"เพชร" หนุ่มสถาปัตย์ การันตีด้วยนักศึกษาตัวอย่างประเภทเรียนดี ปี' 65และรางวัลดีเด่นระดับคณะ "เพชร" มจพ. ปี'66

จันทร์ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ๑๐:๔๓
นายรัตนชัย อริยทัศน์ ชื่อเล่น "เพชร" ชั้นปีที่ 5 สาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เจ้ารางวัลนักศึกษาตัวอย่างประเภทเรียนดีของ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ประจำปี 2565 และรางวัลนักศึกษาดีเด่นระดับคณะ "เพชร" ประจำปี 2566 "เพชร" ในลุคบุคลิกเป็นคนเงียบ ๆ เน้นเรียบง่าย ชอบทำงานศิลป์ ทั้งงานศิลปะและดนตรี ชอบเรียนรู้คน และชอบงานพัฒนาสังคม ค่ายอาสาพัฒนาชุมชนต่าง ๆ ด้วยงานศิลปะ เพราะสมัยเด็กๆ คือชอบเรียนศิลปะ และชอบประกวดแบบการออกแบบสถาปัตยกรรม เพราะการประกวดทำให้เราได้เจอคนที่มีความหลงไหลในสถาปัตยกรรมเหมือนกัน เมื่อปี 2566 คว้ารางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศและสากล "งาน Paradise MachineW สถาปัตยกรรม Bamboo Pavilion (ไม้ไผ่) "โครงการ (Bamboo Swing Game International) 2023" และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 จากทั้งหมด 20 ทีม 10 ประเทศทั่วโลก เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งในระดับนานชาติที่กว่างโจว ประเทศจีนอีกด้วย
เพชร หนุ่มสถาปัตย์ การันตีด้วยนักศึกษาตัวอย่างประเภทเรียนดี ปี' 65และรางวัลดีเด่นระดับคณะ เพชร มจพ. ปี'66

"เพชร" เล่าให้ฟังว่า ผมเติบโตในชุมชนคลองเตย หรือที่คนภายนอกเรียกว่า "สลัมคลองเตย" ในวัยเด็กพยายามเรียนให้ผ่านเกณฑ์ เพื่อที่จะได้รับทุนของชุมชนหรือทุนโรงเรียน เช่นนั้นมาโดยตลอด เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายครอบครัว เมื่อช่วงอายุ 15 ปี ได้ย้ายบ้านออกจากคลองเตย และได้เข้าเรียนในระดับประกาศนียบัตร (ปวช.) ที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลปะอาชีวะ สาขาสถาปัตยกรรม ไม่ได้เลือกเรียนในระดับมัธยมปลาย เพราะรู้ตัวว่าชอบเรียนศิลปะตั้งแต่เด็ก และรู้สึกได้ว่า"อยากเรียนเพื่อใช้ไม่ใช่เรียนเผื่อใช้" เมื่อเรียนจบในระดับ ปวช.ได้เข้าศึกษาต่อที่ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เรียกได้สักพักแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่ ไม่ชอบที่จะเรียนในศาสตร์วิชาชีพครูเท่าที่ควร เพราะความต้องการจริง ๆ นั้นอยากจะศึกษาในสาขาสถาปัตยกรรม จึงได้เลือกสอบอีกทีคือที่ สจล. แต่ไม่ได้ สุดท้ายมาสอบได้ที่ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเจ้าพระนครเหนือ ดังที่ตั้งใจไว้ว่าจะเป็นลูกพระจอม

ส่วนตัวผมความชื่นชอบหลงใหลในสถาปัตยกรรม รวมถึงงานกิจกรรมค่ายอาสา และการประกวดออกแบบถือเป็นกิจกรรมที่มีอิทธิพลกับผมมากที่สุด เพราะนอกเหนือจากการพัฒนาทักษะด้านสถาปัตยกรรมแล้วยังทำให้เราได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และได้ร่วมกันส่งผลงานเข้าประกวด เช่น รางวัลชมเชย 10 ทีมสุดท้าย เช่น งาน Youth Yard Year สถาปัตยกรรม Public Space ประเภท Thai Social Space โครงการ (RE-imagining Thai Social Space) MQDC 2023 และโครงการ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) BIMObject 2023 สำหรับเรื่องการเรียนและการปฏิบัติตัวเองนั้น หลัก ๆ ผมจะพยายามมีวินัยและความรับผิดชอบในการเรียนให้สูงต่องานที่ได้รับ มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และผู้คนให้มาก และไม่หยุดที่จะพัฒนาความรู้ของตนเอง เช่น สมหวังมาแล้วที่ สอบติดตั้งแต่รอบแรกในอัตราการแข่งขัน 1:10 ความประทับใจ ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดแบบระดับประเทศกับเพื่อนในห้อง และได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งต่อในระดับสากลที่ประเทศจีนพร้อมได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ส่วนความผิดหวัง ก็กำลังพยายามหารายได้เสริม โดยการรับงานนอก แต่ยังไม่สามารถส่งตัวเองเรียนได้แบบ 100% คงต้องรอโอกาส และจังหวะที่ดีๆ "ผม" ต้องเป็นคนที่ไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว ทั้งด้านการเรียนและการเข้าสังคม ควรให้เกียรติทุก ๆ คนที่รู้จักทั้งต่อหน้าและลับหลัง

การเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้มีความสุขและได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ผมพยายามที่จะไม่ได้เรียนเพียงอย่างเดียว ควรจะมีมุมพักผ่อนหรือออกค่ายทำกิจกรรมต่างๆนอกเหนือจากการเรียนด้วย โดยส่วนตัวผมจะชอบหาประสบการณ์ในเวทีที่จัดการประกวดแบบภายนอกที่ได้ออกไปพบเจอเพื่อน ๆหลายมหาลัย เพื่อที่จะได้และเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ได้พบเจอคนเก่ง ๆ เพื่อที่จะซึมซับและพัฒนาตนเองให้ไปอยู่ในระดับประเทศตลอดเวลา สามารถนำความรู้นอกห้องเรียนมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในการเรียนได้อีกด้วย

การออกค่ายอาสาก็สำคัญ สามารถนำความรู้ความสามารถเราไปพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ได้ เช่น "ผมเองได้มีโอกาสนำความรู้ในด้านสถาปัตยกรรม ไปออกค่ายพัฒนาพื้นที่ริมทะเลในจังหวัดระยอง" ให้มีศักยภาพทางด้านการอยู่อาศัยและพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ได้ด้วยประทับในอาจารย์หลายท่านในคณะ ที่มีส่วนในการส่งเสริมและพัฒนาแนวคิดเด็กโดยไม่ยัดความคิดตนเองลงไปในงานที่เด็กออกแบบ เพื่อทำให้เด็กมีอิสระในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองอย่างเต็มที่และพร้อมผลักดันเด็ก เช่น อาจารย์ สุรนาฎ เกิดอิ่ม และอาจารย์ ธนัชพงศ์ เมธีปิยะวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่สามารถปรึกษาได้ทุกเรื่องนอกเหนือจากการเรียน ยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยและการวางตัวในสังคมต่าง ๆ ผมมองว่านอกเหนือจากการเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีความรู้และทักษะหลาย ๆ ได้เจอผู้คนที่เก่ง ๆ มากมาย ได้พัฒนาทักษะการใช้ชีวิต ได้พบเจอเพื่อน และอาจารย์ที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของช่วงวัยรุ่นของเราเอง ได้เรียนรู้การอยู่คนเดียวในชีวิตเด็กหอ ได้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและการเรียน รวมไปถึงงานและกิจกรรมกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันกับผู้คนหรือเพื่อน เป็นต้น

"Man is born free, but he is everywhere in chains" "มนุษย์เกิดมาอย่างเสรี แต่ทุกที่กลับ เต็มไปด้วยโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ" อย่างที่ผมได้บอกตอนแนะนำตัวว่าผมได้มีโอกาสเกิดและโตชุมชนคลองเตย ทำให้ผมได้เจอเพื่อน พี่ น้อง หรือผู้คนในชุมชนที่มีความเก่งและมีความสามารถมาก แต่ต้องเจอบริบทสังคมหรือความจนที่บีบบังคับทำให้คนในชุมชนไม่สามารถมีโอกาสในการพัฒนาตนเองหรือมุ่งทางที่ผิด ผมจึงคิดว่า "โอกาส" เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำลายโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ ในวัยเด็กเมื่อผมมีโอกาสในการเล่าเรียน ผมก็พยายามตั้งใจเล่าเรียนเพื่อให้ตัวเองให้ได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่ประถมจนถึงมหาวิทยาลัย และในอนาคตเมื่อผมมีความรู้ความสามารถมากพอ ผมจะนำ " โอกาส " กลับไปพัฒนาและส่งต่อให้คนรุ่นใหม่อย่างแน่นอน

ที่มา: มจพ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ 15 พฤศจิกายน 2567 ร่วมฉลองเทศกาลลอยกระทง กับ 5 โรงแรมหรูวิวริมทะเล ในเครือ เคป แอนด์ แคนทารี โฮเทลส์
๑๖:๑๘ Blendata เปิดตัว Blendata Cloud บน Microsoft Azure Marketplace ยกระดับโซลูชัน Big Data ไทยสู่ระดับโลก
๑๖:๓๔ แอปเรียกรถ Maxim เปิดประสบการณ์บริการเรียกรถสุดพิเศษวันฮาโลวีน เซอร์ไพรส์จากคนขับที่คุณไม่ควรพลาด
๑๖:๑๔ เกษตรหนองหญ้าปล้อง จัดเวทีประชาคมและลงตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ประจำปี 2567/68
๑๖:๔๗ เสริมความแกร่ง! ธุรกิจการบิน ม.ศรีปทุม เปิดเวทีบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ ติดปีกให้นักศึกษาสู่ตลาดอุตสาหกรรมการบิน
๑๖:๕๗ Wayzim ปรับโฉมการจัดการคลังสินค้าด้วยระบบ ASRS Stacker Crane สำหรับประสิทธิภาพสูงสุด
๑๖:๔๑ การเคหะแห่งชาติ ระดมกูรูด้านภัยพิบัติ ตั้งรับ ปรับตัวกับภัยพิบัติ
๑๖:๑๑ ก.ล.ต. - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประสานความร่วมมือ ยกระดับการทำหน้าที่กำกับดูแลตลาดทุนร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑๖:๕๗ ไทย-ไต้หวันร่วมยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เสริมแกร่งกำลังคนทักษะสูง สู่ฮับการผลิต PCB แห่งอาเซียน
๑๕:๔๐ JAS คว้า 5 ดาว 2 ปีซ้อน จากการประเมิน CGR 2024