DITP และ RX Tradex เดินหน้ายกระดับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย พร้อมเชื่อมโยงธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคต ในงาน TILOG - LOGISTIX 2024

ศุกร์ ๐๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ ๑๑:๒๐
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) ร่วมกับ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ (RX Tradex) กำหนดจัดงาน TILOG - LOGISTIX 2024 ระหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคมนี้ ที่ไบเทค ฮอลล์ 98พร้อมดึงผู้ประกอบการกว่า 150 บริษัท นำเสนอสินค้าและบริการกว่า 415 แบรนด์จาก 25 ประเทศ เข้าจัดแสดงนวัตกรรม เทคโนโลยีและบริการด้านโลจิสติกส์ พร้อมกิจกรรมเสริมองค์ความรู้ สัมมนาวิชาการ คาดผู้เข้าชมงาน 9,000 ราย
DITP และ RX Tradex เดินหน้ายกระดับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย พร้อมเชื่อมโยงธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคต ในงาน TILOG - LOGISTIX 2024

นางสาวณัฐิยา สุจินดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า "อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยปี 2566 มีทิศทางเติบโตดี สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทยคาดการณ์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปี 2567 จะขยายตัวร้อยละ 15 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและปัจจุบันไทยมีผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์เป็นนิติบุคคลรวม 35,593 ราย (ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดือนมิถุนายน 2567) มีมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ที่ 5,808.76 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.36 ของการลงทุนในกลุ่มโลจิสติกส์ในไทย โดยจีนเป็นสัญชาติที่ลงทุนมากที่สุด นอกจากนี้จากการจัดอันดับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Performance Index : LPI) ของธนาคารโลก ปี พ.ศ. 2566 พบว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 34 จาก 139 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซียสำหรับภูมิภาคอาเซียน"

ดร. ชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เผยว่า "ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจทั้งจากภายในประเทศ และนอกประเทศ อาทิ การขาดแคลนแรงงาน ภาวะต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นทุกรายการ มาตรการทางการค้าจากหลายประเทศ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) EUDR (EU Deforestation-free Regulations) หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับการลดการผลิตและการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตัดไม้ทำลายป่าและทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่า ของสหภาพยุโรปและคาดว่าประเทศคู่ค้าสำคัญอื่นจะกำหนดนโยบายออกมาบังคับใช้ในลักษณะเดียวกันในไม่ช้า ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังประเทศเหล่านั้นต้องปรับตัว วางแผนและดำเนินการตามนโยบายเหล่านี้ ขณะเดียวกันก็เป็นทั้งโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่สามารถปรับตัวได้ ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า ปรับปรุงกระบวนการผลิต ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์และการขนส่งสินค้า และเลือกใช้พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ซึ่งผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ถือเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์สำคัญสำหรับผู้ส่งออก ดังนั้น การคัดเลือกผู้ให้บริการที่เข้าใจในความต้องการทางธุรกิจและช่วยผู้ส่งออกวางแผน เสนอทางเลือกในการพัฒนา ตลอดจนช่วยแก้ปัญหา จึงสำคัญอย่างยิ่งและเป็นกุญแจสู่ความยั่งยืนในการค้าระหว่างประเทศ"

นายเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พูดถึงอนาคตของวงการโลจิสติกส์ว่า "การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยผู้ให้บริการสามารถควบคุมการทำงานของทั้งซัพพลายเชน ได้ข้อมูลมาใช้ตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงเวลา มีประสิทธิภาพ และควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้น เทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญกับบริการโลจิสติกส์ เช่น หุ่นยนต์จัดการคลังสินค้าและการขนลำเลียงสินค้า AI ช่วยควบคุมการขับขี่และเส้นทางของผู้ขนส่งสินค้า ซอฟต์แวร์ช่วยจัดการวางแผนเส้นทางการส่งสินค้า รวมไปถึง Blockchain ช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลของสินค้าหลายประเภทจำนวนมาก ๆ และเชื่อมต่อกับ Stakeholder ทั้งซัพพลายเชนได้ ซึ่งการพัฒนาด้านนี้ ต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน และทำกันอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก"

ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของโลจิสติกส์ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศ DITP จึงร่วมกับ RX Tradex จัดงาน TILOG - LOGISTIX 2024 โดยนางสาวณัฐิยากล่าวถึงแนวคิดการจัดงานว่า "งานปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด 'Connecting the Logistics Future' หรือ เชื่อมโยงโลกของธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคต เพื่อแสดงถึงศักยภาพ ความพร้อม และความร่วมมือของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในการปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคตที่มุ่งเน้นนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยีดิจิทัล และความยั่งยืน"

นางวราภรณ์ ธรรมจรีย์ กรรมการผู้จัดการ RX Tradex กล่าวว่า "ภายในงานจะมีการแสดงสินค้าจากนานาชาติ จากไทย จีน ญี่ปุ่น นอร์เวย์ มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย รวมทั้งพาวิลเลี่ยนจากจีน โดยนวัตกรรมเด่นที่นำมาแสดง ได้แก่ ระบบช่วยเหลือและตรวจจับพฤติกรรมผู้ขับขี่รถขนส่งด้วย AI, ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ใช้หุ่นยนต์ช่วยลำเลียงกระบะบรรจุสินค้า, ถุงลมกันกระแทกในตู้คอนเทนเนอร์ชนิดหน้าเรียบ, ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีคิดคำนวณแทนมนุษย์, บริการขนส่งทางรางที่ครบวงจร และอีกมาก ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้เข้าชมงานในปีนี้ไม่น้อยกว่า 9,000 ราย และตั้งเป้ามูลค่าการซื้อขายในงานไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท"

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมพิเศษ อาทิ นิทรรศการภาพรวมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทย, Innovation Showcase, งานสัมมนา Trade Logistics Symposium 2024 และ World Transport & Logistics Forum

งาน TILOG - LOGISTIX 2024 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคมนี้ ณ ไบเทค ฮอลล์ 98 สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ www.tilog-logistix.com หรือโทร. 0 2686 7222 งานนี้เป็นงานเจรจาทางธุรกิจ ผู้จัดงานจึงขอความร่วมมือผู้ชมงานแต่งกายสุภาพ และสงวนสิทธิ์ไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าชมงาน

ที่มา: อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ