กองทุน KT-JAPANALL (ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Fidelity Funds - Japan Value Fund Y-ACC-JPY (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น ทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยมุ่งเน้นในบริษัทที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Undervalued) นอกจากนี้ กองทุนหลักยังได้อันดับเรทติ้ง Morningstar 5 ดาวด้วย (ที่มา: Morningstar ข้อมูล ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2567)
สำหรับกองทุนหลักมีการบริหารการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Investing) โดยเน้นการวิเคราะห์หุ้นรายตัว (Bottom-up) เป็นหลัก และสามารถลงทุนได้ทั้งในหุ้นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยเน้นบริษัทที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเมื่อเทียบกับโอกาสในการเติบโต กระแสเงินสด และคุณภาพงบดุล เพื่อมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด ทั้งนี้ กองทุนหลักจะเน้นแนวทางการลงทุนแบบคุณค่า (Value Tilt) เป็นหลัก พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าถูกจนเกินไป (Deep Value) รวมถึงสามารถลงทุนในไอเดียที่แปลกใหม่ หากทางผู้จัดการกองทุนเล็งเห็นถึงโอกาสในการลงทุน และมีความเชื่อมั่นสูง เช่น หุ้นเทคโนโลยีในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น (ที่มา: Fidelity, ข้อมูล ณ สิ้นเดือน พ.ค. 67)
ทั้งนี้ กระบวนการลงทุนของทางกองทุนหลักจะเริ่มจากการกำหนด Universe การลงทุนของบริษัทที่สามารถลงทุนได้ประมาณ 1,000 บริษัท จากนั้นจะทำการวิเคราะห์มูลค่าของกิจการโดยอาศัยการวิเคราะห์และการทำแบบจำลองทางการเงิน จนได้พอร์ตการลงทุนที่ประกอบไปด้วยบริษัทที่มีคุณภาพสูงประมาณ 50-70 บริษัท ซึ่งน้ำหนักการลงทุนจะขึ้นอยู่กับ Upside ที่มี เมื่อเทียบกับราคาเป้าหมาย ความมั่นใจ และสภาพคล่อง พร้อมทั้งมีการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาทั้งบนระดับหลักทรัพย์ และบนระดับมหภาค โดยกระบวนการลงทุนข้างต้นนี้จะต้องสอดคล้องกับแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า โดยจะพยายามรักษาระดับ P/E ให้ต่ำกว่าดัชนีอ้างอิง และรักษาระดับ P/B ให้ต่ำกว่า หรือใกล้เคียงกันกับดัชนีอ้างอิง (ที่มา: Fidelity, ข้อมูล ณ สิ้นเดือน พ.ค. 67)
โดยปัจจุบันกองทุนหลักมีสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ 5 อันดับแรก ได้แก่ SMFG หนึ่งในสามกลุ่มสถาบันการเงินที่ยักษ์ใหญ่ประเทศญี่ปุ่น, ITOCHU CORPORATION บริษัทการค้าที่ใหญ่ในญี่ปุ่นและมีการดำเนินธุรกิจในหลายประเทศทั่วโลก, Mitsubishi UFJ Financial Group เป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่มีขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น, Hitachi LTD ผู้ผลิตยานยนต์เจ้าใหญ่ระดับโลก และ Shin ETSU Chem Co Ltd. บริษัทแรกในญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจซิลิโคน (ที่มา: Fidelity, ข้อมูล ณ สิ้นเดือน พ.ค. 67)
"จากปัจจัยพื้นฐานต่างๆ รวมถึงการปฏิรูปตลาดหุ้นของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในตลอดช่วงที่ผ่านมานั้น ต้องบอกว่าบริษัทญี่ปุ่นมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้บริษัทมีการเติบโตของกำไร และส่งผลให้ระดับราคาของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ การประกาศยกเลิกนโยบายการเงินติดลบของทางธนาคารกลางญี่ปุ่นนั้น ก็ค่อนข้างส่งผลกระทบเชิงบวกต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินต่ำ และมีการถือครองเงินสดในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง จึงไม่ได้รับผลกระทบเท่าไรนักจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น นอกจากนั้น การที่ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ได้มีการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนของญี่ปุ่นเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผล และซื้อหุ้นคืนมากขึ้น ก็ช่วยสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นให้กับผู้ถือหุ้นด้วยเช่นกัน ประกอบนโยบายการลงทุนในกองทุน KT-JAPANALL จะลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก จึงมีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับการลงทุนไปในอุตสาหกรรมที่หลากหลายในบริษัทได้ตามกรอบนโยบายการลงทุน" นางชวินดา กล่าว
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทย และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญของกองทุน KT-JAPANALL : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ และความเสี่ยงที่เกิดจากการย้ายการลงทุนไปกองทุนอื่น
คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมหลัก มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / กองทุนมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ที่มา: บลจ.กรุงไทย