เปิดเบื้องหลังการประกวด Thai Specialty Coffee Awards 2024 กับความท้าทายในการตัดสินของคณะกรรมการ และการปรับตัวของเกษตรกร เพื่อยกระดับเมล็ดกาแฟพิเศษไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

พุธ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ๑๓:๓๔
นางสาวณัฏฐ์รดา คุณะวิวัฒนานนท์ นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสมาคมกาแฟพิเศษไทย เกิดขึ้นราว 15 ปีก่อน จากกลุ่มคนในอุตสาหกรรมกาแฟที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการสร้างตัวตนของเมล็ดกาแฟพิเศษไทยให้ชัดเจนในสายตานานาชาติ เพราะในขณะนั้นกาแฟพิเศษยังไม่ได้มีตัวตนที่จับต้องได้มากนัก ยังเป็นกาแฟสดทั่วไปที่ไม่มีอัตลักษณ์ ความโดดเด่นในตัวเอง การตั้งสมาคมกาแฟพิเศษไทยในปี2015 จึงมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อพัฒนาศักยภาพกาแฟไทย ให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน จึงปรับรูปแบบการประกวด Thai Quality Coffee เป็นการประกวด Thai Specialty Coffee Awards โดยอ้างอิงและประยุกต์รูปแบบการตัดสินจากเวทีในต่างประเทศเป็นเกณฑ์การตัดสิน แต่เพิ่มการคัดเลือกผู้ชนะจาก 1 โปรเซส เป็น 3 โปรเซส เพราะมองว่ากาแฟไทยมีความหลากหลายทางด้านโปรเซสมากกว่าที่จะยึดเพียงโปรเซสใดโปรเซสหนึ่งในการตัดสิน ซึ่งอาจเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นได้
เปิดเบื้องหลังการประกวด Thai Specialty Coffee Awards 2024 กับความท้าทายในการตัดสินของคณะกรรมการ และการปรับตัวของเกษตรกร เพื่อยกระดับเมล็ดกาแฟพิเศษไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ซึ่งการตัดสินของคณะกรรมการในแต่ละขั้นตอนจะแยกกลุ่มกันชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความโน้มเอียงในการตัดสิน โดยแต่ละขั้นตอนจะยึดการให้คะแนนโดยอิงกลุ่มเป็นหลัก และใช้คณะกรรมการชุดเดิมในการตัดสินโปรเซสเดิม เพื่อให้คะแนนที่ออกมาเป็นกลางมากที่สุด หากคะแนนที่สูงหรือต่ำเกินจากคะแนนอิงกลุ่ม แม้ผู้ให้คะแนนจะเป็น Head Judge ก็ตาม เพราะมองว่าไม่ใช่คะแนนที่เห็นตรงกัน อาทิ คะแนนของคนส่วนใหญ่อยู่ที่ 85 คะแนน บวกลบไม่เกิน 2 คะแนน แล้วมีกรรมการท่านหนึ่งให้ 91 คะแนนเพราะความชอบส่วนตัว ซึ่งหากรวมคะแนนทั้งหมดโดยไม่อิงกลุ่มจะทำให้คะแนนสูงขึ้นจาก 85 คะแนนเป็น 87 คะแนนได้ ซึ่งไม่ใช่คะแนนเสียงของคนส่วนใหญ่ ดังนั้น เพื่อความเป็นประชาธิปไตย จึงต้องตัดคะแนนต่ำสุดและสูงสุดออก เพื่อให้คะแนนอยู่ในค่าเฉลี่ยเดียวกันและตัวกาแฟได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด ซึ่งรูปแบบการตัดสินในปัจจุบันนั้นถือว่ามีความละเอียด ครบถ้วน และสามารถส่งต่อความคิดเห็นหรือแนวทางการพัฒนากาแฟคะแนนที่เกษตรกรได้รับ เพื่อให้นำกลับไปพัฒนาทั้งด้านการเพาะปลูกและแปรรูปของตนเองได้ ซึ่งความคิดเห็นของคณะกรรมการก็เป็นอีกผลลัพธ์สำคัญ ที่เกษตรกรรอคอยทุกปี ไม่แพ้ผลการตัดสินผู้ชนะในแต่ละโปรเซส

ด้านนายวิทยา ไพศาลศักดิ์ คณะกรรมการสมาคมกาแฟพิเศษ หนึ่งในทีม Green Grading กล่าวเสริมว่า สำหรับการให้คะแนนกับสารกาแฟที่ส่งเข้าประกวดจะตรวจสอบอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ตั้งแต่กายภาพของเมล็ดกาแฟที่ส่งเข้ามาว่าเป็นอย่างไร มีค่าความชื้นหรือสิ่งไม่พึงประสงค์หรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบในขั้นตอนแรกแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรไทยเก่งขึ้นทุกปี โดยในปีนี้มีตัวอย่างส่งเข้าประกวด 512 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ด่านแรก 472 ตัวอย่าง คิดเป็น 86% ของจำนวนที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด โดยมีสัดส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์เพียง 14% เป็นที่น่ายินดีว่าสัดส่วนนี้ลดลงทุกปี เพราะเกษตรกรมีความเข้าใจ และเอาใจใส่เรื่องการทำกาแฟมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือผู้บริโภคทั้งหลายจะได้ดื่มกาแฟที่ดีจากเกษตรกร

ด้านนายชาติชาย แซ่ท้าว ตัวแทนเกษตรกร ผู้ชนะการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟพิเศษไทย ประจำปี 2567 (Honey Process) จากแหล่งปลูกหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการกาแฟพิเศษไทยเกิดขึ้นเมื่อราว 15 ปีก่อน ที่ครอบครัวเปลี่ยนจากการทำไร่เลื่อนลอยมาปลูกกาแฟซึ่งได้รับสายพันธุ์มาจากโครงการหลวง ซึ่งจากการศึกษาสายพันธุ์ต่างๆที่ได้รับมา ก็พบว่าลักษณะทางกายภาพของแต่ละสายพันธ์ อาทิ ลำต้น กลิ่น ยอด ผลเชอร์รี่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีเพียงบางสายพันธุ์เท่านั้นที่เมื่อปลูกจะได้รสชาติที่ดีแตกต่างจากพันธุ์อื่นๆ ทำให้สนใจและศึกษามาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเข้าวงการอย่างจริงจังเมื่อราว 8 ปีที่แล้ว และเริ่มส่งเมล็ดกาแฟเข้าประกวดครั้งแรกในปี 2019 ได้รับรางวัลลำดับที่ 6 หลังจากแอบซุ่มศึกษามานานหลายปี

สำหรับการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟพิเศษไทย ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ ได้รับ 2 รางวัลที่ภาคภูมิใจ คือ เป็นผู้ชนะของ Honey Process มีคะแนน Cupping Score อยู่ที่ 91.06 คะแนน และได้รับรางวัลลำดับที่ 3 Washed Process มีคะแนน Cupping Score อยู่ที่ 87.40 คะแนน ซึ่งรางวัลที่ได้รับเป็นเสมือนสิ่งตอบแทนความตั้งใจของเกษตรกร ที่ดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว จนถึงการโปรเซส เพราะยิ่งเราทำดีมากเท่าไหร่ สิ่งที่เราจะได้รับกลับคืนก็มากขึ้นเท่านั้น ถ้าคนต้นน้ำทำของที่ดี ปลูกดีด้วยความตั้งใจ ก็ส่งต่อสิ่งที่ดีไปยังคนกลางน้ำที่เป็นโรสเตอร์ บาริสต้า และคนปลายน้ำที่เป็นผู้บริโภคได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่กลับมาก็คือ การซื้อเมล็ดกาแฟมากขึ้นจากกิโลกรัมก็เป็นตัน และวงจรนี้ยังช่วยสิ่งแวดล้อมได้อีก เพราะกาแฟที่ดีนั้นเกิดจากป่าที่ดี ทุกอย่างเชื่อมโยงเกื้อหนุนกันไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ

สำหรับผู้ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเกษตรกรไทย ที่ปลูกเมล็ดกาแฟพิเศษไทยคุณภาพดีจากแหล่งปลูกต่างๆ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ เฟสบุ๊ค สมาคมกาแฟพิเศษไทย (SCATH) คลิก https://www.facebook.com/sca.thailand หรือติดตามงาน Thailand Coffee Fest 2024 Year End เทศกาลกาแฟส่งท้ายปลายปีที่เชื่อมโยงธรรมชาติ-กาแฟ-ผู้คน เข้าด้วยกัน และมีของขวัญสุดพิเศษให้เลือกช้อปมากมาย ระหว่างวันที่ 12 - 15ธันวาคมนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5-6 ชั้นLG หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ เฟสบุ๊ก Thailand Coffee Fest คลิก https://www.facebook.com/ThailandCoffeeFestหรือเว็บไซต์ www.thailandcoffeefest.org

ที่มา: ChomPR

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ