เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดกีฬาโดยสิ้นเชิง นั่นคือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการมีส่วนร่วม สร้างความยั่งยืน และเข้าถึงผู้ชมทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน

พุธ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ๑๐:๒๑
บทความโดยเซลิน่า หยวน ประธานด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อาลีบาบาคลาวด์ อินเทลลิเจนซ์
เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดกีฬาโดยสิ้นเชิง นั่นคือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการมีส่วนร่วม สร้างความยั่งยืน และเข้าถึงผู้ชมทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน

ในปี ค.ศ. 2021 มีผู้ชมประมาณ 3 พันล้านคนรับชมการแข่งขัน Olympic Games 2020 Tokyo ผ่านระบบออกอากาศทั่วโลก[1] ถัดมาในปี ค.ศ. 2022 การแข่งขัน Olympic Winter Games Beijing 2022 ดึงดูดผู้ชมทั่วโลกมากกว่า 2 พันล้านคน[2] เราคาดว่าจำนวนผู้ชม Paris 2024 Olympic Games (Paris 2024) ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องด้วยจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การถ่ายทอดสดกีฬาระดับโลกที่จะกระจายสัญญาณถ่ายทอดสดผ่านระบบคลาวด์ (นับตั้งแต่เริ่มมีการถ่ายทอดผ่านระบบดาวเทียมในปี ค.ศ. 1964) และแน่นอนว่าการที่ผู้ชมจำนวนมากจะรับชมเสมือนจริงแบบนี้ได้นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากเทคโนโลยี

นอกจากระบบการถ่ายทอดที่ซับซ้อนเพื่อให้ผู้ชมทั่วโลกได้รับชมแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่ดีพร้อมในโลกของกีฬา ที่จะช่วยให้เข้าถึงผู้คนและคอมมิวนิตี้ต่าง ๆ ได้มากขึ้น สร้างผลกระทบโดยตรง ส่งเสริม และทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในเชิงมหภาคและความท้าทายต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีเหล่านี้ เช่น อุปกรณ์สวมใส่สำหรับนักกีฬา (wearable) และโมเดล AR เพื่อใช้เทรนนักกีฬาแบบเฉพาะบุคคลที่จะช่วยเรื่องกระบวนการฝึกซ้อมและเสริมศักยภาพให้กับนักกีฬาแต่ละคน สร้างให้เกิดประสบการณ์การมีส่วนร่วมของผู้ชื่นชอบกีฬา ทั้งนี้เนื่องจากยังคงมีการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในวงการกีฬาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เราต้องจับตาดูต่อไป คือ จะมีการนำเทคโนโลยีไปใช้ผลักดันขอบเขตของโลกกีฬาให้กว้างขวางมากขึ้นได้อย่างไร เช่นสามารถเข้าถึงผู้คนและชุมชนที่มีความจำเป็น มีผลลัพธ์เชิงบวกโดยตรงต่อการมุ่งมั่นและความท้าทายในระดับกว้าง เช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

บริการคลาวด์ที่ช่วยให้การจัดการแข่งขันกีฬา รวมถึงการกระจายเสียงและแพร่ภาพออกอากาศมีประสิทธิภาพมากขึ้น

พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เทคโนโลยีมีนั้น ทำให้การชมกีฬาขยายขอบเขตจากการชมที่สนามแข่งขันจริง ไปสู่การรับชมผ่านหน้าจอเสมือน (virtual screens) ของเรา และแม้แต่ถ่ายทอดอยู่บนเมตาเวิร์ส ทั้งยังเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า เทคโนโลยีสามารถขจัดข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแฟน ๆ และผู้ชมกีฬาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่องและสมจริง

สิ่งเหล่านี้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น เป็นผลมาจากระบบการออกอากาศผ่านคลาวด์ ดังนั้นการจัดการแข่งขันกีฬาสำคัญต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ระบบที่เชื่อถือได้ เป็นระบบที่สามารถคงความเสถียรและประสิทธิภาพไว้ได้แม้ในสภาวะท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานจะเป็นไปอย่างราบรื่น อาลีบาบา คลาวด์ เป็นพันธมิตรผู้ให้บริการคลาวด์อย่างเป็นทางการของโอลิมปิกตั้งแต่ปี 2017 โดยทำงานร่วมกับคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เพื่อพัฒนาระบบบนคลาวด์ และโซลูชันที่เฉพาะสำหรับแต่ละการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ในการเข้าชมที่ไม่เคยมีมาก่อน และสามารถเข้าชมได้อย่างทั่วถึงให้แก่แฟนกีฬาทั่วโลก

ระบบถ่ายทอดแบบดิจิทัลที่คล่องตัวและคุ้มค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นในช่วงการระบาดหนักของโควิด-19 ซึ่งนักกีฬาต้องแข่งขันในสนามที่ปราศจากผู้ชม ทั้งนี้ ณ 2020 Tokyo Olympic Games อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services: OBS) ส่งสัญญาณถ่ายทอดการแข่งขันผ่านเน็ตเวิร์กของอาลีบาบา คลาวด์ ที่มีแบนด์วิดท์ที่เสถียรและมีความคมชัดสูง ซึ่งช่วยให้องค์กรกระจายเสียงแพร่ภาพต่าง ๆ ลดจำนวนพนักงานที่ต้องเข้าไปยังสถานที่แข่งขันจริง และลดการใช้อุปกรณ์ที่ต้องใช้ถ่ายทอดการแข่งขันต่าง ๆ นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน เพราะองค์กรกระจายเสียงแพร่ภาพทั้งหลายสามารถรับและแก้ไขคลิปวิดีโอจากระยะไกลได้ผ่านคลาวด์

ในทำนองเดียวกัน ในมหกรรมกีฬา 2022 Beijing Winter Olympic Games ได้มีการนำระบบหลักของการจัดงานไปโฮสต์บนอาลีบาบา คลาวด์ เป็นครั้งแรก ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้จัดงานทุกฝ่าย การโยกย้ายสภาพแวดล้อมการทำงานนี้ ส่งผลให้ลดเวลาและลดเงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไอที ฮาร์ดแวร์ และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องลงได้ ความสามารถขั้นสูงของคลาวด์ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้การบริหารจัดการและการวางแผนงานการจัดการแข่งขันครั้งนี้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งผลให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่นให้กับคนทำงานได้

ขับเคลื่อนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในมหกรรมการแข่งขันกีฬาสำคัญ ๆ อย่างแท้จริง

.นานาประเทศต่างกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ทำให้เกิดแรงกดดันอย่างมากต่อใครก็ตามที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนปริมาณมาก ให้ต้องพยายามลดการปล่อยคาร์บอนให้มากขึ้น และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นลำดับต้น ๆ ซึ่งรวมถึงการทรานส์ฟอร์มการแข่งขันกีฬาให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่รองรับระบบปฏิบัติการเหล่านี้ได้ เรื่องนี้ยังขยายไปถึงการแข่งขัน esports ซึ่งทีม esports แต่ละทีมสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอน (CO2e) ได้มากถึง 100 ตัน[3] และเมื่อพิจารณาถึงจำนวนคนเล่นวิดีโอเกมทั่วโลกที่มีประมาณ 40%[4] แล้ว การปล่อยก๊าซคาร์บอนจะมากมายเพียงใด คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ให้ความสำคัญกับการแข่งขันที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้ 2024 Paris Olympic Games ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ทั้งยังได้ตั้งข้อกำหนดที่มีผลผูกพันต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งจะมีผลใช้กับทุกๆ มหกรรมกีฬาที่จะเกิดขึ้นนับแต่ปี ค.ศ. 2030 เป็นต้นไป[5]

ใกล้ประเทศไทยเข้ามา อาลีบาบา คลาวด์ ได้ทดลองใช้ Energy Expert ซึ่งเป็นโซลูชันด้านความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วย AI และเครื่องมือบริหารจัดการคาร์บอนที่เป็นเอกสิทธิ์ของบริษัท ณ งาน 2023 Olympic Esports Week ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อวัดและวิเคราะห์การปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการก่อสร้างอาคารชั่วคราวเพื่อใช้ในการแข่งขัน ซึ่งนอกจากการวัดปริมาณคาร์บอนแล้ว เครื่องมือนี้ยังสามารถให้คำแนะนำว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างไร เช่น การใช้ป้ายดิจิทัลที่สามารถลดการปล่อยก๊าซได้ 14 ตัน CO2e และการนำพรม 50% ของที่ใช้ในงานการแข่งขัน กลับมาใช้ใหม่ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มอีก 10 ตัน

บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีที่ครอบคลุม ณ มหกรรมกีฬาต่าง ๆ

หัวใจสำคัญของการจัดมหกรรมกีฬาต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก คือ จิตวิญญาณแห่งความเท่าเทียม จุดนี้เป็นจุดที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญ เพื่อทำให้การจัดการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เข้าถึงได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มีผู้คนมากกว่า 1.5 พันล้านคน หรือเกือบ 20% ของประชากรโลก มีภาวะสูญเสียการได้ยิน ดังนั้น ในการแข่งขันกีฬา 2023 Asian Paralympic Games อาลีบาบา คลาวด์ ได้เปิดตัวอวาตาร์ดิจิทัลชื่อ Xiaomo เพื่อเป็นล่ามภาษามือให้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกัน

เทคโนโลยียังเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ของมนุษย์ เช่น อาลีบาบา คลาวด์ ได้เปิดตัว Dong Dong ซึ่งเป็นอินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง ที่มีรูปลักษณ์เหมือนมนุษย์ ณ 2022 Beijing Winter Olympics เพื่อใช้โต้ตอบกับแฟน ๆ ทั่วโลกด้วยการจำลองการสนทนาจริงและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสถานที่จัดงานโอลิมปิก ผ่านการถ่ายทอดด้วยการสตรีมสด โดยใช้เทคโนโลยีสามมิติ การอ่านออกเสียงข้อความ และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) เพื่อสังเคราะห์เสียงของมนุษย์และสร้างบทสนทนาที่เหมือนมนุษย์ระหว่าง Dong Dong และแฟนกีฬา ทั้งนี้มีผู้รับชมการสตรีมสดของ Dong Dong มากกว่า 2 ล้านคน และมีฐานแฟนคลับมากกว่า 100,000 คน

ความงดงามของเทคโนโลยีเหล่านี้คือ สามารถนำไปใช้ได้ทุกที่ ไม่เฉพาะการแข่งขันกีฬาเท่านั้น จึงเป็นวิธีการที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง ที่แสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์มากมายและกว้างไกลของเทคโนโลยี

ปฏิวัติด้านการกีฬาโดยใช้พลังของเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน

การใช้เทคโนโลยีในการกีฬา จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งการแข่งขันกีฬา การอยู่ร่วมกัน ความเป็นเลิศ และความเท่าเทียม นอกจากนี้เทคโนโลยียังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระยะยาวได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งมาพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับอาลีบาบา คลาวด์ การนำเทคโนโลยีล้ำสมัยของบริษัทฯ ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ณ Hangzhou Asian Games, Tokyo 2020 และ Beijing 2022 นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ในขณะที่ Summer Olympics ที่ปารีสปีนี้จะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นของวงการกีฬาโลก และเป็นโอกาสมากมายที่จะสรรหาเทคโนโลยี รวมถึงพลวัตและความสามารถที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้สร้างประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่และดีกว่าที่ผ่านมา ทั้งยังสร้างความตระหนักถึงวิธีที่ผู้ให้บริการคลาวด์ และนักสร้างสรรค์ทั้งหลายใช้อุดช่องว่างด้านความยั่งยืนและการเข้าถึงการแข่งขันได้อย่างน่าประทับใจและประสบความสำเร็จมากขึ้น

[1] International Olympic Committee: Olympic Games Tokyo 2020 watched by more than 3 billion people. https://olympics.com/ioc/news/olympic-games-tokyo-2020-watched-by-more-than-3-billion-people

[2]  Olympic Winter Games Beijing 2022 watched by more than 2 billion peoplehttps://olympics.com/ioc/news/olympic-winter-games-beijing-2022-watched-by-more-than-2-billion-people

[3]  Esports Insider: Is 'going green' the future of esports? https://esportsinsider.com/2022/08/is-going-green-esports-future

[4] DFC Intelligence: Global Video Game Consumer Population Passes 3 Billion. https://www.dfcint.com/dossier/global-video-game-consumer-population/

[5]  International Olympic Committee: Paris 2024: raising the bar for more sustainable sporting events. https://olympics.com/ioc/opinion/paris-2024-raising-the-bar-for-more-sustainable-sporting-events

ที่มา: FAQ

เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดกีฬาโดยสิ้นเชิง นั่นคือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการมีส่วนร่วม สร้างความยั่งยืน และเข้าถึงผู้ชมทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version