวและพัฒนาสูงในด้านดังกล่าว ภายใต้โจทย์ 4 ด้าน คือ ความรู้ความเข้าใจ (Awareness) ทัศนคติ (Attitudes) ประสบการณ์ (Experiences) และความคาดหวัง (Expectation)

ซึ่งการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงวัย แต่เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่มีความเสี่ยง โดยปัจจุบันพบว่า โรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) นับเป็นอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิต ซึ่งการวางแผนการดูแลสุขภาพตัวเองล่วงหน้า (ACP) สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนโรคจะเกิดรุนแรงถึงระยะท้าย ซึ่งอาจสายเกินไปที่จะสามารถตัดสินใจเตรียมการดูแลด้วยตัวเอง

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ