สำหรับกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ และมีเป้าหมายในการลงทุนระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าหลักทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ โดยกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นจะเน้นลงทุนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงและให้ผลตอบแทนที่มีความผันผวนต่ำ อาทิเช่น ตราสารหนี้ของรัฐบาล เงินฝาก/ตราสารหนี้ของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น ดังนั้นนักลงทุนที่ไม่สามารถรับความผันผวนของกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปได้ อาจพิจารณาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ โดยแนะนำ 3 กองทุน ประกอบด้วย
กองทุนเปิดกรุงไทย ธนทรัพย์ พลัส (KTPLUS) (ความเสี่ยงระดับ 4) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก หรือตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้อาจพิจารณาลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของ NAV เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะสั้นตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากและกองทุนตลาดเงิน
กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้นพลัส (KTSTPLUS) (ความเสี่ยงระดับ 4) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก และ/หรือตราสารทางการเงินซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) โดยเฉลี่ยอายุตราสารไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้อาจพิจารณาลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของ NAV โดยกองทุนมุ่งเน้นลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝากในระยะ 3 เดือน - 1 ปี ดังนั้นกองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น (KT-ST) (ความเสี่ยงระดับ 4) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก หรือตราสารอื่นๆ ที่มีคุณภาพ โดยเฉลี่ยอายุไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้อาจพิจารณาลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 40 ของ NAV
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn
ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ ความเสี่ยงจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง ความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
คำเตือน กองทุนมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน (ยกเว้น KT-ST มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน) ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ที่มา: บลจ.กรุงไทย