กรณีพบผู้สูงอายุติดเชื้อโควิด 19 มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ (1) แยกกักตัวที่ห้องกักตัว (2) แพทย์ประเมิน จ่ายยาตามอาการ และติดตามผลการตรวจร่างกายผ่านระบบโทรศัพท์และระบบ Telemedicine ทุกวัน (3) จัดทางเข้า - ออก และจำกัดการใช้พื้นที่โดยแยกส่วนการใช้งานกับพื้นที่ของผู้สูงอายุรายอื่นอย่างชัดเจน (4) จัดตั้งทีมดูแลผู้สูงอายุเฉพาะกิจแยกจากทีมที่ดูแลผู้สูงอายุปกติ โดยดูแลการจัดยา การส่งอาหาร การบันทึกผลการตรวจร่างกายจนครบกักตัว 10 วัน (5) พี่เลี้ยงที่ดูแลผู้สูงอายุเฝ้าสังเกตอาการผู้สูงอายุที่ติดเชื้อ โดยสวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตรวจวัดและบันทึกข้อมูลอุณหภูมิร่างกาย ความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจและระดับออกซิเจนในเลือดของผู้สูงอายุทุกราย เพื่อส่งข้อมูลให้โรงพยาบาลราชพิพัฒน์เป็นประจำทุกวัน (6) กรณีผู้สูงอายุมีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีขึ้น หรืออาจเกิดอันตรายต่อชีวิต จะประสานส่งต่อโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ (7) หลังจากผู้สูงอายุกักตัวและรักษาครบกำหนด 10 วัน จนครบทุกรายแล้ว จะทำความสะอาดพื้นที่ภายในบ้านผู้สูงอายุบางแค 2 โดยฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ส่วนกรณีผู้สูงอายุที่ตรวจไม่พบเชื้อ มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ เฝ้าสังเกตอาการผู้สูงอายุที่ยังไม่ติดเชื้อภายใน 3 - 5 วัน หากมีอาการจะตรวจหาเชื้ออีกครั้ง หากพบว่า ติดเชื้อ จะแยกกักตัวและส่งตัวเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมให้มากขึ้น และเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด
สำหรับในกลุ่มเด็กเล็ก สพส. ได้ประชุมทางไกลกับอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กประจำศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนโดยตรง เพื่อกำชับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 รวมทั้งแจ้งสำนักงานเขตเกี่ยวกับแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตลอดจนประชาสัมพันธ์และกำชับให้อาสาสมัครสมัครผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวฯ ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กทม. ทั้ง 271 แห่ง ได้ดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อาทิ กำหนดจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิร่างกาย ให้เด็กล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สังเกตอาการป่วยของเด็ก หากพบเด็กป่วยด้วยอาการระบบทางเดินหายใจ ให้ตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK และแยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ โดยแจ้งผู้ปกครองมารับและพาไปพบแพทย์ ปฏิบัติตามมาตรการหลัก (DMHT) ได้แก่ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดห้องเรียน พื้นผิวสัมผัส หรือพื้นที่ใช้งานร่วมกัน จัดสถานที่ให้มีการระบายอากาศที่ดี กรณีพบเด็กป่วยเป็นกลุ่มก้อน (Cluster ตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป) จะประสานพยาบาลอนามัยโรงเรียนในศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนโรคและเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดในวงกว้าง
ที่มา: กรุงเทพมหานคร