ความร่วมมือครั้งนี้ อยู่ภายใต้โครงการ Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) หรือการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งเป็นการขึ้นทะเบียนเพื่อคำนวณค่าคาร์บอนเครดิตและประเมินความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน ซึ่งไทยวาเล็งเห็นว่าจะเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และสร้างความยั่งยืนให้กับภาคเกษตรและเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
รศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีกรีน เคยู จำกัด กล่าวว่า "VGREEN KU มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการสร้างองค์ความรู้ พัฒนามาตรฐาน และเครื่องมือในการตรวจสอบ ทวนสอบก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่น่าเชื่อถือ ภายใต้การลงนามบันทึกข้อตกลงกับไทยวาจะทำให้เราได้นำความเชี่ยวชาญมาช่วยสนับสนุนให้ไทยวาบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากธุรกิจไร่มันสำปะหลังได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขยายผลไปสู่ธุรกิจเกษตรอีกหลายรูปแบบในประเทศไทย เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างเรากับไทยวา จะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่จะช่วยผลักดันภาคเกษตรกรรมของไทย ให้ก้าวสู่การเป็นภาคเกษตรกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง"
นายโฮ เรน ฮวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ในฐานะบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารชั้นนำมีเป้าหมายระยะยาวคือ การพัฒนานวัตกรรมและความยั่งยืนจากฟาร์มสู่มือผู้บริโภค ไทยวาเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม การลงนามความร่วมมือกับ VGREEN KU ในครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเริ่มจากธุรกิจเครือข่ายไร่มันสำปะหลังของไทยวาที่มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 10,000 ไร่ในจังหวัดอุดรธานีและระยอง เรามีเป้าหมายชัดเจนในการลดคาร์บอนเครดิต ผ่านการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมโครงการ T-VER ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างต้นแบบและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ"
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไทยวา เข้าชมได้ที่ www.thaiwah.com และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VGREEN KU เข้าชมได้ที่ https://vgreenku.com/
ที่มา: Burson ประเทศไทย