การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยสู่ AI ด้วยการสร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับความปลอดภัยทางไซเบอร์

พุธ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ ๐๘:๕๓
บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด(NASDAQ: CHKP) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำ เผยว่า การปรากฎของ AI ถือเป็นสัญญาณแห่งโอกาสความก้าวหน้าที่ไม่เคยมีมาก่อนในหลายภาคส่วน ท่ามกลางการพัฒนาทางเทคโนโลยีของประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2570(The leading hub for Artificial Intelligence (AI) in Southeast Asia by 2027) และการริเริ่มโครงการ AI ที่สำคัญ 6 โครงการของรัฐบาลไทย(Six Pivotal AI projects) ทำให้ประเทศไทยอยู่ แถวหน้าในการเปิดรับศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของ AI อย่างไรก็ตาม ขณะที่ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การบูรณาการด้าน AI ซึ่งต้องไม่เพียงมุ่งสู่นวัตกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น ยังต้องเข้าใจถึงความสำคัญและลำดับความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย
การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยสู่ AI ด้วยการสร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับความปลอดภัยทางไซเบอร์

จากรายงานของ Check Point Threat Intelligence Report ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยถูกโจมตี โดยเฉลี่ย 1,956 ครั้งต่อสัปดาห์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 61% สถิติที่น่าตกใจนี้ ทำให้เกิดภาพที่น่ากังวลเกี่ยวกับภาพรวมความปลอดภัยในปัจจุบันของประเทศไทย จากการโจมตีทาง ไซเบอร์ที่บ่อยครั้ง ควบคู่ไปกับแผน AI เชิงรุก ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงในหลากหลายมิติเพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างราบรื่น

อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งอยู่ที่การเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างนวัตกรรม AI และการใช้งานจริง แม้ว่าประโยชน์ที่เป็นไปได้ของ AI จะมีอยู่มากมาย แต่องค์กรต่างๆ ก็มักจะเผชิญกับความซับซ้อนในการบูรณาการโซลูชัน AI เข้ากับเวิร์คโฟลวและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ นอกจากนี้ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ความปลอดภัย และการพิจารณาด้านจริยธรรมยังคงเป็นเรื่องใหญ่ กระตุ้นให้เกิดแนวทางการนำ AI มาใช้อย่างระมัดระวังในทุกภาคส่วน ผลสำรวจของ ESG พบว่า 87% ของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ยอมรับศักยภาพของ AI ในโลกไซเบอร์ แต่ยังลังเลที่จะดำเนินการ ข้อควรระวังนี้เกิดขึ้นจากการตระหนักว่าเทคโนโลยีเดียวกันเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยฝ่ายตรงข้ามเพื่อเตรียมการโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นด้วย

ความท้าทายของ AI ในประเทศไทย

เพื่อให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในยุค AI นี้ มีหลายด้านที่ต้องเติมเต็ม เพื่อให้กลยุทธ์ AI บรรลุผล ประเทศไทยต้องมั่นใจในโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่งก่อน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นส่วนสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทที่ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลยังคงมีความสำคัญ ปัจจุบัน อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอยู่ที่ 78.3% และคาดว่าสูงถึง 86.6% ในปี 2572 แม้ว่านี่จะเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเริ่มต้น แต่การปิดช่องว่างนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับประโยชน์จาก AI ได้อย่างครอบคลุม และป้องกันความแตกต่างในการเข้าถึงการบริการ AI นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลแบบคลาวด์จะเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล AI

สำหรับกรอบการกำกับดูแลที่ครอบคลุมยังจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและใช้งาน AI ข่าวดีก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย (PDPA) สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น GDPR ของสหภาพยุโรป จึงทำให้มั่นใจได้ถึงการปกป้องข้อมูลที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามการพัฒนาแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมของ AI จะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีความรับผิดชอบและยุติธรรม หน่วยงานกำกับดูแล AI โดยเฉพาะควรเข้ามามีบทบาทเพื่อดูแลการพัฒนา AI สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมายในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความไว้วางใจแก่สาธารณะ

การมุ่งเน้นไปที่ภาคส่วนเฉพาะสำหรับการบูรณาการ AI จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และจัดการกับความท้าทายเฉพาะภาคส่วน ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการผลิตถือเป็นแกนหลักทางเศรษฐกิจประการหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และการจ้างงานของประเทศ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก AI สามารถนำไปใช้เพื่อปฏิวัติกระบวนการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์

ภาคส่วนที่สำคัญอีกภาคส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทยคือ ภาคเกษตรกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผ่านแอปพลิเคชัน AI เช่น การทำฟาร์มที่แม่นยำ การตรวจสอบพืชผล และการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน ไม่เพียงแต่จะช่วยรับประกันความมั่นคงด้านอาหารเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรที่ยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการเกษตร และการเติบโตในระยะยาว

คนเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของ AI

ความสำเร็จจากความมุ่งมั่นด้าน AI ของประเทศไทยขึ้นอยู่กับแรงงานที่มีทักษะและการรับรู้ของสาธารณชน การส่งเสริมการรับรู้เพื่อให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของ AI จะช่วยแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและความหวาดกลัวที่ผิด เช่น การถูกไล่ออกจากงาน และการละเมิดความเป็นส่วนตัว การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ รวมถึงธุรกิจ ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป ในการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมของ AI จะส่งเสริมแนวทางการพัฒนา AI ที่ครอบคลุมมากขึ้น การส่งเสริมความโปร่งใสในแอปพลิเคชัน AI ยังช่วยให้แน่ใจว่าการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วย AI นั้นเป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะสร้างความไว้วางใจจากสาธารณะต่อไป

นอกจากนี้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้าน สะเต็มศึกษา (STEM education) ในทุกระดับถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับบุคลากรที่มีความสามารถด้าน AI ในอนาคต ดังที่ได้ทราบว่าเกิดความขาดแคลนผู้มีทักษะความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จำนวนมากทั่วโลก การสำรวจล่าสุดเผยให้เห็นว่า การจ้างผู้มีความสามารถที่มีทักษะด้าน AI เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับนายจ้าง ถึง 94% แต่ 64% ประสบปัญหาในเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัย ช่องว่างนี้จะขยายกว้างขึ้นหากไม่ได้รับจัดการที่ถูกต้อง โปรแกรมการฝึกอบรมและการรับรอง AI เฉพาะทางจะช่วยเพิ่มทักษะให้กับพนักงานในปัจจุบัน เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะมีความพร้อมที่จะรับมือกับเทคโนโลยี AI ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการจัดตั้งศูนย์วิจัย AI และเสนอหลักสูตรและปริญญาที่เน้น AI จะช่วยเร่งขีดความสามารถด้าน AI ของประเทศไทยให้เร็วขึ้น

ในทำนองเดียวกัน การเพิ่มเงินทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนา AI ถือเป็นสิ่งสำคัญ ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันสนับสนุนการเงินในโครงการด้าน AI เพื่อผลักดันนวัตกรรม การสร้างศูนย์กลางนวัตกรรมและอุทยานเทคโนโลยีจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่หล่อเลี้ยงสตาร์ทอัพด้าน AI และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะขับเคลื่อนความก้าวหน้าของ AI เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยได้ประโยชน์จากการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ผู้อำนวยการด้านวิศวกรความปลอดภัย ประจำภูมิภาคอาเซียนและเกาหลี บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวว่า "จากการประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของ AI สิ่งสำคัญคือต้องรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรมและความปลอดภัยทางไซเบอร์ การบรรจบกันของเทคโนโลยี AI กับกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มแข็ง ถือเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของ AI ในขณะที่ต้องป้องกันภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ นอกจากนี้ การมองสิ่งต่าง ๆ ในแง่มุมของมนุษย์ การส่งเสริมตระหนักรู้ของสาธารณชน และการทำงานเพื่อมุ่งสู่แรงงานที่ได้รับการฝึกอบรมด้าน AI เพื่อรับมือกับความท้าทายและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก AI สุดท้ายนี้ ด้วยการลงทุนเชิงกลยุทธ์และความพยายามที่ร่วมมือกัน ประเทศไทยสามารถปูทางไปสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ยั่งยืนและปลอดภัยได้"

ที่มา: มายด์ พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ