ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ กล่าวว่า “สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ที่จะร่วมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการผลงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพ
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล มีโครงการในการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม ได้แก่
- การบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยมีโครงการที่พร้อมส่งเสริมการสร้าง Entrepreneur Mindset ให้กับอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษา สนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ
- การจัดตั้งพื้นที่ Co-Working Space ภายใต้ชื่อ MaSHARES Co-Working & Maker Space เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรม
- การสนับสนุนทุนในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม เพื่อให้สามารถต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้
- การให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายทางการค้า รวมไปถึงผลักดันการนำทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคม
- การจัดกิจกรรมและโครงการที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ
โครงการเหล่านี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในประเทศไทย นอกจากนี้ สถาบันยังมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการสร้างสตาร์ทอัพและการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม
วันดี วัฒนกฤษฎิ์ CEO บริษัท MUI Robotics จำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก iNT กล่าวว่า “MUI Robotics เป็นหนี่งในสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนบ่มเพาะโดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัทฯ จดทะเบียนในนาม บริษัท เอ็มยูไอ โรบอติกส์ จำกัด โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสประดิษฐ์ (Artificial Senses) สำหรับหุ่นยนต์ เพื่อการวิเคราะห์ การทดสอบกลิ่นและรสชาติ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
MUI Robotics พัฒนาและจัดจำหน่ายเครื่องตรวจวัดกลิ่นด้วยเทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อาหารและเครื่องดื่ม การเกษตร การแพทย์ เคมี ยานยนต์ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยบริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นโดย อาจารย์ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ Chief Innovation Officer (CIO) ของบริษัท, วันดี วัฒนกฤษฎิ์ CEO และทีมงานที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้เทคโนโลยีที่อาจารย์ธีรเกียรติ์ ได้พัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็น จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Nose), ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tongue) และเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม
ปัจจุบัน MUI Robotics มีผลิตภัณฑ์หลัก 3 กลุ่ม ได้แก่:
- เครื่องตรวจวัดกลิ่น E-Nose สำหรับงานห้องแล็บ เช่น การควบคุมคุณภาพ (QC) และการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์
- เครื่องตรวจวัดกลิ่น E-Nose สำหรับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันทั้งสองผลิตภัณฑ์นี้เป็นคีย์โปรดักต์ของเรา และกำลังขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์
- ผลิตภัณฑ์สมาร์ทฟาร์ม ที่ใช้เซ็นเซอร์ IoT สำหรับการเกษตร
MUI Robotics จดทะเบียนในปี 2564 และปัจจุบันมียอดระดมทุนประมาณ 22 ล้านบาท โดยมีหน่วยงานที่ร่วมลงทุน 4 หน่วยงาน ได้แก่ Innospace, FTI, NIA, และ Y&Archer โดยเงินทุนเริ่มต้นของบริษัทฯ มาจากการสนับสนุนของ iNT จำนวน 900,000 บาท ต้องขอบคุณเงินทุนและการสนับสนุนด้านอื่น ๆ จาก iNT มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิบัตรเทคโนโลยี การสนับสนุนด้านต่าง ๆ การจัดกิจกรรมสัมมนา หรือความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่ MUI ต้องการ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำให้ MUI เติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้
สำหรับท่านใดที่สนใจนำงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ สามารถมาปรึกษาทางหน่วยงาน iNT ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจดสิทธิบัตร (IP) การให้สิทธิ์การใช้งาน (License) การก่อตั้งบริษัท หรือการทำการตลาดและการหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ซึ่งมั่นใจว่า iNT มหาวิทยาลัยมหิดลจะสามารถสนับสนุนทุกท่านในการสร้างธุรกิจให้สำเร็จเช่นเดียวกับที่ให้การสนับสนุน MUI Robotics อย่างแน่นอน”
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) หรือ อิ๊นท์ พร้อมสนับสนุนผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของชาวมหิดลในการเป็น Entrepreneurial University แบบเต็มตัวเพื่อเป็นการสร้างโอกาสใหม่ในการนำพาประเทศไทยไปสู่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และทำให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 999 ถนน พุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล นครปฐม 73170 โทร. 02-849-6050
ที่มา: Notable Bangkok