การปฏิรูปสู่ดิจิทัล และ AI สำหรับอุตสาหกรรม สร้างจุดเปลี่ยนให้โลกพลังงาน

ศุกร์ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๗ ๑๐:๔๔
โดย ปีเตอร์ เฮอร์เวค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
การปฏิรูปสู่ดิจิทัล และ AI สำหรับอุตสาหกรรม สร้างจุดเปลี่ยนให้โลกพลังงาน

ทุกวันนี้ ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ นั้นให้ศักยภาพในการปฏิรูปพลังงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการผลิตให้สอดรับกับความต้องการได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยเร่งให้เปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงานที่ลดการปล่อยคาร์บอนได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหลายบริษัทกำลังพยายามทำความเข้าใจถึงคุณค่าที่แท้จริงในการใช้ AI  แต่กระนั้นก็ยังคงมีอุปสรรคที่ขัดขวางการนำ AI มาใช้งานอย่างแพร่หลายอยู่ดี แม้ว่า AI สำหรับอุตสาหกรรมดูจะเป็นตัวเร่งให้มีการนำมาใช้งานก็ตาม ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้ AI ทั้งหมด หรือว่าไม่ใช้เลย แต่ให้เริ่มจากกรณีการใช้งานที่เกี่ยวข้องที่สุดสำหรับธุรกิจ

ฟิลิปป์ แรมบาค ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย AI ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ย้ำว่า "การนำ AI มาใช้ให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเข้าใจถึงศักยภาพที่แท้จริงของ AI นอกเหนือจากการสาธิตการใช้งานที่สวยหรูดูดี และเข้าใจถึงผลกระทบต่อธุรกิจ" มุมมองที่เน้นธุรกิจเป็นศูนย์กลาง (Business-centric) จะช่วยให้บรรดาผู้นำสามารถตอบคำถามสำคัญได้ว่า "ควรใช้ AI ดีหรือไม่"

การปฏิรูปสู่ดิจิทัล และ AI สำหรับอุตสาหกรรม ให้ประโยชน์ในอนาคตอันใกล้อย่างไร?

ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน โดย AI สามารถปรับกระบวนการที่ใช้พลังงานสูงในโรงงาน อาคาร และแม้แต่โรงบำบัดน้ำเสียให้มีการใช้งานได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Gradska Toplana ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการระบบทำความร้อนในเขต Karlovac ประเทศโครเอเชีย รองรับพลเมืองมากกว่า 8,000 ราย โดยใช้ระบบ District Energy ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค พร้อม AI Load Forecasting เพื่อคาดการณ์ความต้องการในการใช้ความร้อน เพื่อปรับการใช้พลังงานได้เหมาะสม ลดต้นทุนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา รวมถึงลดการปล่อยมลพิษ

ควบคุมความต้องการพลังงานให้เหมาะสม โดย AI สามารถบริหารจัดการไมโครกริด และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานเกินขอบเขต ซึ่งซอฟต์แวร์ EcoStruxure(TM) Microgrid Advisor ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะช่วยให้จัดการเรื่องดีมานด์และซัพพลายด้านพลังงานได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้า อย่างศูนย์การค้า Citycon ที่ Lippulaiva ในประเทศฟินแลนด์ มุ่งสู่ Net Zero ได้ โดย ชไนเดอร์ ใช้อัลกอริทึมของแมชชีนเลิร์นนิ่ง มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เครื่องกำเนิดพลังงาน สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เครื่องกำเนิดพลังงานสำรอง ระบบ HVAC ระบบแสงสว่าง ระบบ UPS ระบบพลังงานความร้อนร่วม (Combined heat and power หรือ CHP) ตลอดจนการวัดและตรวจสอบการใช้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อบริหารดีมานด์และซัพพลายด้านพลังงานได้อย่างเหมาะสมตลอดเวลา

เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดย AI เข้ามาปฏิวัติเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยการใช้ความสามารถด้านการวิเคราะห์ของ AI ช่วยให้บริษัทปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดระยะเวลาดาวน์ไทม์ และบรรลุประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างน่าทึ่ง ตัวอย่างที่ดีคือ Accioca ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของสเปน ได้แสดงให้เห็นถึงขุมพลังในการปฏิรูปของ AI ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ร่วมกับ AVEVA  โดย Acciona ได้นำ PI System ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้งานร่วมกับ AI ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานเพิ่มขึ้นถึง 20% นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานของปั๊มแรงดันสูงได้ถึง 4.6% และป้องกันการหยุดชะงักของโรงงานทั้งหมดได้ถึงสามครั้ง จากการคาดการณ์ปัญหาได้ล่วงหน้า

AI สำหรับอุตสาหกรรม ศูนย์กลางของธุรกิจ

ในการนำ AI มาใช้งานไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือ การควบคุมคุณภาพของข้อมูล ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความเสี่ยงทางดิจิทัล

คุณภาพของข้อมูล และความน่าเชื่อถือ

AI สำหรับอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือ Gen-AI ต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกฝึกมา เพราะ AI ที่ถูกฝึกด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะไม่แม่นยำและเกิดความอคติได้เช่นกัน เรื่องนี้เป็นเหตุผลที่ว่า โมเดลภาษาขนาดใหญ่ หรือ LLMs อาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบเข้มงวด อย่างพลังงาน

ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือคือ การให้มนุษย์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ สามารถช่วยตรวจสอบ และปรับปรุงรูปแบบด้วยการใช้ข้อมูลคุณภาพสูง ทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น หาก AI เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานประจำวัน การให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของข้อมูล และการจัดการกับอคติที่อาจเกิดขึ้นในข้อมูลฝึกถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ชไนเดอร์ เรายังใช้ AI ในการกลั่นกรองข้อมูลเพื่อลบอคติออกไป และเพื่อให้มั่นใจว่านำ AI มาใช้อย่างมีความรับผิดชอบ

ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเสี่ยงทางดิจิทัล

ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเสี่ยงทางดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับผู้บริหารหลายคน ในฐานะซีอีโอของบริษัทที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปพลังงานด้วยการปรับกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล และ AI ที่มักจะถูกถามว่า "AI พัฒนาได้เร็วแค่ไหน?" และ "มีความเสี่ยงอะไรบ้าง"?

ความจริงคือ AI พร้อมใช้งานแล้วในวันนี้ เพราะแนวคิดเรื่องของ AI มีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว เพราะชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานร่วมกับ AI ในรูปแบบต่างๆ มานานกว่า 40 ปี พร้อมกับได้ก่อตั้งองค์กรที่ดูแลด้าน AI ขึ้นโดยเฉพาะ ก่อนที่ GPT ของOpenAI จะเกิดด้วยซ้ำ นอกจากนี้ เรายังได้แต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย AI เพื่อดูแลกลยุทธ์ด้าน AI ในบทบาทการทำงานสำคัญๆ

สำหรับองค์กรที่กำลังกำหนดกลยุทธ์ในการใช้ AI ควรพิจารณาถึงการทำงานร่วมกับผู้จำหน่ายที่มีประสบการณ์ยาวนาน เพื่อสร้างความสำเร็จ การผสานรวมเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ เข้ากับการบริหารจัดการความเสี่ยงของ AI ควรเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจ ซึ่งชไนเดอร์ ได้นำมาตรการความปลอดภัยที่แข็งแกร่งมาใช้ รวมถึงหลักธรรมาภิบาลด้านข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวที่ถูกนำไปใช้กับ AI  นอกจากนี้กลยุทธ์ความเสี่ยงในการบริหารจัดการ AI ควรมีการคาดการณ์เรื่องกฎหมายเช่น กฎหมาย AI ของสหภาพยุโรป โดยในสหรัฐฯ กรอบการจัดการความเสี่ยงในการใช้ AI ของ NIST สามารถช่วยให้บริษัทพลังงานเร่งนำนวัตกรรมด้าน AI มาใช้งานได้อย่างมีความรับผิดชอบ

ชไนเดอร์ ได้นำเสนอวิธีการเดียวกันในการจัดการความเสี่ยงด้านดิจิทัลในช่วงของการปรับสู่กระบวนการดิจิทัลทั่วอุตสาหกรรมในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ในยุคปัจจุบันที่มีการก้าวกระโดดทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ทั้ง AI และความเสี่ยงด้านดิจิทัล กลายเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจในที่สุด และต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างสอดคล้อง

อนาคตของพลังงานด้วย AI สำหรับอุตสาหกรรม

ในฐานะนักวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีความหลงใหลในข้อมูล Digital Twin และการลดการปล่อยคาร์บอน ผมรู้สึกตื่นเต้นถึงศักยภาพของ AI ในอุตสาหกรรมและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงาน วันนี้เรามีเทคโนโลยีที่สามารถลดการปล่อย CO2 ได้มากถึง 70% และตอนนี้เราจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้อย่างรวดเร็ว ทั้งในฝั่งการผลิตและการนำไปใช้งาน (ซึ่งเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงด้านคาร์บอนที่ 55%)

การประสานความร่วมมือ และนโยบายที่ให้การสนับสนุน จะช่วยขยายการใช้โซลูชันเหล่านี้ และสร้างศักยภาพให้อุตสาหกรรมพลังงานในการเป็นหัวหอกนำพาไปสู่การปฏิรูประบบพลังงาน การเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไปนับว่าไม่ทันการณ์ เราต้องนำ AI มาปฏิรูปทั้งการผลิตและการใช้พลังงาน เพื่อก้าวไปสู่โลกที่สะอาดขึ้น และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

ที่มา: เอพีพีอาร์ มีเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย