โดยโครงการดังกล่าว เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของทั้ง CHOW และ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจ ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล โดยความร่วมมือในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ net zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อเป้าหมายยกระดับธุรกิจเข้าสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ ควบคู่กับการลดต้นทุนด้านพลังงานในระยะยาว โดย CHOW จะทำหน้าที่พัฒนาโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เหมาะสมกับความต้องการของ UOB ในแต่ละสาขา เพื่อให้การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บรรลุประโยชน์สูงสุดตามความต้องการของทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีนัยสำคัญ ลดปริมาณคาร์บอนตามเป้าหมายที่วางไว้
ปัจจุบัน CHOW ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะผู้พัฒนาโครงการ ผู้ให้คำปรึกษาในธุรกิจโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถพัฒนาโครงการให้เกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คุ้มค่ากับเงินลงทุน โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน มีอายุการใช้งานยาวนาน และมีบริการหลังการขายที่ได้มาตรฐานตลอดอายุสัญญา ส่งผลให้ CHOW สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยในปีนี้คาดว่าจะมีกำลังการผลิตรวมทะลุ 250 เมกะวัตต์และจะเพิ่มเป็น 400 เมกะวัตต์ในปี 2568
นางสาวปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กับ บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ในโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาสำนักงานสาขาของธนาคารยูโอบีในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลดการปล่อยคาร์บอนของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2573 สำหรับการอนุรักษ์พลังงานในสถานประกอบการ โดย "เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่" จะเป็นผู้ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ Solar Rooftop ที่อาคารยูโอบี สาทร อาคารยูโอบี เพชรเกษม และสาขาอีก 24 แห่ง ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากระบบ นอกจากจะช่วยให้ธนาคารลดค่าไฟฟ้าแล้วและยังช่วยรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงปีละ 200,000 ตัน เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ถึง 8,000 ต้น
"ธนาคารตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดเป้าหมายในการบรรเทาผลกระทบนี้ด้วยการยกระดับการลดการปล่อยคาร์บอนในอสังหาริมทรัพย์ของธนาคาร โดยปัจจุบันสาขาของธนาคารยูโอบี มีสัดส่วนในการใช้พลังงานประมาณร้อยละ 40 ของยูโอบี ประเทศไทย ซึ่งโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ริเริ่มร่วมกับ "เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่" ในครั้งนี้ไม่เพียงแต่คาดหวังที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่อาจบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเกือบร้อยละ 90 ในสาขาที่ร่วมโครงการอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการรักษาความเป็นกลางทางคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจของยูโอบี ประเทศไทย เป็นอย่างดี"
ที่มา: เค พลัส พีอาร์