ม.มหิดลเปิดหมวกดนตรีแนวใหม่ ชูพลัง'Synergy’ เพราะ'โลกของดนตรี’ไม่ได้มีแค่'นักดนตรี’

พฤหัส ๒๒ สิงหาคม ๒๐๒๔ ๑๖:๒๓
แม้ประเทศไทยจะมีวงดนตรีแนวใหม่ Thailand Philharmonic Pops Orchestra โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงคุ้นเคยกับภาพการแสดง “ดนตรีคลาสสิก” ของวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra - ThailandPhil) จุดกำเนิด “ดนตรีคลาสสิก” แห่งหนึ่งของไทย ที่เปล่งประกายไปยังเวทีโลกภายใต้การเรียนการสอนที่เชื่อมั่นได้ถึง “มาตรฐานยุโรป” จากสถาบันรับรองคุณภาพ “MusiQuE” และการได้ก้าวขึ้นสู่ “อันดับที่ 35 ของโลก” เมื่อเร็วๆ นี้
ม.มหิดลเปิดหมวกดนตรีแนวใหม่ ชูพลัง'Synergy เพราะ'โลกของดนตรีไม่ได้มีแค่'นักดนตรี

อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวไว้ โดยไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ดนตรีคลาสสิก” คือรากฐานสำคัญของ “ดนตรีสากล” และการแสดงแทบทุกแขนง ซึ่งทาง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นทักษะสำคัญที่จะต้องปูพื้นให้กับนักศึกษาทุกคน ก่อนผ่านการฝึกความชำนาญอย่างเข้มข้นสู่การเป็น “นักดนตรีคุณภาพ” ในสาขาที่แต่ละคนถนัด

เช่นเดียวกับการสร้างสรรค์ “ดนตรีป๊อบ” หรือดนตรีแนวใหม่ไร้กรอบจินตนาการ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อสร้าง “สังคมสุขภาวะ” จากการ “สร้างสรรค์ดนตรีเพื่อสร้างสุข”

“ดนตรีหรือเพลงป๊อบจะทำได้ยาก หากนักศึกษาขาดพื้นฐานการเล่นดนตรีที่ดี”

สิ่งสำคัญที่จะทำให้เยาวชนสร้างสรรค์ดนตรีหรือเพลงป๊อบได้ประสบความสำเร็จ อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ แนะนำว่าควรเริ่มต้นที่การหา “จุดที่แตกต่าง” ในการตีโจทย์ว่าจะสร้างสรรค์ดนตรีให้ออกมาในทิศทางใด

โดยไม่ลืมให้ความสำคัญต่อ “ลิขสิทธิ์” ซึ่งเป็นเรื่องที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พยายามนำมาสอดแทรกอยู่เสมอในการเรียนการสอน โดยฝึกให้นักศึกษารับผิดชอบเองในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ “โลกของดนตรี ไม่ได้มีเพียงนักดนตรี” ดังนั้น ทิศทางของปีแห่งการฉลองความสำเร็จ 30 ปีของการก่อตั้ง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ขยายขอบเขตแห่งการสร้าง “ความสุขแห่งเสียงดนตรี” ไปยังส่วนงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วย

ตามนโยบาย “Synergy” ของทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลชุดใหม่ ในการรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดงานแสดงดนตรี “Mahidol Music Fest. 2024” ระหว่างวันที่ 20 - 22 กันยายน 2567 เวลา 10.00 - 18.00 น. ณ เรือนศิลปิน (Artist Residency) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีวงดนตรี Thailand Philharmonic Pops Orchestra ร่วมมอบความสุข พร้อมศิลปินรับเชิญที่พลาดไม่ได้

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมจัดงานดนตรีครั้งยิ่งใหญ่ในช่วงปลายปี กับการแสดงคอนเสิร์ต “Harmony of Hearts Charity Concert” ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.00 - 18.00 น. ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ที่จะได้พบกับศิลปินขวัญใจชาวป๊อบ ร่วมด้วยวงดนตรี Thailand Philharmonic Pops Orchestra เช่นกัน

ติดตามรายละเอียดได้ทาง Facebook ของทั้ง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ภาพจาก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดลเปิดหมวกดนตรีแนวใหม่ ชูพลัง'Synergy เพราะ'โลกของดนตรีไม่ได้มีแค่'นักดนตรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๐๐ จุฬาฯ จัดงาน Chula Thailand Presidents Summit 2025 เปิดวิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรชั้นนำสู่อนาคตประเทศไทย
๑๔:๐๐ เรียนรู้จากตัวจริง! สถาปัตย์ SPU จัดบรรยายพิเศษ เทคนิคการสื่อสารและนำเสนองานลูกค้าแบบมืออาชีพ
๑๓:๑๕ เล่มทะเบียนรถแต่ละสีคืออะไร เล่มทะเบียนมีความสำคัญอย่างไรบ้าง
๑๓:๒๕ บลจ.อเบอร์ดีน มองตลาดหุ้นเกิดใหม่ยังเด่น ชู 3 ธีมลงทุน
๑๓:๓๔ STA ประกาศความสำเร็จในการขายหุ้นกู้มูลค่า 3,650 ล้านบาท สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๑๓:๑๗ โปรแกรมรักษารอยสิวด้วยเทคโนโลยี DAS
๑๓:๕๔ ประกันมะเร็ง จ่ายระยะลุกลาม VS จ่ายทุกระยะ ต่างกันอย่างไร
๑๓:๑๖ รวมวิธีเล่นเกม Rov เดินเกมยังไงให้อีกฝ่ายเสียเปรียบ
๑๓:๔๕ มูลนิธิรามาธิบดีฯ เปิดวิสัยทัศน์ปี 2568 ต่อยอดพันธกิจแห่ง การให้ สู่ การให้ที่ยั่งยืน
๑๓:๑๙ Dow ส่งน้ำยาพียูโฟม 4 เกรดตอบโจทย์งานหลังคา ชูคุณสมบัตินำตลาด เนื้อโฟมแข็ง กันร้อน ลดเสียง เสริมสารกันลามไฟ