ขณะเดียวกันได้มีมาตรการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายของเชื้อโรคและการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคของนกพิราบ โดยประชาสัมพันธ์การป้องกันการติดเชื้อจากนกพิราบ ด้วยการเว้นระยะห่างและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับนกพิราบ หรือมูล หรือสิ่งคัดหลั่งของนกพิราบ หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีนกพิราบอาศัยอยู่จำนวนมาก สวมหน้ากาก หรืออุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีนกพิราบ กรณีสัมผัสนก หรือสิ่งคัดหลั่งของนกให้รีบล้างมือให้สะอาด ควบคู่กับการสร้างความรับผิดชอบทางสาธารณะผ่านการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาด การป้องกันการสัมผัสกับนกพิราบและอันตรายที่มาจากนกพิราบ
นอกจากนั้น ยังได้สร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นเตือนและปรับทัศนคติการป้องกันการให้อาหารนกพิราบ การจัดกิจกรรมเวชศาสตร์ป้องกันเชิงสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหานกพิราบในที่สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากนกพิราบที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพประชาชน ควบคู่กับมาตรการเฝ้าระวังโรคจากสัตว์ปีกในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่เฝ้าระวังโรคเชิงรุกและติดตามสถานการณ์ของโรคจากสัตว์ปีกที่ติดต่อมาสู่คนผ่านการดำเนินการร่วมกันระหว่าง สนอ. และสำนักงานเขต กรณีพบผู้ป่วยจากการสัมผัสสัตว์ปีกให้แจ้งสายด่วน สนอ. โทร. 0 2203 2872 หรือ สายด่วน กทม. 1555 ทันที
ที่มา: กรุงเทพมหานคร