เช็กภาวะสมองล้า เหมือนจำได้แต่ลืม!

พุธ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ๑๓:๒๗
เคยเป็นไหมคะ เหมือนจำได้ แต่อยู่ดีๆ ก็ลืม อย่างนี้เข้าข่ายสมองล้าหรือไม่ ต้องมาลองเช็กกันหน่อยค่ะ  สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม เหนื่อยง่าย  ร่างกายของคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่? ถ้ามีแปลว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะสมองล้าอยู่  นพ.นรินทร สุรสินธน แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี)  กล่าวว่า สมองล้าเป็นภาวะที่สมองทำงานหนักมากเกินไปเป็นเวลานาน จนส่งผลต่อสมองในส่วนของสารเคมีทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาททำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ บางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเราปล่อยไว้นานจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราได้อย่างมากมาย
เช็กภาวะสมองล้า เหมือนจำได้แต่ลืม!

สาเหตุของสมองล้า  ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ได้แก่

  • มีสภาวะความเครียดมากเกินไปส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดเสี่ยงภาวะสมองล้า
  • พักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และขาดการออกกำลังกาย
  • รับคลื่นแม่เหล็กจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใช้งานคอมพิวเตอร์มากเกินไป
  • เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น
  • โรคเรื้อรังบางชนิดจะเพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองล้าได้เช่นกัน
  • เกิดจากสารพิษในร่างกาย เช่น สารโลหะหนัก การปนเปื้อนในอาหาร หรือมลพิษ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารบางประเภท เช่น วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน หรือสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งหาได้จากผักผลไม้เป็นหลัก

อาการของภาวะสมองล้า

  • อาการทางสมองจากภาวะสมองล้าได้แก่ มีปัญหาด้านความจำ ไม่ค่อยมีสมาธิ คิดได้ช้า ส่งผลให้ทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ลำบากมากยิ่งขึ้น
  • อาการทางร่างกายและอารมณ์จากภาวะสมองล้าได้แก่ อาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะแบบเรื้อรัง หงุดหงิดง่าย และสายตาอ่อนเพลีย

อย่าปล่อยไว้นานไม่ดี! มาทำให้ภาวะสมองล้ากลับมาแข็งแรง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลให้สุขภาพสมองแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เริ่มจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับเป็นเวลา ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย บริหารจัดการความเครียดของตนเอง และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง 

แต่หากภาวะสมองล้ามาจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะฮอร์โมนขาดความสมดุล จุลินทรีย์ในลำไส้ขาดความสมดุล หรือมีสารพิษตกค้างในร่างกาย อาจจำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดก่อน เพื่อการฟื้นฟูภาวะสมองล้าอย่างตรงจุด

ภาวะสมองล้าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะวัยทำงานและวัยเรียน ถึงแม้อาการจะสามารถหายได้ในเวลาต่อมา แต่หากไม่ใส่ใจอาจมีโรคอื่นๆ ตามมาในภายหลัง การผ่อนคลายตนเองไม่ให้สมองทำงานหนักจึงเป็นสิ่งที่เราควรคำนึงถึงอยู่ตลอด และดูแลตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ พร้อมทั้งปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เพราะกุญแจหลักของร่างกายเราคือ สมอง ที่ใช้งานอยู่ตลอดเวลา

ที่มา: ไลฟ์เซ็นเตอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version