รพ. สังกัด กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง หากพบผู้ต้องสงสัยให้แยกกักตัวทันที

พุธ ๒๑ สิงหาคม ๒๐๒๔ ๑๖:๕๗
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง (MPOX) ในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนพ. ได้ติดตามเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง โดยสั่งการให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เฝ้าระวังคนไข้ทั้งห้องฉุกเฉิน (ER) และผู้ป่วยนอก (OPD) รวมถึงโรงพยาบาลที่มีคลินิกเฉพาะทาง เช่น คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกรักษาผู้ติดเชื้อ HIV หากพบผู้ป่วยให้ส่งยืนยันการติดเชื้อ ผ่านสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) สอบสวนโรคทุกราย เฝ้าระวังควบคุมโรคในพื้นที่ให้เร็วที่สุด เพื่อลดการแพร่ระบาด อีกทั้งมอบหมายโรงพยาบาลสิรินธร เปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอุบัติใหม่ขึ้น เพื่อติดตามข้อมูลและควบคุมดูแลสถานการณ์โรคฝีดาษลิงอย่างใกล้ชิด หากพบผู้ป่วยที่อาการต้องสงสัยให้แยกกักตัวและแจ้งผู้บริหาร กทม. และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทราบทันที
รพ. สังกัด กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง หากพบผู้ต้องสงสัยให้แยกกักตัวทันที

นอกจากนั้น ได้รณรงค์เน้นย้ำส่งเสริมให้ความรู้และคำแนะนำประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันตัว ไม่คลุกคลีใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน ไม่รับประทานอาหาร ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น ไม่สำส่อนทางเพศ หมั่นสังเกตผู้ที่พบปะว่า มีอาการไม่สบายหรือไม่ การใส่หน้ากากอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ ได้มาก โดยพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงยังคงมาจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนหลายคนและคนแปลกหน้า ซึ่ง สนพ. ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวัง คัดกรอง แยกกักรักษาผู้ป่วยและสื่อสารถึงประชาชนกลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงข้อควรปฏิบัติเมื่อพบอาการเข้าข่ายโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว หรือย่านพักอาศัยของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในกรุงเทพฯ

ทั้งนี้ หากประชาชนมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้สงสัยฝีดาษลิง หรือการสัมผัสใกล้ชิด กอดจูบ ลูบ คลำ พูดคุยระยะ 1 เมตร โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย หรือเคยดูแลผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงให้สังเกตอาการตนเองเบื้องต้นภายใน 21 วัน หากมีผื่น มีตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือบริเวณรอบ ๆ มือ เท้า หน้าอก ใบหน้า ปาก มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู คอ ขาหนีบ ให้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที พร้อมเน้นย้ำผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ หรือมีโรคประจำตัว อาจเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิต หากพบผู้ป่วยเข้าข่ายต้องสงสัยจะแยกกักตัวทันทีและรายงานข้อมูลตามแนวทางที่กำหนดต่อไป ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษแม้จะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อดังกล่าวได้ แต่การฉีดวัคซีนดังกล่าวควรทำเฉพาะในบุคคลที่ต้องทำงานมีความเสี่ยง หรือใกล้ชิดกับคน หรือสัตว์ที่ติดเชื้อเท่านั้น และวัคซีนยังสามารถรับได้ภายหลังการได้รับเชื้อไม่เกิน 14 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบพบแพทย์ทันที หรือพบแพทย์ผ่าน Telemedicine ผ่านแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการได้อย่างรวดเร็ว แล้วแยกกักตัว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนสุขภาพ สำนักการแพทย์ กทม. โทร. 1646 ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา: กรุงเทพมหานคร

รพ. สังกัด กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง หากพบผู้ต้องสงสัยให้แยกกักตัวทันที

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO