'CPHI South East Asia 2024' โชว์แกร่งอุตสาหกรรมยาไทย ประกาศความพร้อมก้าวสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพของเอเชีย

พุธ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ ๑๑:๑๒
อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ จุดพลุสร้างสถิติใหม่สุดยิ่งใหญ่ "ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024" (CPHI South East Asia 2024) ผลักดันระบบสุขภาพและการแพทย์เพื่อยกระดับมาตรฐานไปสู่ "ฮับอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์" สร้างความมั่นคงทางการยาของประเทศไทยในระยะยาว ระดมบริษัทเครื่องมือแพทย์และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ชั้นนำกว่า 400 บริษัทจาก 50 ประเทศร่วมโชว์ศักยภาพ เปิดไฮไลต์โซนพาวิลเลี่ยนนานาชาติ ส่องเทรนด์นวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ จีน เกาหลี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา บราซิล สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย พร้อมพื้นที่เจรจาธุรกิจ อัปเดตความรู้ด้านวิชาการกว่า 60 หัวข้อ ตั้งเป้าผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 8,000 คนจากทั่วโลก เตรียมคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ตลอด 3 วัน ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2567 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
'CPHI South East Asia 2024' โชว์แกร่งอุตสาหกรรมยาไทย ประกาศความพร้อมก้าวสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพของเอเชีย

นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาเก็ตส์ และผู้จัดการทั่วไป - ฟิลิปปินส์ ในฐานะผู้จัดงาน ซีพีเอชไอ เซาธ์ อีสต์ เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี นวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมยาแห่งเอเชีย เปิดเผยว่า การจัดงาน "ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024" (CPHI South East Asia 2024) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี นวัตกรรมที่มีเป้าหมายสำคัญคือ การร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางการยาของประเทศไทย เพื่อช่วยขับเคลื่อนสุขภาพและเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่การเป็นเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมาตรฐานการผลิตยาที่ได้มาตรฐานในระดับสากล และพร้อมแข่งขันในการเป็นผู้ผลิตยาสู่ตลาดต่างประเทศ รวมทั้งจุดเด่นด้านบริการทางการแพทย์ที่มีข้อได้เปรียบเรื่องราคา การบริการที่ดี ตลอดจนคุณภาพของบุคลากร ส่งผลให้อุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยสามารถยกระดับการให้บริการที่ครบวงจร

โดยการก้าวสู่เมดิคัล ฮับของประเทศไทยต่อจากนี้ จำเป็นต้องอาศัยการส่งเสริมการลงทุนอย่างมีกลยุทธ์ ในส่วนยาชีวภาพยาชีววัตถุที่คล้ายคลึง (BioSimilar) เทคโนโลยีชีวภาพ และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ในจำนวนที่เพียงพอต่อการพัฒนาไปสู่เมดิคัล ฮับในอนาคต พร้อมกับให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง เครื่องมือผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ และ จอภาพสำหรับติดตามสัญญาณชีพ เป็นต้น ขณะที่ด้านการผลิตยานั้น ประเทศไทยมีความเป็นผู้นำในการผลิตยาสามัญทั่วไป แต่ยังมีศักยภาพมากพอในการพัฒนาไปสู่การผลิตยาที่มีความซับซ้อนสูง เช่น ยาชีวภาพ

สำหรับภาพรวมประเทศไทยในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 65% ของตลาดยาโดยรวม มูลค่าประมาณ 2.25 แสนล้านบาท และมีเพียง 35% เท่านั้นที่เป็นการผลิตยาในไทย ส่วนใหญ่แล้วเป็นอุตสาหกรรมยาสำเร็จรูปหรือขั้นปลายน้ำ หรือเป็นการผลิตยาสามัญ โดยเป็นการผลิตลอกเลียนสูตรยาต้นตำรับหรือยาต้นแบบจากต่างประเทศที่หมดสิทธิบัตรไปแล้ว ซึ่งการยกระดับมาตรฐาน และแสดงผลงานนวัตกรรมด้านเภสัชภัณฑ์ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในงาน "ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024" นับเป็นการสร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของภาคอุตสาหกรรมยาในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

"นวัตกรรมจาก 400 บริษัทฯ ที่เข้าร่วมโชว์ศักยภาพในงานได้แสดงให้ทุกคนที่เข้าร่วมงานเห็นถึงศักยภาพของผู้ผลิตยาไทยว่ามีความปลอดภัยสูง และ ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล โดยเชื่อมั่นว่างานซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024 จะเป็นคำตอบให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมยา ทั้งการเจรจาธุรกิจ พาวิลเลี่ยนนานาชาติ และสัมมนาหลักสูตรที่สร้างโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน โดยจะนำไปสู่การมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม" นางสาวรุ้งเพชร กล่าว

ภญ.ลลนา เสตสุบรรณ นายกสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน เปิดเผยว่า สมาคมฯ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการยกมาตรฐานของอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันในประเทศไทยให้เพียงพอแก่ความต้องการของประเทศ ซึ่งการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน "ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024" เป็นการให้สมาชิกได้มีโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งสามารถสร้างโอกาสในการขยายตลาดใหม่ ๆ จากนักลงทุนที่ให้ความสนใจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ภก.สุรชัย เรืองสุขศิลป์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ กล่าวว่า อุตสาหกรรมยาในไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาสูตรผลิตยาโมเลกุลใหม่ๆ ที่ให้ผลการรักษาดี มีความปลอดภัยสูง และกำลังจะหมดสิทธิบัตรลง เพื่อช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยสูงวัย ที่ปัจจุบันมีจำนวนเกิน 14% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และคาดการร์ว่าจะเพิ่มเป็น 28% ในอีก 6 ปีข้างหน้า ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ยาโรคเรื้อรังชนิดไม่ติดต่อ (Non communicable diseases - NCDs) เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง

ทั้งนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เป็นเมดิคัล ฮัล (Medical Hub) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต ซึ่งการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน "ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024" เป็นหนึ่งในการนำเสนอศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนายา โดยเตรียมนำผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดคือ Apixaban 2.5mg และ Apixaban 5 mg ที่เป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดในระบบไหลเวียน โดยเฉพาะที่หลอดเลือดสมอง โดยเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่สามารถผลิตยาชนิดนี้ขึ้นเองภายในประเทศ

ภญ.ปาริชาติ แคล้วปลอดทุกข์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ภาพรวมในประเทศไทยผลิตยาใช้เองค่อนข้างน้อย ในขณะที่ผู้ผลิตยาภายในประเทศมีการผลิตที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะการผลิตยาส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตหากอุตสาหกรรมยามีการด้านวางแผนด้านความมั่นคงทางการยาได้ดีจะส่งผลให้พึ่งพิงการนำเข้าลดลง และเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้นด้วยวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่ม Biopharmaceutical

สำหรับกิจกรรมไฮไลต์ที่จะเกิดขึ้นในงาน "ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024" งานเดียวที่มีครบทุกมิติของการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ประกอบด้วย พร้อมการจัดแสดงนวัตกรรมล่าสุดในการผลิตยาจากทั่วโลก และโอกาสในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบใหม่ ๆ การอัปเดตความรู้ภาคธุรกิจและวิชาการทางการแพทย์ โดยตลอดทั้ง 3 วันของการจัดงานจะได้พบกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ล่าสุด รวมถึงพื้นที่สำหรับการสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมอุตสาหกรรม งานนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ได้ว่า ยาไทยมีคุณภาพสูง และสามารถสร้างความมั่นคงทางการยาให้กับประเทศในระยะยาว

โดยผู้เข้าชมงานมีทั้งนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องจักร ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์เภสัชกรฝ่ายผลิต รวมถึงผู้ประกอบการยาไทยที่เตรียมแผนสร้างโอกาสทางธุรกิจ และขยายฐานลูกค้าใหม่ ทั้งในประเทศไทย และอีก 21 ประเทศทั่วโลก เช่น กัมพูชา จีน พม่า มาเลเซีย ลาว เวียดนาม ฮ่องกง เป็นต้น ซึ่งงานนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ได้ว่า ยาไทยมีคุณภาพสูง และสามารถสร้างความมั่นคงทางการยาให้กับประเทศในระยะยาว

นอกจากนี้ อีกไฮไลต์ที่สำคัญของงานก็คือ การจัดประชุมวิชาการเพื่อการเรียนรู้จากบริษัทเครื่องมือแพทย์และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ชั้นนำ รวมทั้งโอกาสในการพบผู้จัดแสดงมากกว่า 400 บริษัท จาก 50 ประเทศ รวมถึงพาวิลเลี่ยนนานาชาติ ซึ่งมีบริษัทชั้นนำจากประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ จีน เกาหลี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา บราซิล สิงคโปร์และอินโดนีเซียเข้าร่วมกันสร้างปรากฎการณ์ในปีนี้

ร่วมกันขับเคลื่อนไทยอุตสาหกรรมยาของไทย ในงาน "ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024" (CPHI South East Asia 2024) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านเภสัชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นในวันที่ 10 - 12 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมงาน ลงทะเบียนได้ที่ www.cphi.com/sea

ที่มา: เมคอะเว็ลท์ คอนซัลติ้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ