หากเราละเลยการตรวจสอบอาคาร อาจส่งผลร้ายแรงที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ การตรวจสอบอาคาร เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพ เพื่อหาความผิดปกติ และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อน สัญญาณเตือนอันตรายที่บ่งบอกว่าอาคารของคุณอาจต้องได้รับการตรวจสอบ ได้แก่ อาคารมีอายุงานการใช้งานที่ยาวนานมากอาจจะมีโครงสร้างอาคารเสื่อมโทรม เกิดรอยแตกร้าว บนผนัง เพดาน หรือพื้น อาจเกิดการพังทลายลงมา ถ้าเกิดเหตุระบบไฟฟ้าขัดข้อง เช่น ไฟดับ หลอดไฟกระพริบ หรือมีกลิ่นไหม้ ควรมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าชำรุด ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เป็นเกิดเหตุไฟไหม้ได้รวมไปถึงระบบดับเพลิงถ้าเกิดขัดข้อง อาจทำให้ควบคุมเพลิงไหม้ไม่ได้ก็จะทำให้เกิดอันตรายทั้งชีวิตและทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งการตรวจสอบอาคารนั้นสามารถทำได้ทุกปี และมีการตรวจซ้ำตามแผนทุก 3-6 เดือน และควรมีการตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี เป็นการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและระบบทุกระบบ หากเจ้าของอาคารไม่ทำการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายจะถือว่ามีความผิด มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โดยจะปรับอีกวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง นอกจากนั้นก็มีกรณีที่แตกต่างกันออกไป
ทำไมการตรวจสอบอาคารจึงสำคัญ
- ด้านความปลอดภัย: อาคารที่ไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ อาจเกิดปัญหาโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า ระบบประปา หรืออุปกรณ์ต่างๆ ชำรุด ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย พนักงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ลดค่าใช้จ่าย: การตรวจสอบอาคารช่วยค้นพบปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ป้องกันความเสียหายที่อาจร้ายแรง และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่สูง
- ป้องกันการหยุดชะงักของธุรกิจ: อาคารที่ชำรุด อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น อาคารสำนักงานที่ต้องปิดปรับปรุง โรงงานที่ต้องหยุดการผลิต
- ความรับผิดชอบทางกฎหมาย: เจ้าของอาคารมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของอาคาร การไม่ตรวจสอบอาคารอาจส่งผลต่อความรับผิดชอบทางกฎหมาย
- สร้างความมั่นใจ: การตรวจสอบอาคารอย่างสม่ำเสมอ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้อยู่อาศัย พนักงาน และผู้เกี่ยวข้อง ว่าอาคารมีความปลอดภัยในการใช้งาน
การตรวจสอบอาคารนั้นสามารถทำได้จากรูปแบบบริษัทเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ แต่การจะเข้าไปตรวจสอบอาคารได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เพราะการตรวจสอบจะต้องใช้ความชำนาญ ผู้ตรวจสอบต้องขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการควบคุมอาคาร โดยจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร จึงจะสามารถดำเนินการเป็นผู้ตรวจสอบได้ เช่น การตรวจสอบอาคารที่มีขนาดใหญ่ มีเรื่องของพื้นขนาดใหญ่ในการดูแล ระบบต่าง ๆ ของอาคารที่มีความซับซ้อน มีวัตถุประสงค์ของการใช้งานอาคารที่แตกต่างกันไป
บริษัท ทัช พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญกว่า 17 ปี จำนวนพื้นที่ที่ตรวจสอบประมาณ 5 ล้านตร.ม. ได้มีบริการตรวจสอบอาคารครบวงจร จากทีมวิศวกรมืออาชีพ มีเครื่องมือทันสมัย พร้อมทำรายงานผลชัดเจน ได้ให้คำแนะนำว่าในการตรวจสอบอาคารต้องพิจารณา 3 ด้านหลักๆ ดังต่อไปนี้
- ความมั่นคง และ แข็งแรงของอาคาร โดยจะดูว่าตัวอาคารมีการดัดแปลง หรือ ปรับปรุงหรือไม่ ดูการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร ว่าสามารถรับน้ำหนักได้เท่าเดิมหรือไม่ อาคารมีสภาพการใช้งานอาคารเป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงของวัสดุก่อสร้าง หรือ วัสดุตกแต่งอาคารหรือไม่ อาคารมีการชำรุด หรือ การทรุดตัวของฐานอาคาร โครงสร้างอาคารหรือไม่
- ระบบ และอุปกรณ์ประกอบอาคาร ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ ระบายอากาศ ลิฟต์ บันไดเลื่อน ตรวจสอบระบบประปา เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน ตรวจสอบระบบป้องกัน และ ป้องกันอัคคีภัย เช่น บันไดหนีไฟ ไฟทางออกฉุกเฉิน ไฟฟ้าสำรอง สัญญาณแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบจ่ายน้ำดับเพลิง
- ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการป้องกัน และระงับอัคคีภัย แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร
การตรวจสอบอาคารจะทำการตรวจสอบอาคารในหลายๆ ด้าน โดยกฎหมายจะกำหนดให้เจ้าของอาคารจะต้องหาผู้ตรวจสอบอาคารมาทำการตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร ทั้งต่อร่างกาย และ ทรัพย์สิน นอกจากนั้นยังนับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะหากเราตรวจสอบสม่ำเสมอก็จะสามารถแก้ไขได้ตรงจุด และ ซ่อมแซมอาคารให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.touch.co.th
ที่มา: ทัช พร็อพเพอร์ตี้