จากผลการสำรวจ* พบว่าผู้บริโภคมองว่าความเป็นอยู่ที่ดีของคนเราจะขึ้นอยู่กับอาหาร ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุ 20-39 ปี นิยมการสร้าง work-life balance เลือกรับประทานอาหารอร่อยและดีต่อสุขภาพ ที่สำคัญ ต้องมีหน้าตาสวยงามน่าทาน ในขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 45-65 ปี จะหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ใส่น้ำตาล ลดเค็ม ไขมันต่ำ งดอาหารแปรรูป โดยผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มคิดว่าสิ่งแวดล้อมที่ดีจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตัวเอง โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องวัสดุที่สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ สะท้อนถึงอินไซต์ของผู้บริโภคว่ามีความใส่ใจเรื่องอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
มร.อิชิโระ ซะกะกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "เป็นเวลากว่า 100 ปีที่กลุ่มบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ ก่อตั้งขึ้นด้วยการใช้ "ศาสตร์แห่งกรดอะมิโน" (AminoScience) อันเป็นความเชี่ยวชาญหลักของเรา มาส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกให้กินดีมีสุข เพื่อดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนปี 2573 ของกลุ่มบริษัทฯ ในระดับโลก อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) เดินหน้ารุกตลาดอาหารด้วยการประกาศการสนับสนุนภาครัฐตามแผนขับเคลื่อนประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food Hub) ระดับโลก เราจึงได้เปิดแผนการดำเนินธุรกิจปี 2567 ตอกย้ำวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำในการสร้างความ "กินดีมีสุข" อย่างยั่งยืน ครอบคลุม 3 มิติ คือ 1) ผู้บริโภค 2) สังคมและสิ่งแวดล้อม 3) พนักงาน ปัจจุบัน อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) มีผลประกอบการ 32,000 ล้านบาท** เป็นเบอร์แปดของกลุ่มธุรกิจผู้ผลิตอาหาร ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้หลักและครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงที่สุดคือ ผงชูรสอายิโนะโมะโต๊ะ 93% รสดี 89% และกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ 53% นอกจากนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกรดอะมิโนสร้างการเติบโตถึง 2 ดิจิต ในปีนี้บริษัทฯ ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมโภชนาการครบวงจร ด้วยการเปิดไลน์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ที่โดดเด่นด้วยศาสตร์แห่งกรดอะมิโน (AminoScience) เพื่อเอาใจคนรักสุขภาพ ใน 4 หมวดหมู่ คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดอะมิโนสำหรับการนอนหลับ โภชนาการกีฬา บำรุงร่ายกายและบิวตี้ นอกจากนี้ เราได้สานต่อความแข็งแกร่ง ในฐานะผู้นำตลาดอาหาร ด้วยการขยายธุรกิจสู่เซอร์วิสสุดล้ำกับ "แอปพลิเคชัน i-LiveWell - แพลตฟอร์มกินดีมีสุขฉบับมนุษย์เงินเดือน"
นายวันนเรศวร์ สุขีลักษณ์ ผู้จัดการแผนกธุรกิจใหม่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า "เป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ ต่อยอดความเชี่ยวชาญจากผู้ผลิตอาหารสู่เซอร์วิส ด้วยการเปิดตัวนวัตกรรมสุขภาพสำหรับองค์กร แอปพลิเคชัน i-LiveWell - แพลตฟอร์มกินดีมีสุขฉบับมนุษย์เงินเดือน ร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ Invitrace พัฒนาแอปรุกตลาดการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันด้วยโมเดลธุรกิจแบบ B2B เตรียมเจาะ 50 บริษัททั่วไทยที่มีนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของพนักงาน เพื่อปลั๊กอินยกระดับสุขภาพพนักงานออฟฟิศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เสริมไลฟ์สไตล์สร้างความกินดีมีสุข ดูแลสุขภาพกาย-ใจให้ดีแบบองค์รวม โดยมีฟีเจอร์หลักคือ 1) A.I. Personal Health คำนวณแคลอรี่ นับก้าวเดิน ทำอาหาร ออกกำลังกาย การประเมินสุขภาพ ที่เชื่อมโยงกับภารกิจของบริษัท 2) Entertainment Activity เกมและอวตาร คอมมูนิตี้ และรางวัลพิเศษ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถป้องกันและดูแลสุขภาพที่ดีแก่พนักงานให้ "กินดีมีสุข" อย่างยั่งยืน โดยเดินเกมขยายธุรกิจด้านบริการอย่างเต็มตัว ตั้งเป้ามีพนักงานผู้ใช้งานกว่า 3,000 คน ภายในปี 2025"
"นอกจากการสร้างความกินดีมีสุขให้กับคนไทยผ่านโภชนาการที่ดีแล้ว อายิโนะโมะโต๊ะยังมุ่งสร้างความยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นผู้ใช้แป้งมันสำปะหลังเบอร์หนึ่งในประเทศไทย เราจึงมุ่งมั่นการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการสานต่อ โครงการ Thai Farmer Better Life Partner ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมทักษะเกษตรกรไทยแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การเข้าไปสำรวจปัญหาของเกษตรกร พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานชั้นนำ อาทิ กรมส่งเสริมการเกษตร และ BIOTEC-NSTDA เป็นต้น ด้วยการใช้แนวคิดวัฏจักรชีวภาพ (Ajinomoto Biocycle) สร้างระบบนิเวศเชิงบวกในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทย ซึ่งช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างการเติบโตให้ผลผลิต 26-28% พร้อมสนับสนุนประเทศไทยเดินหน้าสู่ศูนย์กลางการเกษตรและอาหาร (Agriculture Hub) ด้วยการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ลดคาร์บอน และการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเกษตรของไทย อายิโนะโมะโต๊ะพร้อมอยู่เคียงข้างดูแลสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้บริโภค สร้างความ "กินดีมีสุข" แก่สังคมไทย และเติบโตไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน" มร.อิชิโระ ซะกะกุระ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา: เอบีเอ็ม คอนเนค