ผอ.ทีอีไอ ย้ำวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก

พุธ ๑๔ สิงหาคม ๒๐๒๔ ๑๓:๔๗
ปฎิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันพบว่าอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และสำหรับประเทศไทยเอง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 372 ล้านตัน และคาดว่าจะปล่อยสูงสุด 388 ล้านตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในอนาคต ปริมาณการปล่อยยังไม่ถึง 1 % ของทั้งโลกและยังเป็นอันดับที่ 20 ของโลก แต่ประเทศไทยกลับเป็นประเทศที่ถูกจัดอันดับที่ 9 ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ได้พูดถึงวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในงานชุมนุมกาชาด ครั้งที่ 12 สภากาชาดไทย ที่มีสมาชิกกาชาดเข้าร่วมกว่า 7,000 คน ในประเด็น “ความท้าทายของสภากาชาดไทยและแนวทางสำหรับศตวรรษที่ 21” โดยย้ำว่า วิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมคือปัญหาที่กำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก การช่วยเหลือประชาชน ตามภารกิจกาชาดโดยเฉพาะผู้ด้อยอากาส ก็จะเป็นประเด็นที่จะต้องเตรียมพร้อมเช่นกัน
ผอ.ทีอีไอ ย้ำวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก

ดร.วิจารย์ ชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันมนุษย์ใช้ทรัพยากรไปแล้วเทียบเท่ากับโลก 1.7 ใบ การใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษต่างๆ  เช่น ปัญหาขยะล้นเมือง ขยะพลาสติกในทะเล การสะสมไมโครพลาสติกในทะเล ที่ส่งต่อการสะสมในร่างกายของมนุษย์ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) สิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การทำลายป่า และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกและสภาวะอากาศที่แปรปรวน และนำมาสู่ปัญหาวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่กำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทั้งโลก ซึ่งสังเกตได้จากเหตุการณ์ต่างๆที่ต้องเผชิญ เช่น การละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลกที่เพิ่มขึ้น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และการเกิดภัยพิบัติต่างๆ ที่เพิ่มความถี่และความรุนแรงที่ส่งผลกระทบกว้างขวางขึ้น เช่น น้ำท่วมในพื้นที่ทะเลทรายที่เมืองดูไบ หิมะตกในทะเลทราย กระบองเพรชที่เติบโตในประเทศที่มีหิมะ หรือกระทั่งการอุบัติใหม่ของเชื้อโรคที่ถูกแช่แข็งอยู่ในธารน้ำแข็ง ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่eroต้องจับตามองและเตรียมพร้อมเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว

ในส่วนของประเทศไทย การดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีการกำหนดเป้าหมายในการลด ทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ควบคู่ไปกับการกำหนดแนวทางการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) และการสร้างภูมิคุ้มกันหรือความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Resilience)

โดยที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำการคำนวณและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อช่วยสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีนโยบายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทำการประเมินและทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมองค์กร หรือจากสินค้าและบริการขององค์กร เพื่อนำไปสู่การตั้งเป้าหมายและปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ และจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ปัจจุบันหลายภาคส่วนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการดำเนินกิจกรรมที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ธรรมชาติมากมาย และสภากาชาดไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน จึงได้ร่วมมือกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยดำเนินโครงการ “Green” Red Cross โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับเจ้าหน้าที่ของสภากาชาดไทย และเพื่อจัดการกับก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานภารกิจของสภากาชาดไทย เพื่อมุ่งหวังให้เกิดผลผลิต ได้แก่ สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ต้นแบบ รายงานค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) กิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานภายใต้สภากาชาดไทย และโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสภากาชาดไทยมีศักยภาพในการจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้กับหน่วยงานของตนเองได้

โครงการ “Green” Red Cross นี้ ยังช่วยเสริมการดำเนินงานของสภากาชาดไทยให้เป็นสากลที่สอดรับกับเป้าหมายของกฎบัตรว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรด้านมนุษยธรรม (Climate and Environment Charter for Humanitarian Organizations) ซึ่งเป็นความร่วมมือของกลุ่มองค์กรด้านมนุษยธรรมในระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตระหนักถึงวิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในความตกลงปารีส กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)

ผอ.ทีอีไอ ย้ำวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๓๑ ไทยเครดิตรายงานผลประกอบการปี 2567 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,624.0 ล้านบาท
๐๙:๔๑ หมอหมีขอเม้าท์! เผยสูตรลับสุขภาพดีด้วยตัวเอง ตามแบบฉบับ เม้าท์กับหมอหมี
๐๙:๑๖ แอ็กซอลตา ประกาศเทรนด์สีรถยนต์ปี 2025 ได้แก่ สีเอเวอร์กรีน สปรินท์ (Evergreen Sprint)
๐๙:๓๔ เกาะติดเลือกตั้ง อบจ. 68 กับไทยพีบีเอส เสียงท้องถิ่นชี้อนาคตประเทศไทย
๐๙:๑๙ น่ารักจนใจเจ็บ! Harupiii อินฟลูญี่ปุ่นรักไทย เปลี่ยนวลีดัง ทำไมทำไม สู่เพลงใหม่ยอดวิวถล่มทลาย
๐๙:๓๔ การแข่งขัน MUICT ENVI Mahidol Hackathon 2025 ภายใต้หัวข้อ : Digital Innovation for Carbon Neutrality Society
๐๙:๒๔ จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่สินค้าส่งออก เครื่องเคลือบจากอำเภออี้หนาน มณฑลซานตง โด่งดังไกลถึงต่างแดน
๐๙:๓๘ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ปี 2567 จำนวน 2,852.1 ล้านบาท เติบโต 77.7%
๐๙:๕๔ RBF สานพลังปลูกป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู ร่วมแก้วิกฤตโลกร้อน ในโครงการ RBF GREEN VOLUNTEER ปีที่
๐๙:๐๖ ต้อนรับความมั่งคั่งและโชคลาภ พร้อมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนที่โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ