วว./วช. จ.สระบุรี จับมือภาคีเครือข่าย Kick off โครงการพัฒนาต้นแบบจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร ชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

พุธ ๒๑ สิงหาคม ๒๐๒๔ ๐๘:๕๗
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) บูรณาการความร่วมมือกับจังหวัดสระบุรีและหน่วยงานภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox) ด้านการจัดการของเสีย จัดงาน Kick off “โครงการการพัฒนาต้นแบบการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อพัฒนาต้นแบบการจัดการและลดปริมาณของเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมและขยะชุมชนเมืองในพื้นที่นำร่องเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน
วว./วช. จ.สระบุรี จับมือภาคีเครือข่าย Kick off โครงการพัฒนาต้นแบบจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร ชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก  นางสาวกาญจน์ชนิษฐา  เอกแสงศรี  ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี  ในฐานะผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน  ดร.ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการ  วว.  กล่าวเปิด  Kick  off   โครงการฯ  นางสาวสุภาพรรณ   โทขัน  ผอ.กลุ่มงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก วช. กล่าวแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ  ดร.สิริพร   พิทยโสภณ  นักยุทธศาสตร์ระดับสูง รักษาการแทน ผอ. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)  กล่าวแนวทางนโยบายต่อการพัฒนาโครงการให้บรรลุตามนโยบายการขับเคลื่อนเมื่อสระบุรีคาร์บอนต่ำ ดร.ประทีป  วงศ์บัณฑิต  รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. กล่าวรายงาน  และนายธีรรัตน์  จึงยิ่งเรืองรุ่ง  นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน  370  คน เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม)  อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ผู้แทนกลุ่มคลัสเตอร์ และผู้แทนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้   1) เพื่อพัฒนาต้นแบบการจัดการและลดปริมาณของเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมและจากชุมชนเมืองในพื้นที่นำร่อง 2) เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนจากการจัดการของเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมและจากชุมชนเมืองในพื้นที่นำร่อง  3) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการจัดการขยะของเหลือทิ้ง และวิธีการคัดแยกของเหลือทิ้งให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่นำร่อง  และ 4) เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชน ภาครัฐ ผู้ประกอบการ/ผู้ใช้ประโยชน์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นำร่อง

ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี   กล่าวว่า  จังหวัดสระบุรีมีหน่วยงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 109แห่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันของประเภทขยะ ทั้งขยะเมือง ขยะภาคการเกษตร และขยะอุตสาหกรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ ต้องมีความรู้ในแนวทางการจัดการขยะที่มีลักษณะแตกต่างกัน  โดยจังหวัดสระบุรีได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ ด้านการจัดการของเสีย เพื่อขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนให้บรรลุผลครอบคลุมทุกด้าน ขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หน่วยงานในพื้นที่ที่มีส่วนสำคัญและมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการจัดการขยะของเหลือทิ้ง และวิธีการคัดแยกของเหลือทิ้ง ลดการปลดปล่อยคาร์บอนจากการจัดการของเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมและจากชุมชนเมืองให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่นำร่อง  เพื่อเป็นต้นแบบให้หน่วยงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ สามารถนำต้นแบบเทคโนโลยีเหล่านี้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ต่อไป

ผู้ว่าการ วว.  กล่าวว่า  ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่  วว. จังหวัดสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี สถาบันการศึกษา ชุมชน กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้บูรณาการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเมือง ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และเรียนรู้ เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่นำร่องจังหวัดสระบุรี เพื่อขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนให้บรรลุผลครอบคลุมทุกด้าน ภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox) ซึ่งจะส่งผลดีต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเมือง  ก้าวไปสู่การเป็นชุมชนสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

กิจกรรมภายในงานมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและบรรยายถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของ วว. ดังนี้ 1) การคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้และระบบการรวบรวมวัสดุรีไซเคิล โดย ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย วว. และคณะ 2) การผลิตน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์ โดย คณะทีมงานจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์  3) การผลิตผลิตภัณฑ์ถ่านมูลค่าเพิ่มจากชีวมวลและเปลือกผลไม้ โดย คณะทีมงานจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม  4) การผลิตจานรองแก้วจากเศษพลาสติก  โดย คณะทีมงานจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ

“ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขยะล้นเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมโลกที่มีแนวโน้มปริมาณเพิ่มขึ้น อันเป็นเหตุจากการขยายตัวของเมืองและการจัดการของเสียที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ วว. จึงได้มีการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชนตาลเดี่ยวโมเดล ณ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่เป็นต้นแบบการจัดการขยะชุมชนโดยใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการจัดการขยะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.)  ในโครงการพัฒนาระบบนิเวศเมืองนวัตกรรม  Net  Zero  Emission  สระบุรีแซนด์บ็อกซ์   ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติ โดยการ Kick off  โครงการการพัฒนาต้นแบบการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเมืองฯ นั้น เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนดังกล่าว ” ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต   กล่าว

อนึ่ง ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชนตาลเดี่ยวโมเดล ประกอบด้วย 1) ชุดคัดแยกขยะระบบกึ่งอัตโนมัติแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมระบบกำจัดกลิ่นขยะและระบบทำความสะอาดถุงพลาสติก 2) ชุดคัดแยกชนิดและสีพลาสติกด้วยระบบ NIR และ Vision พร้อมระบบผลิตเกล็ดพลาสติกคุณภาพสูง  และ 3) นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและการนำผลพลอยได้มาใช้ประโยชน์ใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกับการผลิตสารปรับปรุงดินและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้โครงการตาลเดี่ยวโมเดลยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการจัดการขยะสู่ชุมชน ซึ่งโครงการนี้ได้ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้การบริหารจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน สามารถลดปริมาณขยะได้มากถึง 14,600 ตันต่อปี และชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้น นอกจากนี้ วว. ยังมีเทคโนโลยีการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือทิ้งเป็นผลิตภัณฑ์และพลังงาน ที่สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา

โครงการนี้ได้ขยายพื้นที่การบริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้งจากตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น พื้นที่อื่นในจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และชัยภูมิ ทั้งในพื้นที่การเกษตร และชุมชนเมือง สำหรับของเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ใบอ้อย ซังข้าวโพด เหง้าและใบมันสำปะหลัง เศษกิ่งไม้ และเปลือกผลไม้ เป็นต้น และของเหลือทิ้งจากชุมชนเมือง ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะทั่วไป โดยโครงการนี้ดำเนินการทำการสำรวจและคัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อมการจัดการของเหลือทิ้งในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ซึ่งจะมีการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจและการรับรู้การบริหารจัดการของเหลือทิ้ง ศึกษาประเภทของวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร และภาคชุมชนเมืองในแต่ละพื้นที่ และหาวิธีการรวบรม การคัดแยก การแปรรูปเบื้องต้น ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ของเหลือทิ้ง โดยอาจมีการใช้เครื่องมือและสถานที่ ณ ตาลเดี่ยวโมเดล จังหวัดสระบุรี และศูนย์วิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา

นอกจากนี้ โครงการยังมีการอบรมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการจัดการของเหลือทิ้ง ส่งเสริมการคัดแยกของเหลือทิ้งที่ต้นทาง แนะนำให้ความรู้ในการจัดการของเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์เพิ่มมูลค่าที่มีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน และถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการของเหลือทิ้ง อีกทั้งยังมีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการหรือผู้ใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมถึงประเมินการลดการปลดปล่อยคาร์บอนและการลดปริมาณของเหลือทิ้งจากการดำเนินการจัดการของเหลือทิ้งในพื้นที่นำร่อง หากชุมชนในพื้นที่มีการจัดการของเหลือทิ้งอย่างเหมาะสม ซึ่งทำให้เกิดการนำของเสียเหลือทิ้งกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ให้มากที่สุด ดังนั้นปริมาณขยะของเสียที่จะถูกนำไปกำจัดด้วยการฝังกลบหรือเผาทิ้งกลางแจ้งจะลดลง ส่งผลให้เกิดการลดลงของปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

 

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม